คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อย (การจดทะเบียนบริษัทและหจก.)
- จำนวนผู้ร่วมก่อตั้งหรือผู้ร่วมทุน ซึ่งในการเริ่มต้นจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนนั้น จะต้องมีจำนวนผู้ก่อตั้งหรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป แต่หากเราจะจดทะเบียนเป็นบริษัทจะต้องมีผู้ร่วมทุนอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ถ้าลองมองเทียบกันในเรื่องของจำนวนผู้เริ่มก่อตั้งแล้วก็จะทำให้เรามองเห็นภาพง่าย ๆ ว่าห้างหุ้นส่วนสามารถจัดตั้งได้ง่ายกว่าบริษัท
- เรื่องของความรับผิดชอบ อย่างที่ชื่อการจดแจ้งแสดงไว้นั่นก็คือ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งคำว่าจำกัดนั้นก็มาจากการที่จำกัดความรับผิดชอบตามทุนจดทะเบียนของเรานั่นเอง ในส่วนของบริษัทจะจำกัดความรับผิดชอบให้กับทุกคนที่เป็นหุ้นส่วนหากมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจจะรับผิดชอบตามเปอร์เซ็นต์หุ้นที่แต่ละคนได้ถือไว้ ในทางกลับกันถ้าเป็นการจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วนจะต้องมีคนหนึ่งในหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นคนถือหุ้นส่วนผู้จัดการ ที่จะต้องรับผิดชอบไม่กำจัดจำนวน นั่นหมายความว่าคนที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะมีความเสี่ยงกว่าหุ้นส่วนคนอื่น ซึ่งแตกต่างจากบริษัทจำกัดที่ทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบเท่ากัน
- ราคาค่าธรรมเนียมในการจัดตั้ง อย่างที่เราได้ทราบกันไปในข้างต้นแล้วว่า การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามารถจัดตั้งได้ง่ายกว่าบริษัทและมีราคาค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าเช่นกัน แต่ต้องยอมรับความเสี่ยงในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
สำหรับผู้ที่จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนแล้ว ข้อควรระวังที่พึงต้องทราบก็คือทุนจดทะเบียน แม้ว่าท่านจะทำการจดทะเบียนบริษัทมานานแล้วหรือกำลังจะจดทะเบียน เรื่องของทุนจดทะเบียนก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความสับสนกันอยู่ สำหรับผู้ประกอบการแล้วเรื่องที่ควรจะทราบอันดับแรกก็คือ ผู้ประกอบการต้องมีเงินทุนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับจดทะเบียนอยู่ก่อนมากกว่าเงินจดทะเบียน 25% โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัททั่วไปจะนิยมจดทะเบียนบริษัทกันอยู่ที่ 1 ล้านบาท ซึ่งก็ทำให้หลายคนเกิดคำถามสงสัยขึ้นมาว่าทำไมผู้ประกอบการจึงนิยมจดทะเบียนกันอยู่ที่เรทราคานี้ ซึ่งหากถามว่าบริษัทที่จะทำการจดทะเบียนนั้นสามารถจดเพิ่มขึ้นหรือน้อยกว่านี้ได้หรือไม่ คำตอบคือสามารถทำได้แต่หากมองในมุมกลับกันจะพบว่าเวลาที่บริษัทเราต้องการทำธุรกิจซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้าขึ้นมาและจำเป็นต้องมีการทำสัญญาซื้อขายในเรทราคาที่สูงขึ้น แน่นอนว่าความน่าเชื่อถือขององค์กรคุณจากเงินทุนการจดทะเบียนบริษัทนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเกิดความราบรื่น ทั้งยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทเพื่อให้คู่ค้าของเราเกิดความมั่นใจในการที่จะมาทำธุรกิจด้วยกับเรานั่นเอง
เนื่องจากประเทศไทยเองก็ได้มีกฎหมายเพื่อควบคุมธุรกิจของชาวต่างชาติที่จะมาทำธุรกิจในไทย เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวต่างชาติเข้ามาหาประโยชน์ในไทยมากจนเกินไป ดังนั้นในการจดทะเบียนหากมีชาวต่างชาติร่วมทำธุรกิจด้วยจะยังสามารถจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนได้ไหม คำตอบก็คือสามารถทำได้แต่ผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหุ้นอยู่ในการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนไม่เกิน 49 % หรือน้อยกว่าครึ่งนึงของทั้งหมดนั่นเอง ถามว่าทำไมรัฐจึงต้องมีมาตรการนี้ออกมาให้คุณลองนึกถึงทัวร์ศูนย์เหรียญที่เดินทางมาโดยไกด์ของต่างชาติ รถของต่างชาติ และโรงแรมร้านค้าเป็นของเขาหมด ซึ่งนั่นทำให้รายได้และภาษีไม่ได้เข้าสู่ประเทศเลยแม้แต่บาทเดียว ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการแสวงกำไรจากต่างชาติจนเกินไปการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีชาวต่างชาติจึงต้องมีการควบคุมการถือหุ้นด้วยนั่นเองและในการที่เราจะดำเนินธุรกิจใด ๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเลยนั่นก็คือเรื่องภาษีนั่นเอง ชาวต่างขาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจในประเทศของเราก็มีความจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับคนไทย
คำถามที่พบบ่อย (การทำบัญชี)
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย – หลายคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วงการธุรกิจก็มักจะเคยได้ยินชื่อของภาษีประเภทนี้ เพราะภาษีประเภทนี้เป็นภาษีประเภทที่เราจะต้องหักล่วงหน้า ซึ่งเราไม่ต้องกังวลเพราะภาษีนี้สามารถขอคืนได้หากมียอดเกินกว่าที่ต้องหักจริง ซึ่งตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าเจ้าของกิจการหรือเจ้าของธุรกิจสามารถขอหักจากเราเพื่อใช้ไว้เป็นเงินสำรองสำหรับจ่ายภาษีรายปีได้นั่นเอง
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม – เป็นอีกหนึ่งภาษีที่เราต้องเสียกันตั้งแต่เราเกิดมาตามสินค้าต่าง ๆ แน่นอนว่าเมื่อเรามาเป็นนักธุรกิจ การที่จะค้าขายสิ่งต่าง ๆ ให้ได้กำไรส่วนหนึ่งเราก็ควรมีความรู้เรื่องราคาแฝงในสินค้าอันเกิดจากภาษีมูลค้าเพิ่มด้วย เพราะหากเราขายสินค้าโดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปในต้นทุน คุณอาจประสบปัญหาการขาดทุนได้นั่นเอง
- ภาษีเงินได้ – ภาษีประเภทนี้เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วสำหรับคนที่มีรายได้เกินกว่าอัตราที่กำหนดจะต้องการทุกปี แน่นอนว่าหากเรามีการเตรียมพร้อมเตรียมตัวที่ดีก็จะทำให้รายรับรายจ่ายของท่านมีการควบคุมไว้สำหรับส่วนที่จะต้องจ่ายภาษีเงินได้ด้วย
- ภาษีอากรแสตมป์ – เป็นการจัดเก็บภาษีสำหรับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยหลักฐานการประทับจากอากรแสตมป์ ซึ่งแม้มองดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ภาษีชนิดนี้ก็ได้ถูกบันทึกไว้ในรายการภาษีที่นักธุรกิจควรรู้และชำระด้วย
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ – ธุรกิจที่ว่าก็ได้แก่พวก ธนาคารพาณิชย์ อสังหาฯ โรงจำนำ เป็นต้น หากคุณเป็นหนึ่งในธุรกิจเหล่านี้ก็ควรศึกษาภาษีในเรื่องนี้ไว้ด้วย เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งทีเดียว
- ในกรณีที่ยังไม่มีหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ แต่รู้ตัวก่อนจะเสียเงินเพิ่มอีก 1.5 ต่อเดือนที่ท่านไม่ได้ยื่นนำส่งภาษีตามจำนวนที่ท่านค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ครบกำหนด
- กรณีมีหมายเรียกเจ้าหน้าที่ จะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มตามข้อที่ 1 และนอกจากนี้ยังจะต้องเสียเงินเบี้ยปรับเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐในตอนนั้นด้วยเช่นกัน
- หากเป็น ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 หากไม่ได้ยื่นภาษีส่วนนี้จะมีโทษทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
- กรณีไม่ยื่นหรือจงใจปกปิดหรือยื่นหลักฐานเท็จ เพื่อหลบเลี่ยงจะต้องมีโทษร้ายแรง ทั้งจำทั้งปรับ ติดคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- กรณีจงใจ หรือละเลยที่จะไม่จ่ายก็มีโทษทั้งจำทั้งปรับเช่นกัน มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท และจำคุกไม่เกิน 1 ปี