disclosure form คืออะไร คลายข้อสงสัยในบทความนี้

disclosure form

เมื่อพูดถึงการเปิดบริษัทให้มีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ทราบกันดีว่ามีหลายขั้นตอนสำคัญและเรื่องที่ต้องทราบมากมายเกี่ยวกับการเปิดบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนหรือเรื่องของการชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท การเสียภาษี และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญคือ disclosure form หรือรายงานประจำปีที่จัดทำขึ้นโดยบริษัทหรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นและต้องจัดทำขึ้นตามมาตรา 71 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร เมื่อเป็นเรื่องสำคัญจึงจำเป็นต้องยื่นเอกสารที่ถูกต้องและทันเวลาเพื่อไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง เพื่อให้เจ้าของบริษัทหรือคนที่อยากทราบว่า “disclosure form” คืออะไร มีรายละเอียดอะไรบ้างที่ต้องทราบวันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสำคัญ ใครบ้างมีหน้าที่ยื่นเอกสารดังกล่าว 

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    disclosure form คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

    disclosure form คือรายงานประจำปีที่นิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไป ไม่ว่าจะมีความสัมพันธ์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เช่น มีความสัมพันธ์กันทางด้านการจัดการ ด้านทุน มีการทำธุรกรรมระหว่างกัน หรือเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันซึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมดในการเปิดบริษัท ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 71 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยในด้านอื่น  ๆ เพื่อพิจารณาให้ทราบว่าจะต้องยื่นรายงานประจำปีดังกล่าวหรือไม่ เช่น การเปิดบริษัทและมีรายได้ทั้งหมด มากกว่า 200 ล้านบาท  บริษัทใดบริษัทหนึ่งไม่สามารถที่จะทำบริษัทได้อย่างอิสระได้จะต้องอาศัยทุนหรือการจัดการร่วมกันเสมอ  

    จะรู้ได้ยังไงว่าบริษัทใดต้องยื่น disclosure form

    เพื่อให้คุณได้มีแนวทางในการพิจารณาว่าบริษัทของคุณจะต้องยื่น disclosure form หรือไม่ เรามีตัวอย่างเป็นแนวทางการพิจารณา เช่น นิติบุคคลใดก็ตามที่ถือหุ้นส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด นิติบุคคล A. ถือหุ้นบริษัท B. 100% ของทันทั้งหมดก็ถือว่ามีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ในการยื่น disclosure form จะต้องเป็นบริษัทนิติบุคคลที่เข้าข่ายตามมาตรา 71 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ดังที่ได้ยกตัวอย่างนั่นเอง อย่างไรก็ตามขอย้ำชัดว่า หากตามงบการเงินมีน้อยกว่า 200 ล้าน ไม่ต้องยื่น disclosure form

    ไม่ยื่น 71 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ได้ไหม หากยื่นช้าจะเกิดอะไรขึ้น

    การยื่น disclosure form ตามมาตรา 71 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นสิ่งที่นิติบุคคลจะต้องทำตามกฎหมายเพราะหากไม่ยื่นตามกฎหมายเมื่อถูกเรียกตรวจสอบโดยกรมสรรพากรไม่เพียงจะเป็นสร้างประวัติไม่ดีให้กับบริษัทของตัวเองยังต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาทอีกด้วย เพื่อให้คุณทราบถึงระวางโทษปรับข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ เพราะโทษปรับจะคิดคำนวณตามวันที่พ้นกำหนด ได้แก่ 

    • ไม่เกิน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา จะต้องโดนโทษปรับ 50,000 บาท
    • เกิน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา จะต้องโดนโทษปรับ 100,000 บาท
    • นอกจากนี้หากตรวจพบโดยสรรพากรคุณจะต้องโดนโทษปรับ 200,000 บาท

    ยื่น disclosure form ช่องทางไหนได้บ้าง

    ในยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยีทำให้เจ้าของบริษัทสามารถที่จะยื่นเอกสารต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ได้ เช่นเดียวกับการยื่น disclosure form วันนี้มีช่องทางให้คุณยื่นในรูปแบบออนไลน์และแบบกระดาษ ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความต้องการของผู้ยื่น เราขอนำเสนอทางเลือกในการยื่นรายงานประจำปี มาดูกันว่ามีช่องทางไหนบ้าง 

    1.ยื่นผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ซึ่งการยื่นผ่านออนไลน์นี้สบายใจได้เพราะกรมสรรพากรได้เพิ่มเวลาอีก 8 วัน ทำให้คุณมีเวลาภายใน 158 วันก่อนที่จะสิ้นสุดระยะเวลาบัญชี ไม่กี่ขั้นตอนก็เสร็จสิ้น บนหน้าเว็บไซต์มีคำแนะนำครบถ้วนให้คุณสามารถทำตามกันได้เลย

    2.สามารถยื่นเอกสาร disclosure form แบบกระดาษโดยตรงต่อกรมสรรพากร ซึ่งจะต้องยื่นสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายใน 150 วัน 

    เมื่อมี 2 ช่องทางให้เลือกในการยื่น disclosure form คุณจึงมีทางเลือกในการยื่นรายงานประจำปีได้ตามความต้องการและความสะดวก อีกทั้ง 2 ช่องทางนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย

    disclosure form แสดงข้อมูลในด้านใดบ้าง

    สำหรับคนที่ยังไม่เคยยื่นเอกสารดังกล่าวมาก่อน อาจมีข้อสงสัยว่าใน disclosure form แสดงข้อมูลในด้านใดบ้าง เพื่อให้คุณได้เตรียมตัวในการเก็บข้อมูลเพื่อแสดงในรายงานประจำปี

    • ในรายงานประจำปีจะต้องมีรายชื่อของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งที่ประกอบกิจการในประเทศไทยและที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย 
    • มีรายชื่อของผู้จัดทำงบการเงิน ไม่ว่าจะมีการจ่ายโอนทรัพย์สินไปยังบริษัทหรือนิติบุคคลใดก็ตามจะต้องมีข้อมูลครบถ้วนแสดงในรายงานประจำปี
    • จะต้องมีข้อมูลธุรกรรมระหว่างกัน เป็นข้อมูลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

    ด้วยความสำคัญของ disclosure form แสดงให้เห็นว่านี่คือข้อมูลสำคัญที่คนธุรกิจที่เข้าข่ายจะต้องยื่นเอกสารให้ถูกต้อง เพื่อแสดงความโปร่งใส ทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องรอใหมีการตรวจสอบจากกรมสรรพากรเพราะสุดท้ายแล้วแน่นอนว่าหากพยายามหลบเลี่ยงและถูกตรวจสอบย่อมทำให้เป็นประวัติไม่ดีที่สำคัญยังโดนเรียกเก็บค่าปรับที่สูงลิบจนเรียกได้ว่าไม่คุ้มเสียอีกด้วย ดังนั้นเมื่อทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับ disclosure form แล้วว่าคืออะไรต้องตรวจสอบอย่างไรบ้าง เตรียมข้อมูลแบบไหนและยื่นเอกสารที่ไหนเมื่อไหร่ ลองกลับไปทบทวนว่าบริษัทของคุณเข้าข่ายต้องยื่นเอกสารรายงานประจำปีหรือไม่ หากต้องยื่นแนะนำให้ลิสต์วันที่ต้องยื่นเพื่อเตือนความจำว่าจะต้องจัดการให้ถูกต้องทุกขั้นตอน เพื่อไม่ให้พลาดในการยื่นเอกสารดังกล่าวให้ตรงตามเวลาที่กำหนด

    คำถามยอดฮิตทำธุรกิจแบบนี้ต้องยื่น disclosure form

    วันนี้เราชวนมาทำความเข้าใจจากคำถามยอดฮิตเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่น disclosure form ว่าทำธุรกิจแบบนี้ ถือหุ้นส่วนเท่านี้จะต้องยื่นรายงานประจำหรือไม่ เพราะหลายคนที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจและยังไม่มีประสบการณ์ก็เริ่มสงสัยในบางกรณี เช่น บริษัทมีหุ้นส่วนเกิน 50% ของทุนทั้งหมด แต่ว่ารายได้ไม่ถึง 200 ล้านบาทจะต้องยื่น disclosure form หรือไม่ คำตอบคือจะต้องพิจารณารายได้ของบริษัทว่าเข้าได้รับการยกเว้นหรือไม่ หรือกรณีที่สองบริษัทถือหุ้นในเปอร์เซ็นต์ที่ต่างกัน A ถือหุ้น 45% ถือหุ้น 60% ซึ่งบริษัท A มีรายได้เกิน 200 ล้านบาทส่วนบริษัท B มีรายได้ไม่เกิน 200 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชี 2562 ทั้งสองบริษัทมีความสัมพันธ์กันจริงแต่ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่น disclosure form ในรอบระยะเวลาบัญชี 2562

    บทสรุป

    การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่เพียงให้ความสำคัญในเรื่องของผลประกอบการ การสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีเท่านั้น สิ่งสำคัญต้องทำความเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อดำเนินการธุรกิจให้ถูกต้อง ไม่สร้างปัญหาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการยื่นภาษีหรือเรื่องการยื่น disclosure form เพราะนี่คือเอกสารสำคัญที่จะต้องยื่นอยู่แล้วแสดงให้เห็นว่าการทำธุรกิจของคุณมีความโปร่งใสในทุกด้าน ดังนั้นอย่ารอช้าที่จะทำความเข้าใจและกลับไปทบทวนว่าธุรกิจของคุณได้พลาดในขั้นตอนใดไปบ้าง และอุดรอยรั่วนั้นทันที เพียงเท่านี้ธุรกิจของคุณก็จะประสบความสำเร็จด้วยความโปร่งใส และสร้างความภาคภูมิใจได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายเล็กหรือรายใหญ่ก็ต้องให้ความสำคัญทั้งสิ้น โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องร่วมทุนหรืออาศัยการร่วมหุ้นกับบริษัทอื่น ๆ ที่เข้าข่ายว่าจะต้องยื่น disclosure form เพราะแม้ในตอนนี้แม้ว่ารายได้จะไม่ถึง 200 ล้านบาท ไม่ได้หมายว่าในอนาคตธุรกิจของคุณยังไม่เติบโตและไม่สามารถทำรายได้ในระดับดังกล่าว ดังนั้นการรู้เรื่องสำคัญนี้ไว้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ยิ่งรู้ยิ่งได้เปรียบทำให้คุณได้เตรียมเอกสาร ข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือเรียกง่าย ๆ คือเป็นความรู้สำคัญที่คนทำธุรกิจไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ