สำหรับนักธุรกิจที่กำลังมองหาแนวทางในการขยายธุรกิจ เรื่องหนึ่งที่ท่านจะต้องศึกษาคือรูปแบบของกิจการที่ท่านจะดำเนินการว่าควรมีโครงสร้างรวมถึงแนวทางการบริหารองค์กรไปในทิศทางใด ซึ่งการจดทะเบียนพาณิชย์ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปของคนไทยคือ “หจก.กับบริษัท”
โดย หจก.กับบริษัท เป็นรูปแบบของการดำเนินการทางธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างมาก ทั้งในเรื่องของจำนวนผู้ร่วมลงทุน ประเภทการลงทุน ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการเมื่อเกิดภาวะขัดข้องทางเศรษฐกิจ ค่าธรรมเนียมในการจัดตั้ง รวมถึงการปิดงบการเงินประจำปี ซึ่งผู้บริหารหรือเจ้าของจะต้องสามารถแก้ปัญหาและศึกษาเรื่องต่าง ๆ ให้เข้าใจเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปด้วยความมั่งคั่ง ทั้งนี้ข้อมูลโดยละเอียด จะขออธิบายในลำดับถัดไป
มารู้จัก หจก.กับบริษัท อย่างคร่าวๆ กัน
ก่อนอื่นผู้เขียนขอทำความเข้าใจคร่าว ๆ ระหว่าง หจก.กับบริษัท ให้เข้าใจตรงกันก่อนว่าในส่วนของกิจการห้างหุ้นส่วน เป็นรูปแบบของการทำธุรกิจที่มีผู้ลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันจัดตั้งกิจการโดยเป็นเจ้าของห้างหุ้นส่วนนั้นร่วมกัน โดยมีการแบ่งผลกำไรให้กับผู้ร่วมลงทุน ซึ่งเจ้าของกิจการห้างหุ้นส่วนจะถูกเรียกว่า ผู้เป็นหุ้นส่วน โดยในการบริหารงานของกิจการ จะกำหนดให้หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งเป็นผู้บริหารงานซึ่งจะเรียกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ
ปัจจุบันกิจการที่เป็นห้างหุ้นส่วนมีอยู่ 2 ประเภทคือ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ ทุกคนที่ถือหุ้นมีหน้าที่รับผิดชอบหนี้สินทั้งปวงโดยไม่จำกัดจำนวนเงินร่วมกัน ห้างหุ้นส่วนสามัญจะดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นห้างหุ้นส่วนประเภทที่มีหุ้นสวนบางคนรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ลงทุนถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นหรือรับผิดชอบ เฉพาะหุ้นที่ตนถือเท่านั้น ซึ่งต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หากมีกำไร กำไรที่ได้มานั้นจะต้องแบ่งให้กับหุ้นส่วนทุกคน ขณะเดียวกันหากเกิดภาวะขาดทุนผู้ถือหุ้นก็จะต้องรับผิดชอบผลขาดทุนรวมถึงหนี้สินของกิจการร่วมกันทุกคน
บริษัทจำกัด การดำเนินธุรกิจนี้เป็นรูปแบบที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งเงินทุนเป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่า ๆ กันซึ่งผู้ถือหุ้นก็คือเจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินของหุ้นที่ตนเองถือ การดำเนินการธุรกิจแบบบริษัทจะถูกบริหารงานโดยคณะกรรมการบริษัทซึ่งจะมาจากรายชื่อของผู้ถือหุ้นหรือไม่ก็ได้ บริษัทจำกัดมีการแยกระหว่างเจ้าของกิจการกับผู้บริหารงานอย่างชัดเจน นั่นหมายถึงผู้ถือหุ้นไม่ต้องมาบริหารงานเองโดยตรง เมื่อทำการจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้วจะถือว่าบริษัทนั้นเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบที่เรียกว่า เงินปันผล
หจก.กับบริษัท ต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างระหว่าง หจก.กับบริษัท นั้นค่อนข้างแยกกันอย่างชัดเจนและมีทำคนละหน้าที่ ฉะนั้นหากคุณคือผู้ประกอบการหรือผู้บริหารต้องศึกษาไว้เลย โดยจะอธิบายให้เข้าใจ เป็น 5 ข้อหลักๆ ดังนี้
- ด้านแรกที่เราจะพูดถึงคือเรื่องของจำนวนผู้ร่วมลงทุนของ หจก.กับบริษัท โดยบริษัทจำกัดผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ถือหุ้นนั้น จะต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป จึงจะสามารถดำเนินการจัดตั้งบริษัทได้ส่วนหจก .ต้องมีผู้ถือหุ้น 2 คนขึ้นไปนั้นเอง
- ประเภทการลงทุนของ หจก.กับบริษัท การลงทุนสำหรับประเภทของบริษัทจำกัดนั้นจะเป็นลักษณะของทุนเรือนหุ้น โดยที่ผู้ลงทุนจะต้องแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยมีระเบียบกำหนดไว้ว่า หุ้นแต่ละหุ้น จะต้องมีมูลค่าหุ้นละ 5 บาทขึ้นไป ซึ่งการลงทุนในรูปแบบของบริษัทจะต้องใช้เป็นเงินเท่านั้น ด้านการลงทุนของหจก. นั้นไม่มีขั้นต่ำของทุนการจดทะเบียน ประเภทการลงทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบหรือสามารถเรียกอีกอย่างว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ
- หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบหรือเรียกอีกอย่างคือหุ้นส่วนทั่วไปโดยหุ้นส่วนประเภทนี้จะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจหรือบริหาร
- ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนในหนี้สินของกิจการหจก.กับบริษัทสำหรับบริษัทจำกัดความรับผิดชอบจะเป็นไปตามจำนวนทุนที่ค้างชำระหรือตามจำนวนทุนที่จดทะเบียนบริษัท ในขณะที่ความรับผิดชอบของหจก.มีประเภทความรับผิดชอบ 2 แบบคือหุ้นส่วนทั่วไปซึ่งจะรับผิดชอบเท่าจำนวนหุ้นที่ลงทุนกลับหุ้นส่วนผู้จัดการส่วนนี้จะต้องรับผิดชอบทั้งหมดของหนี้สินที่เกิดขึ้นหรือรับผิดชอบอย่างเต็มอัตราของภาระหนี้สิน
- ค่าธรรมเนียมในการจัดตั้ง
โดยค่าธรรมเนียมในรูปแบบของนิติบุคคล ยังไม่รวมค่าอากรแสตมป์และค่ารับรองเอกสารอื่น ๆ ดังนั้นหากผู้ก่อตั้งมีความประสงค์จะจัดตั้งควรเผื่อจำนวนเงินในการดำเนินการไว้ด้วยก็จะดีมาก
- การปิดงบการเงินประจำปีของหจก.กับบริษัทเป็นที่ทราบกันดีว่าในทุก ๆ ปีจะต้องมีการปิดงบการเงินประจำปี ไม่ว่าจะเป็นหจก.หรือบริษัทโดยหจก.กับบริษัทจะมีการปิดงบการเงินประจำปีที่ต่างกันโดยรูปแบบของบริษัทจำกัดผู้ที่จะเซ็นปิดงบได้จะต้องเป็นผู้สอบบัญชีเซ็นรับรองงบการเงินเท่านั้น ขณะที่การปิดงบฯ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้ที่มีอำนาจเซ็นรับรองงบการเงินสามารถให้ผู้สอบบัญชีหรือให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้เซ็นรับรองก็ได้
จากข้อมูลที่เรานำมาวันนี้คุณคงพอจะมองออกแล้วใช่ไหมว่าหากต้องเริ่มต้นทำธุรกิจจะต้องเลือกก่อตั้งในรูปแบบใดที่จะได้รับผลประโยชน์รวมไปถึงการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างผู้ถือหุ้นนั้นเอง อย่างไรก็ตามเมื่อได้เริ่มต้นแล้วควรที่จะใส่ใจในทุกรายละเอียดให้ดี
ความเหมือนร่วม
นอกจากความแตกต่างของห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น ยังมีความเหมือนร่วมทั้งสองคำที่ผู้เขียนขออนุญาตรวบรวมมาให้ดังนี้
- กิจการในรูปแบบหจก.กับบริษัทจำกัดค่อนข้างมีความสามารถหาแหล่งเงินทุนได้ง่ายเช่นกันเนื่องจากเนื่องจากมีผู้ถือหุ้นร่วมกันเป็นจำนวนมาก
- กฎหมายกำหนดให้ อัตราการจ่ายภาษีของทั้งสองไม่แตกต่างกันโดยที่จะมีอัตราการคิดเรทภาษีที่เหมือนกันทุกอย่าง คือการจ่ายภาษีในรูปแบบของอัตราภาษีก้าวหน้า (อัตราภาษีที่จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้น )
- ความเหมือนร่วมอีกอย่างหนึ่งคือการใช้ระยะเวลาในการจดทะเบียนของหจก.กับบริษัทมีระยะเวลาเท่ากัน
ทั้ง 2 รูปแบบของการ ทำธุรกิจในทุก ๆ ปี จะต้องมีการปิดงบการเงินประจำปีเหมือนกัน
จดทะเบียนแบบใดจึงจะเหมาะสมนะ
มาถึงการตัดสินใจสุดท้ายของนักลงทุนแล้วว่าสนใจการจดทะเบียนแบบใด โดยส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ลงทุนว่าสนใจในธุรกิจประเภทใด ซึ่งโดยส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ที่รับปรึกษาในเรื่องการจัดตั้งบริษัทจะแนะนำให้จัดตั้งเป็นบริษัทมากกว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ด้วยเรื่องความน่าเชื่อถือขององค์กร เพราะคนไทยติดภาพลักษณ์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดว่าเป็นการบริหารงานในรูปแบบของครอบครัว การดำเนินงานในรูปแบบของบริษัทจำกัดจึงมีความน่าเชื่อถือและดูมั่นคงมากกว่า ดังนั้นหากธุรกิจของคุณมีความจำเป็นต้องติดต่อกับผู้คนเป็นจำนวนมากหรืองานนั้นต้องอาศัยภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ ความเป็นมืออาชีพ การจดทะเบียนแบบบริษัทจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า หจก.
นอกจากนี้ ในเรื่องของความรับผิดชอบเมื่อเกิดภาวะขาดทุน การดำเนินงานแบบบริษัทจะรับผิดชอบแค่หุ้นที่ลงทุนไปเท่านั้นหากเกิดการฟ้องร้องภายหลัง ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่เกี่ยวกับการฟ้องร้องนั้น แต่หากเลือกรูปแบบของห้างหุ้นส่วนจำกัดหากคุณถือหุ้นส่วนผู้จัดการ คุณจะต้องรับผิดชอบนอกเหนือจากหุ้นด้วย นั่นหมายถึงทรัพย์สินส่วนตัวก็อาจจะหายไปกับการลงทุนนี้ได้เช่นกัน
บทสรุป
ทั้งหมดนี้เป็นการอธิบายถึงความเป็น หจก.กับบริษัท โดยมีความต่างทั้งหมด 5 ข้อหลัก ๆ คือจำนวนผู้ร่วมลงทุน ประเภทการลงทุน ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการ ค่าธรรมเนียมในการจัดตั้งและการปิดงบการเงินประจำปี นอกจากความแตกต่างแล้วยังมีความเหมือนบางประการแต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามความนิยม ในปัจจุบันการจดทะเบียนในรูปแบบของบริษัทยังเป็นที่นิยมมากกว่าการจดทะเบียนในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนจำกัดอยู่มาก โดยท้ายที่สุดนักลงทุนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการเลือก📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนหจก.ดีที่สุด™