ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีธุรกิจหน้าใหม่เปิดตัวตามกันมาจำนวนไม่น้อยเลย พูดได้ว่าเป็นปรากฎการณ์ผันตัวมาอยูในฐานะเจ้าของธุรกิจจนน่าแปลกใจ เพราะเจ้าของธุรกิจที่ว่านั้นต่างก็เป็นกลุ่มบุคคลอายุน้อยเสียด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าขณะนี้คนอายุน้อยมีความกล้าที่จะผจญความเสี่ยงมากขึ้น เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการทำธุรกิจใดล้วนมีความเสี่ยงเสมอ หากใครที่กำลังจะเริ่มต้นกิจการของตนเองควรศึกษารายละเอียดให้รอบด้าน สำคัญมากต้องศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบกันด้วย และอย่าลืมว่าธุรกิจของท่านจะ “ต้องจดทะเบียนพาณิชย์” ให้เรียบร้อยเสียก่อน ซึ่งรายละเอียดของการจดทะเบียนเป็นอย่างไร เราจะมาหาคำตอบร่วมกัน
กลุ่มธุรกิจใดบ้างที่ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
เราต่างก็ทราบกันดีว่าการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์เป็นสิ่งพึงปฏิบัติของผู้ที่ต้องการเริ่มทำธุรกิจ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นมานั้นอยู่ในขอบข่ายที่ต้องจดทะเบียน สำหรับเรื่องนี้ไม่ได้เป็นอะไรที่น่ากังวลนักเพราะกลุ่มธุรกิจที่ต้องยื่นจดทะเบียนนั้นประกอบไปด้วยกิจการใน 5 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่
– กิจการที่ดำเนินงานโดยเจ้าของคนเดียว
– กิจการประเภทห้างหุ้นสามัญ
– กิจการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
– กิจการประเภทบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
– กิจการต่างประเทศที่มีสาขาตั้งอยู่ในประเทศไทย
เชื่อว่าคนที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจของตัวเองจะต้องทราบแน่นอนว่าตนเองนั้นเข้าค่ายและมีคุณสมบัติที่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ ฉะนั้นเมื่อทราบก็อย่านิ่งนอนใจ การดำเนินการให้ถูกต้องตามกฏหมายส่งผลดีต่อกิจการมากที่สุดอย่างแน่นอน
ทำไมการทำธุรกิจ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
จุดประสงค์ในการขอจดทะเบียนพาณิชย์กำหนดขึ้นมาเพื่อต้องการให้แสดงตัวตนว่ากิจการนั้นมีการดำเนินธุรกิจอยู่จริงหรือไม่ เป็นกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และช่วยยืนยันความน่าเชื่อถือต่อหน่วยงานที่จะเข้ามาตรวจสอบรวมไปถึงผู้ใช้บริการของกิจการเหล่านั้นด้วย โดยอยู่ภายใต้การดูแลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นธุรกิจของตนเองนอกจากจะต้องมีความรู้เฉพาะทางสำหรับกิจการที่กำลังก่อตั้งแล้ว การศึกษาและทำความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็เป็นอีกข้อที่ละเลยไม่ได้ ลำดับแรกต้องเริ่มจากการขอจดทะเบียนให้กับธุรกิจของท่านเสียก่อน สำหรับกิจการที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ภายในเวลา 30 วันซึ่งจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำกิจการ
สถานที่ในการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์
เจ้าของกิจการผู้มีหน้าที่ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์นั้นสามารถเลือกสถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ตามเขตการดูแลที่กิจการของท่านตั้งอยู่ โดยสถานที่จดทะเบียนแบ่งออกตามเขตการปกครอง 2 กลุ่มคือ
– กลุ่มที่ 1 เป็นสถานที่จดทะเบียนพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร เลือกจดทะเบียนได้ที่
– สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
– ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
– สำนักงานเขตตามที่ตั้งกิจการของท่าน (มีทั้งหมด 50 สำนักงานเขต)
– กลุ่มที่ 2 เป็นสถานที่จดทะเบียนพาณิชย์ในเขตต่างจังหวัด โดยเจ้าของกิจการจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ กับสำนักงานเทศบาลหรือสำนักองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะยึดตามที่ตั้งของกิจการว่าอยู่ในส่วนการดูแลของสำนักงานไหนเป็นหลัก
เอกสารในการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์
เมื่อทราบสถานที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แล้ว สิ่งต่อไปที่เจ้าของกิจการต้องทำคือการเตรียมเอกสารสำหรับนำไปยื่นต่อสำนักงานที่รับจดทะเบียนอย่างครบถ้วน ผู้ยื่นจดทะเบียนควรตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุสุดวิสัยและต้องเสียเวลาในภายหลัง โดยเอกสารที่จะต้องนำไปยื่นนั้นประกอบไปด้วย
– คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) เอกสารในส่วนนี้สามารถเข้าดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
– สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นจดทะเบียน
– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นจดทะเบียน
– ในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่ได้เข้ายื่นจดทะเบียนด้วยตัวเองมีความจำเป็นต้องส่งตัวแทนไป จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมกับสำเนาบัตรประชาชนของบุคคลที่รับอำนาจไปยื่นเอกสารจดทะเบียนแนบไปพร้อมกันด้วย
– ในกรณีที่เจ้าของกิจการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ล่าช้ากว่ากำหนด 30 วัน จะต้องแนบหนังสือชี้แจ้งถึงเหตุที่ต้องเข้าจดทะเบียนเกินกำหนดไปด้วย
อย่างไรเมื่อต้องไปทำดำเนินการเหล่านี้ เรื่องเอกสารถือเป็นสิ่งสำคัญทุกอย่างต้องพร้อมและครบ เพื่อให้คุณประหยัดเวลามากที่สุด ทั้งหมดเป็นเอกสารที่ต้องนำไปเพื่อยื่นต่อการขอจดทะเบียนพาณิชย์นั้นเอง
บทลงโทษกรณีไม่ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์
สำหรับเจ้าของกิจการที่กำลังจะเปิดดำเนินการหรือผู้ที่เปิดดำเนินการมาแล้วแต่ยังไม่ได้ยื่นจดทะเบียน หากท่านทราบในเงื่อนไขทางด้านกฎหมายดีอยู่แล้วจึงไม่ควรที่จะนิ่งนอนใจไป เพราะกิจการที่อยู่ในขอบข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ทำการเพิกเฉยเมื่อมีการตรวจสอบพบจะต้องได้รับโทษในภายหลัง นอกจากจะเสียค่าปรับแล้วยังเสียเวลาในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย โดยโทษที่กำหนดเอาไว้ มีดังนี้
– กรณีที่ยังไม่ได้ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ภายในเวลา 30 วันตามกำหนด และไม่มีการยื่นคำชี้แจงถึงสาเหตุของการไม่จดทะเบียนต่อสำนักงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีการตรวจพบจะโดนปรับ 2,000 บาท และจะโดนปรับต่อไปวันละ 100 บาทจนกว่าจะมีการยื่นจดทะเบียนอย่างถูกต้อง
– อีกกรณีหนึ่งเป็นการยื่นจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วแต่ได้ทำใบทะเบียนพาณิชย์หายหรือชำรุด เจ้าของกิจการจะต้องยื่นขอใบแทนให้เรียบร้อยภายในเวลา 30 วัน รวมไปถึงการไม่นำใบทะเบียนพาณิชย์มาแสดง ณ ที่ตั้งกิจการให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ก็จะต้องรับโทษด้วยเช่นกัน โดยมีค่าปรับ 200 บาท และปรับต่อไปวันละ 20 บาทหากยังไม่จัดการนำใบทะเบียนพาณิชย์มาแสดงตามข้อกำหนด
กรณีโดนถอนใบทะเบียนพาณิชย์เกิดขึ้นได้อย่างไร
บทสรุป
เจ้าของกิจการต่าง ๆ ที่กำลังเริ่มต้นหรือได้ดำเนินกิจการของตนเองมาสักระยะแล้วแต่ยังไม่ได้ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ หากท่านทราบขอบข่ายธุรกิจของตนเองแล้วว่า ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ก็อย่าเอาแต่เพิกเฉยจนเกินกำหนดเวลา ควรรีบไปดำเนินการให้เรียบร้อยเสียดีกว่า เพราะนอกจากจะดำเนินธุรกิจได้อย่างสบายใจแล้ว ยังไม่ต้องมาเสียค่าปรับที่ไม่จำเป็นอีกด้วย ซึ่งขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนก็ไม่ได้ซับซ้อนหรือหากไม่สะดวกก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลที่ไว้วางใจไปยื่นจดทะเบียนแทนได้ เมื่อมีใบทะเบียนพาณิชย์ที่สามารถนำมาแสดงได้อย่างถูกต้อง กิจการของท่านก็จะมีความน่าเชื่อถือทั้งต่อลูกค้าและหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบด้วย📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™