นิติบุคคล ขอคืนภาษี จากสรรพากรจะทำยังไงได้บ้างนะ

ขอคืนภาษี

หลายคนคงสงสัยเมื่อนิติบุคคลทำการหักภาษีอากรผิด ทำเกินหรือทำซ้ำกับข้อมูลจริงจะทำอย่างไรหรือจะสามารถแก้ไขอะไรได้บ้าง เพื่อให้ได้เงินคืนและเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ให้กับสถานประกอบการอย่างคุ้มค่าและเหมาะสมที่สุด  ต้องยอมรับว่ามีคนไทยบางส่วนไม่ทราบมาก่อนเลยในเรื่องของการ ขอคืนภาษี จากสรรพากร ว่าสามารถทำได้ด้วย? หรือหากทำได้จริง จะมีเงื่อนไขหรือขั้นตอนในการทำยุ่งยากตามแบบที่เขาว่ากันในเรื่องการติดต่องานราชการแบบทั่วไปหรือเปล่านะ บอกเลยว่าข้อมูลในวันนี้เป็นข้อมูลพิเศษสุด ๆ สำนักงานผู้รับทำบัญชี ที่จะให้ความรู้สำหรับผู้ประกอบการที่สงสัยและมีความประสงค์จะยื่นเรื่อง ขอคืนภาษี อากรอยู่แล้วรับรองว่าสถานประกอบการของท่านจะไม่เสียผลประโยชน์ในเรื่องของการหักภาษีเกินความจริงอย่างแน่นอน

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    ก่อนจะขอคืนภาษี มารู้จักนิติบุคคลคืออะไร

    ก่อนเข้าสู่เรื่องการ ขอคืนภาษี ผู้เขียนขออธิบายคำว่า นิติบุคคลให้เป็นที่เข้าใจอย่างคร่าว ๆ ก่อนว่า นิติบุคคล หรือที่รู้จักกันในนามของสถานประกอบการ องค์กร หรือ กลุ่มบุคคลที่มีสิทธิ์และหน้าที่ที่พึงกระทำการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย นิติบุคคลจึงแตกต่างจากบุคคลธรรมดาที่เป็นนาย นางสาวอย่างเรา ๆ ไปอย่างสิ้นเชิง แม้กระทั่งเรื่องการ ขอคืนภาษี ในส่วนการดำเนินการของนิติบุคคลก็จะมีการยื่นเอกสารเป็นอีกแบบฟอร์มและในขั้นตอนการตรวจสอบของกรมสรรพากรเองก็จะเข้มงวด ใช้เวลาในการประเมินข้อมูลย้อนหลังของสถานประกอบการที่ยิ่งมีข้อมูลมาก ยิ่งต้องใช้เวลายาวนานมากขึ้นตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ดังนั้นในส่วนของผู้ประกอบการเมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าถูกหักภาษีเกินจากที่ต้องชำระจริงแล้วนั้น ขอให้ท่านยื่นเรื่อง ขอคืนภาษี จากนั้นคือส่วนของการเตรียมข้อมูลหลักฐานให้พร้อมและแน่นหนาที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นใบหัก ณ ที่จ่าย , ใบสั่งซื้อ , ใบเสร็จ ฯลฯ เอกสารเหล่านี้จะช่วยให้ขั้นตอนการตรวจสอบเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ต้องพะว้าพะวังตามหาในภายหลัง อีกทั้งไม่ต้องวิตกกังวลว่าเอกสารหลักฐานที่ต้องเสนอต่อสรรพากรอยู่ตรงไหน เพราะหากไม่มีหรือหลักฐานขาดหายไป เท่ากับว่าสถานประกอบการนั้น ๆ มีความเสี่ยงที่ต้องโดนปรับ ซึ่งคงเป็นฝันร้ายของการ ขอคืนภาษี แน่ ๆ ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้แน่นอน

    ภาษีอากรแบบใดบ้างที่นิติบุคคลสามารถขอคืนภาษีได้

    เบื้องต้นในการ ขอคืนภาษี สถานประกอบการหรือผู้ดำเนินการในเรื่องนั้นจะต้องทำการศึกษา เพื่อทราบประเภทของภาษีอากรแต่ละประเภทว่าเป็นแบบใดบ้าง เข้าข่ายกับมาตราใด เพื่อที่จะทำการแยกจัดหมวดหมู่และสามารถจัดเตรียมเอกสารที่ต้องดำเนินการขอคืนภาษีได้อย่างถูกต้องพร้อมกับการติดต่อกับกรมสรรพากรเป็นลำดับต่อไป

    ปัจจุบันประเภทของภาษีอากรที่สามารถขอคืนภาษีได้มีทั้งหมด 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ 

    1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย
    2. การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    3. การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ

    โดยจะขออธิบายให้ท่านผู้อ่านเข้าใจง่ายๆ ตามแต่ละหมวดดังต่อไปนี้

    1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย

    ส่วนนี้เกิดจากการที่ผู้ประกอบการมีการทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายเกินจากที่ต้องชำระจึงทำให้ผู้ประกอบการมีการเสียผลประโยชน์ ดังนั้นทางนิติบุคคลจึงสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีในภายหลังได้โดยในส่วนของภาษีหัก ณ ที่จ่ายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ

    • มาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร

    เป็นหัก ณ ที่จ่ายประเภทค่าบริการ ค่าจ้างทำของ ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา โดยทั้งหมดนี้จะมีเปอร์เซ็นต์ในการหักแตกต่างกันตามประเภทของค่าจ้าง ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

    • มาตรา 27 ตรีแห่งประมวลรัษฎากร

    มาตรานี้จะเป็นการหัก ณ ที่จ่ายที่ไม่ตรงกับมาตรา 63 กล่าวคือถ้านอกเหนือจากมาตรา 63 แล้วสามารถนำหัก ณ ที่จ่ายนั้นใช้เป็นมาตรานี้แทน

    2.การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

    การขอคืนเงินในหมวดของภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถแบ่งได้ เป็นทั้งหมด 3 มาตรา

    • มาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร

     มาตรานี้เป็นการนำภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนไปใช้สิทธิ์ในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้

    • มาตรา 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร

    เป็นการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการของผู้ประกอบการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ฯลฯ

    • มาตรา 84/2 แห่งประมวลรัษฎากร

    ส่วนนี้จะเป็นการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หากผู้นำเข้า เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเอง สามารถยื่นคำร้องได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ของท้องถิ่นนั้น ๆ แต่ถ้าไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเอง ให้ยื่นคำร้องขอคืนภาษี ณ  ด่านศุลกากรขาเข้า ทั้งนี้ หากผู้นำเข้ามีข้อโต้แย้ง หรือติดคดีในชั้นศาล การขอคืนภาษีสามารถทำได้ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับข้อโต้แย้งอากรขาเข้าเป็นลายลักษณ์อักษร

    3.การขอคืนภาษี ธุรกิจเฉพาะ 

    ตามมาตรา 91/11 แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนนี้เป็นส่วนของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ชำระภาษีแต่ได้ชำระไว้เกิน , ผิด , ทำซ้ำหรือเป็นผู้ประกอบการที่ตามจริงไม่เข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษีอากรแต่ได้ทำเรื่องในการเสียภาษีไว้ ส่วนนี้สามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้

    โดยวิธีการขอคืนภาษีของทุกข้อที่ได้อธิบายไปนั้นสามารถทำได้ง่ายๆโดย การกรอกแบบฟอร์มยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากร (ค.10) โดยสามารถยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ ทั้งนี้อาจมีเอกสารเพิ่มเติม เช่นภ.ง.ด. , หนังสือจดทะเบียนบริษัทและหลักฐานอื่น ๆ ที่จะต้องใช้ในการประเมิน เมื่อยื่นคำร้องเสร็จแล้ว ทางสถานประกอบการเพียงแค่รอหนังสือตอบรับและที่เหลือจะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบ  ซึ่งในตอนยื่นคำร้องถือว่า  ทางสถานประกอบการยินยอมให้มีการตรวจสอบทางการเงินอย่างละเอียดแล้ว หากมีความประสงค์ยกเลิกการขอคืนภาษีในภายหลังก็สามารถทำได้ โดยการเข้าไปแจ้งกับเจ้าพนักงานที่กรมสรรพากรว่าไม่ต้องการขอคืนภาษีแล้วเท่านั้นเอง

    ยื่นขอเงินคืนออนไลน์ง่าย ๆ สไตล์ New Normal

    นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับ นักทำธุรกรรมทางภาษีแบบออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันสรรพากรได้มีการพัฒนาระบบเว็บไซต์ให้มีการยื่น ขอคืนภาษี ออนไลน์เป็นแบบคำร้อง (ค.10) ออนไลน์ โดยสามารถใช้แบบคำร้องนี้ได้กับภาษีทุกประเภทเลย ไม่ว่าจะเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย , ภาษีบุคคลธรรมดา , ภาษีเงินได้นิติบุคคล , ภาษีมูลค่าเพิ่ม , ภาษีอากรแสตมป์ , ภาษีปิโตรเลียม , ภาษีมรดก ฯลฯ โดยสามารถเข้าใช้บริการนี้ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร เลือกบริการขอคืนภาษีอากรทุกประเภทภาษี (ค.10) เลือกเพิ่มคำขอ จากนั้นจะมีแบบฟอร์ม ค.10 ให้เพิ่มข้อมูลการขอคืนภาษีว่าเป็นประเภทใดและใส่มูลเหตุการขอคืนภาษีตามจริง โดยใส่รายละเอียดและแนบหลักฐานให้สมบูรณ์ ทั้งนี้หากต้องการแก้ไขข้อมูลสามารถทำได้ทันทีในขั้นตอนนี้และตรวจสอบให้ละเอียดก่อนที่จะกดยืนยัน เพียงเท่านี้ถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการในการยื่นคำร้องขอคืนภาษีออนไลน์เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะเป็นกระบวนการตรวจสอบ และวิเคราะห์คืนภาษีต่อไปซึ่งเป็นส่วนของสรรพากร เห็นไหม ง่ายเพียงปลายนิ้วคลิก ไม่ต้องเดินทางให้เสียเวลา

    ขอคืนภาษีแล้วรับเงินอย่างไร?

    ปัจจุบันกรมสรรพากรมีการพัฒนาการให้บริการคืนภาษีเงินได้ผ่านระบบทางการเงินที่เป็นออนไลน์มากขึ้น โดยล่าสุดได้มีการพัฒนานำการโอนเงินแบบพร้อมเพย์มาใช้ โดยนิติบุคคลที่ประสงค์จะใช้การคืนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์จะต้องมีการคืนเงินภาษีไม่ถึง 100 ล้านบาท และไม่ได้เปลี่ยนแปลงสถานะของนิติบุคคล นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกในการคืนเงินในช่องทางอื่น ๆ อีกเช่นการโอนเงินแบบธรรมดา การคืนภาษีเป็นเช็ค ส่วนนี้ผู้ประกอบการสามารถเลือกดำเนินการได้ตามความสะดวกขององค์กรตนเองได้เลย

    บทสรุป

    ท้ายที่สุดทางแก้ปัญหาของผู้ประกอบการ เมื่อพบว่าองค์กรมีการชำระภาษีเกิน , ทำผิด หรือทำซ้ำจากการยื่นภาษีครั้งที่ผ่านอันเกิดมาจากการทำหัก ณ ที่จ่าย , ภาษีมูลค่าเพิ่ม , และภาษีธุรกิจเฉพาะ ทางผู้ประกอบการก็สามารถรักษาผลประโยชน์เอาไว้ได้อย่างเต็มที่โดยการทำเรื่องขอคืนภาษีโดยมีระยะเวลาในการยื่นคำร้องย้อนหลังได้ถึง 3 ปี นับเป็นการคืนประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการและเป็นยกระดับการให้บริการของกรมสรรพากรต่อองค์กรอื่นๆได้อย่างน่าชื่นชมและทันสมัย📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ