มาอ่านกันวิธีการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

นำเข้าและส่งออก

สองคำนี้เชื่อว่านักธุรกิจและผู้ทำบัญชีเช่นคุณคงคุ้นเคยเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็น การนำเข้า (Import) การส่งออก (Export) ความหมายนั้นก็ตามการเรียกนั้นเลย การ“นำเข้าและส่งออก”สินค้าจากต่างประเทศเข้าและออกไปนอกประเทศเพื่อทำการค้าระหว่างกัน เหตุผลแรกที่ทำให้มีขั้นตอนเหล่านี้คือสินค้านั้นๆ ไม่มีในประเทศหรือสามารถผลิตในประเทศนั้นได้ ถึงแม้ว่าจะผลิตได้แต่คุณภาพบางอย่างไม่ดีเท่าของ นำเข้าและส่งออกเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้าและผู้บริโภค เราจึงมีหน้าที่เลือกหาสิ่งที่ดีที่สุดแม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตาม 

ฉะนั้นเมื่อมีการนำเข้าและส่งออกขั้นตอนและวิธีการจะมีความละเอียดซับซ้อนหลายขั้นตอน เช่น เมื่อมีการนำเข้า (Import) สินค้าจากต่างประเทศคุณในฐานะผู้ที่นำเข้าต้องปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัดตามกำหนดและกฎระเบียบของกรมศุลกากรหรือหน่วยงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภท วัตถุดิบ เครื่องมือเครื่องจักร สินค้าอุปโภคบริโภคล้วนต้องผ่านขั้นตอนนี้ ในส่วนของการส่งออก (Export) คือ การขายสินค้าหรือการส่งสินค้าจากต้นทางไปหาปลายทางเพื่อไปสู่ตลาดประเทศอื่น ไม่ว่าจะด้วยทางน้ำหรือทางอากาศ จะต้องผ่านกรมศุลกากรเพื่อให้สินค้าที่คุณต้องการส่งออกสามารถไปต่อได้แบบไร้ปัญหา ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็น นำเข้าและส่งออก จะต้องมีการส่งมอบสินค้าหรือที่เราเรียกว่า Incoterm  สิ่งนี้จะบอกว่าใครรับผิดชอบตรงไหนและอย่างไรบ้าง เช่น CFR , CIF , EXW , FCA ,CPT ,CIP ฯลฯ โดยหลัก ๆ ที่มีการแบ่งออก 4 term คือ CFR , CIF, EXW , FOB

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    เอกสารนำเข้าและส่งออกต้องมีห้ามขาด

    ไม่ว่าคุณจะดำเนินการด้วยขั้นตอนวิธีการนำเข้าและส่งออก สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือเอกสารประกอบเพราะมันจะมีรายละเอียดแจ้งไว้ เช่น การบอกราคาด้วยใบเรียกเก็บเงิน รายการราคา ลักษณะการบรรจุสินค้า เราเพียงยกตัวอย่างสั้น ๆ เท่านั้น ไปดูเอกสารที่มีรายละเอียดมากขึ้น ดังนี้

    ใบสั่งซื้อสินค้า หรือเรียกกันว่า PO, Purchase Order เอกสารนี้เป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าส่งไปยังผู้ส่งออกเพื่อเปิดออเดอร์ ซึ่งอาจพบเห็นเป็นส่วนน้อย ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไปสามารถส่งผ่านอีเมล์หรือคุยกันระหว่างผู้ค้าจากนั้นผู้ขายจะส่งเอกสาร PI ส่วนมากจะเป็นประเทศจีนเท่านั้นที่ยังคงใช้เอกสารนี้อยู่

    ใบเรียกเก็บเงิน หรือ PI, Proforma Invoice ในนั้นจะมีรายละเอียด ราคา จำนวนสินค้า เงื่อนไขการซื้อขาย และรายละเอียดยิบย่อยอาทิ วันที่มีการส่งมอบสินค้า เป็นต้น เมื่อผู้นำเข้าตรวจสอบเอกสารนี้ครบตามราคาที่ตกลงกันจะจ่ายเงินทันที

    รายการราคา หรือ CI, Commercial Invoice คือเอกสารที่ผู้ส่งออกต้องทำขึ้นมาให้ผู้นำเข้าใช้ยื่นให้แก่กรมศุลกากรเพื่อนำเข้าสินค้า

    -PL, Packing list รายการบรรจุสินค้า เอกสารสำหรับแจ้งว่าสินค้าใด ถูกบรรจุมาแบบไหน อยู่กล่องไหน ทำโดยผู้ส่งออก

    -D/O, Delivery order ใบปล่อยสินค้า ผู้นำเข้าจำเป็นจะต้องใช้เอกสารนี้สำหรับนำไปปล่อยตู้สินค้าที่ท่าเรือ/ท่าอากาศยาน โดยผู้ที่จะออกให้คือผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ

    -B/L, Bill of Lading ใบตราส่งสินค้าทางเรือ ผู้ส่งออกต้องให้ข้อมูลกับทางผู้ให้บริการขนส่งเพื่อออกเอกสารตัวนี้ ส่วนผู้นำเข้าต้องใช้ และผู้นำเข้าควรจะขอตรวจแบบร่างก่อนที่จะออกตัวจริงทุกครั้ง

    -AWB, Airway bill ใบตราส่งทางอากาศ เหมือนใบตราส่งทางเรือ แต่ข้อมูลก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย

    -C/O, Certificate of origin หนังสือยืนยันถิ่นกำเนิด ออกโดยรัฐบาล ติดต่อได้ที่ กรมการค้าระหว่างประเทศมีประโยชน์ในการรับสิทธิภาษี

    -Insurance ประกันภัยขนส่งสินค้า คือยันต์กันความเสียหายที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการขนส่ง ซึ่งค่าป้องกันสูงสุดของมันอยู่ที่ 90% ของมูลค่าสินค้าเลยทีเดียว

    -ใบขนสินค้าขาออก/ขาเข้า หรือ Import/Export Entry เอกสารนี้ทำขึ้นโดยShipping ในนั้นจะมีการแจ้งรายละเอียดสินค้า ชนิด จำนวน และราคา เพื่อให้กรมศุลกากรคิดคำนวณภาษีและเก็บข้อมูลการนำเข้าส่งออก

    นำเข้าทั้งทีต้องเอาให้คุ้มค่าส่ง

    ในการซื้อสินค้าไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศนำเข้าและส่งออก ย่อมต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าการส่งเป็นหลัก เพราะนั้นคือการคำนวณผลกำไรเฉลี่ยแล้วต้นทุนตกอยู่ที่ชิ้นละกี่บาท แน่นอนค่าขนส่งสินค้าจากต่างประเทศมีราคาสูงการสั่งในแต่ละทีจึงต้องดูเรื่องคุ้มค่าเรื่องเงินและเวลา วันนี้เราจึงข้อมูลในการคิดคำนวณมาให้คุณได้ศึกษาก่อนที่จะดำเนินการเรื่องขนส่ง ดังนี้

    -3 หมื่นบาทเป็นจำนวนเงินการขนส่งจากจีน ซึ่งราคานี้ได้รวมภาษีเรียบร้อยแล้ว (ในกรณีที่สั่งของเยอะมาก ๆ )

    -หากคุณสั่งไม่เยอะเพียงแค่ 5 คิวบิกเมตร อาจจะยังไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ ฉะนั้นการเลือกส่งแบบ LCL คือ ในนั้นจะมีหลายร้านที่สั่งรวมกันมาในตู้เดียวรวมกันแล้วไม่เกิน 20 คิวบิก คือจะใช้ตู้ 20 foot 

    ต้องรู้นำเข้าและส่งออก มีขั้นตอนอย่างไร

    1. นำเข้าและส่งออก เริ่มต้นที่โรงงานผู้ขาย

    ผู้ขายที่เป็นผู้ผลิตเองจะมีการซื้อขายหน้าโรงงาน (Shipper) แต่ไม่ได้หมายถึงว่าต้องไปรอซื้อด้านหน้าโรงงานเท่านั้น เพียงแต่เป็นคำที่เขาใช้เรียกกันเท่านั้น ไม่ว่าสินค้านั้นจะอยู่ที่ ร้านเล็กหรือใหญ่ โกดังเก็บสินค้า เราก็ยังคงเรียกว่า หน้าโรงงาน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Shipper ฉะนั้นเมื่อมีการสนทนากันกับชาวต่างชาติแปลในอีกความหมายที่ตรงตัวคือผู้ส่งออกหรือผู้ขาย แต่ก็มีหลายคนที่เรียกแปลกแยกออกไปเช่น โรงงาน Factory โกดัง Warehouse หรือ ร้าน Shop ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรสินค้าจะเริ่มดำเนินการนำเข้าและส่งออก ณ ที่ตรงนั้นเลย

    1. ประเทศต้นทางเป็นผู้ขนส่ง

    เมื่อระหว่างคุณและผู้ขายตกลงกันได้ในเรื่องราคาและคุณภาพ เมื่อมีการบรรจุเสร็จเรียบร้อยรถบรรทุกจะมารับเพื่อขนส่งไปยังท่าเรือ/ท่าอากาศยานต่าง ๆ จากนั้นจึงจะมีการถ่ายโอนสินค้าไปช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ท่าเรือ ท่าอากาศยานเพื่อจัดส่งไปยังปลายทาง เรียกว่า Trucking, Pick-up, Inland หรือ Inland freight

    1. ขาออกต้องผ่านศุลกากร

    จะต้องมีการแสดงสินค้าว่าเป็นสินค้าประเภทไหนที่ต้องการนำเข้าและส่งออกให้แก่ศุลกากร (Customs House) ตรวจสอบจะเป็นหน้าที่ของผู้ขาย(Shipper) หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder) ขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่นานหากตรวจสอบแล้วไม่พบปัญหา

    1. ต้นทางคือท่าเรือ/ท่าอากาศยาน

    สินค้าที่ได้รับอนุญาตจากศุลกากรจะสามารถดำเนินการนำเรือหรือเครื่องบินเพื่อดำเนินการขนส่งออกจากประเทศถึงผู้ขาย ถึงอย่างไรก็ตามมันยังไม่เป็นการเสร็จสิ้นยังต้องมีการตรวจสอบอีกรอบ

    1. ปลายทางคือท่าเรือ/ท่าอากาศยาน

    สินค้าที่คุณรอคอยได้มาถึงประเทศของผู้ซื้อแล้ว สินค้าจะถูกลำเลียงเข้าโกดังทันทีเมื่อเรือจอดเทียบท่าและรอการตรวจสอบจากศุลกากรเพื่ออนุญาตปล่อยสินค้าต่อไป เรียกว่า Port of Discharge(POD) 

    1. นำเข้าสินค้าโดยผ่านศุลกากร

     เจ้าพนักงานศุลกากรจะตรวจสอบในเรื่องของความถูกต้องสินค้าว่าตามที่มีการแจ้งไว้ตั้งแต่ต้นทางหรือไม่ เสียภาษีหรือยังและตรงกับที่มีการกำหนดโดยฐานภาษีที่กรมศุลกากรและเป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ ทุกอย่างเรียบร้อยจะมีการขนส่งต่อไป เรียกว่า Inbound Customs Clearance

    1. ขนส่งไปยังผู้รับจากท่าเรือ

    รอรับสินค้าในประเทศไทยได้เลยเพราะทุกอย่างได้เสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ยังมีข้อหนึ่งด้วยรถขนส่งสินค้ามีขนาดคันใหญ่มหึมาห้ามวิ่งในช่วงเวลาเข้างานและหลังเลิกงานเพราะเป็นช่วงที่การจราจรหนาแน่น 

    1. ผู้ซื้อได้รับสินค้า

    ผู้ซื้อหรือConsignee เมื่อได้รับสินค้าเรียบร้อยแล้วให้คุณตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้องทุกครั้งหลังจากที่รับมาแล้ว

    บทสรุป

    จบไปแล้วสำหรับขั้นตอนต่าง ๆ เรียกได้ว่ากว่าจะได้รับสินค้าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจะเป็นการ นำเข้าและส่งออก มีขั้นตอนที่ละเอียดมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะ แต่หากคุณอยากทำการซื้อขายในลักษณะนี้ต้องศึกษาให้ดีและรอบคอบ เช่น การขนส่ง ช่องทางการติดต่อ เอกสารประกอบต่าง ๆ ฉะนั้นต้องมีการวางแผนที่ดีและรัดกุมมาก เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการขนส่งในแต่ละครั้งเพราะระยะทางและขั้นตอนขนส่งค่อนข้างเยอะ เพื่อให้เกิดผลกำไรต่อคุณให้มากที่สุดและคุ้มค่าต่อการรอคอย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดข้องต่อการนำเข้าและส่งออกคุณต้องมีข้อมูลในด้านนี้อย่างชัดเจน📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ