เรามักจะเห็นข่าวต่าง ๆ ที่พนักงาน“ถูกเลิกจ้าง” จากหลายบริษัท ซึ่งก็จะมีหลายกรณีที่เลิกจ้างจากการที่พนักงานทำผิดเท่านั้น ในบางกรณีทางบริษัทจะต้องมีการจ่ายเงินชดเชยให้ตามที่กฎหมายกำหนดอีกด้วย หลายคนอาจยังไม่รู้ อย่าปล่อยให้บริษัทเอาเปรียบเด็ดขาด ซึ่งก็ต้องดูเป็นกรณีไป เพราะตามกฎหมายสิทธิแรงงานแล้ว ไม่ได้มีเพียงการจ้างงานที่ถูกต้อง เป็นธรรม แต่ยังมีกล่าวถึงการเลิกจ้างด้วยว่าเป็นธรรมแค่ไหน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ( ฉบับที่ 7 ) ปี พ.ศ. 2562 ระบุว่า “ ค่าชดเชยเมื่อโดนเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างไม่ผิด มีการปรับปรุงหน่วยงาน ลดจำนวนแรงงาน ย้ายสถานประกอบการ อย่างน้อยต้องจ่ายค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน ยังไม่รวมค่าชดเชยพิเศษ กรณีถูกเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้าตามกฎหมาย
ถูกเลิกจ้าง ความหมายคืออะไร
ทราบไหมว่าการเลิกจ้างจะไม่เหมือนกับการลาออก เพราะว่าลาออกเป็นสิ่งที่พนักงานยินดีทำด้วยตนเอง และต้องไม่ใช่การลาออกแบบโดนบังคับข่มขู่ด้วย แต่สำหรับการถูกเลิกจ้างความหมายจะคนละแบบเลย มันคือการที่บริษัทนั้นได้ทำการยุติสัญญาจ้างงานตามกฎหมาย ส่วนเหตุผลที่เลิกจ้างนั้นก็ต่างกันไป ดูไปเป็นกรณี บางกรณีก็ได้รับเงินชดเชย ได้ค่าตกใจ บางกรณีก็ไม่ได้อะไรเลย การเลิกจ้างก็คือจะหยุดการจ้างงานโดยบริษัทและไม่ได้รับค่าจ้างอีก มาดูกันว่ากรณีการโดนเลิกจ้างมีแบบไหนบ้างดังนี้
- การให้ออก คือ นายจ้างเลิกจ้างไปเองแบบที่พนักงานไม่ได้ผิดอะไร ไม่ได้ทำผิดวินัยตามขอปฏิบัติของบริษัท ทำทุกอย่างตามกฎ ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเสมอ แต่ว่าบริษัทลงความเห็นว่าไม่สมควรจ้างคนนี้อีกต่อไป อาจจะมีสาเหตุหลายอย่าง เช่น ปัญหาการหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เรียกง่าย ๆ ก็คือแก่เกินไปแล้ว หรืออาจจะเป็นด้านสุขภาพของพนักงานที่ไม่เอื้อ เลยให้ออก ซึ่งแบบนี้ก็ไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามมาตรา 49
- การปลดออก สำหรับกรณีนี้ลูกจ้างทำผิดวินัยแบบร้ายแรงเลย ทำให้นายจ้างหรือบริษัทจะต้องปลดออกทันที เช่น การไม่ทำงานตามสั่ง การละทิ้งงาน ละทิ้งหน้าที่รับผิดชอบของตนในบริษัท ถือว่าผิดร้ายแรง เป็นการจงใจขัดคำสั่งงาน สำหรับแบบนี้นายจ้างมีสิทธิ์ปลดหรือไล่ออกแบบไม่ต้องบอกล่วงหน้าด้วยหรือจะให้เป็นสินไหมทดแทนแบบนี้ก็เรียกว่าถูกเลิกจ้างอีกแบบได้เหมือนกัน
- การไล่ออก สำหรับข้อนี้ถือว่าลูกจ้างทำผิดวินัยอย่างหนัก ร้ายแรงมาก ๆ ส่งผลกระทบต่อบริษัทโดยตรง รุนแรงมาก ตามมาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยอะไรให้เลยก็ย่อมได้ กรณีที่จะไม่ได้อะไรเลยจากการไล่ออกนี้คือมีการทุจริตในหน้าที่แบบเจตนา เป็นความผิดแบบอาญา เป็นความผิดแบบจงใจทำให้นายจ้างหรือบริษัทเสียหาย ประมาทเป็นเหตุให้บริษัทหรือนายจ้างเสียหายร้ายแรงหนัก ฝ่าฝืนระเบียบบริษัท ละทิ้งหน้าที่การงานติดกันนานแบบไม่มีเหตุสมควร และโทษหนักสุดเลยคือ จำคุก คงไม่มีใครชอบการถูกเลิกจ้างแบบนี้แน่ ๆ
การโดนเลิกจ้างแบบไหนบ้างที่จะได้รับเงินชดเชยแบบต่าง ๆ
การถูกเลิกจ้างแบบที่ไม่มีความผิดยังไงตามสิทธิแรงงานก็จะต้องได้รับค่าชดเชย บริษัทหรือนายจ้างจะต้องจ่ายให้ตามกฎหมายกำหนด ซึ่งมันก็มีหลายแบบ หากคุณโดนเลิกจ้างแบบไม่ได้ทำอะไรผิดอยู่มาดูกันว่าเข้าเงื่อนไขการเลิกจ้างงานแบบไหนบ้าง เพื่อรักษาสิทธิ์ของตนและไม่ให้โดนใครเอาเปรียบได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ไม่มีความผิดแต่โดนเลิกจ้าง ก็มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยประมาณนี้ มากกว่า 120 วันแต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน มากกว่า 1 ปีแต่ไม่ถึง 3 ปี อัตราสุดท้ายที่จะได้รับคือ 90 วัน มากกว่า 3 ปีแต่ไม่ถึง 6 ปี อัตราสุดท้ายที่จะได้รับเงินชดเชยคือ 180 วัน มากกว่า 6 ปีแต่ไม่ถึง 10 ปี ได้ค่าจ้างอัตราสุดท้ายที่ 240 วัน ส่วนคนที่ทำงาน 10 ปีขึ้นไปแต่ถูกเลิกจ้างจะได้รับค่าจ้างแบบอัตราสุดท้ายอยู่ที่ 300 วัน นั่นเอง
- บริษัทจะต้องปิดปรับปรุง เปลี่ยนแปรง ตามกฎหมายจะต้องแจ้งเหตุผล วันที่จะปิด ชื่อคนที่ถูกเลิกจ้างให้ชัดเจนล่วงหน้า 60 วัน หากไม่แจ้งจะต้องจ่ายค่าตกใจเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 60 วันด้วย หากทำงาน 6 ปีขึ้นไป ค่าตกใจก็ต้องไม่น้อยกว่าอัตราสุดท้าย 15 วันต่อการทำงาน 1 ปีด้วย แต่รวมกันแล้วจ่ายต้องไม่เกินอัตราสุดท้าย 360 วัน
- บริษัทจะทำการย้ายที่ไปตั้งที่อื่น ทำให้พนักงานไปทำงานลำบาก ก่อนย้ายบริษัทต้องแจ้งไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนจะถึงวันกำหนดย้าย หากไม่แจ้งก็เสียค่าชดเชยพิเศษหรือค่าตกใจเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้ายที่ 30 วัน หากพนักงานหรือลูกจ้างไม่สะดวกไปทำงานที่ใหม่ สามารถยกเลิกสัญญาการจ้างงานได้ แต่จะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้แบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าชดเชยแบบปกติ
จะเลิกจ้างก็ยังมีกฎ ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ ก็ปิดลอยแพพนักงานไปเลย แบบนั้นไม่ค่อยน่ารักแล้วยังสร้างความเดือนร้อนหนักมากให้กับพนักงานอีกด้วย ตามในข่าวที่หลายคนถูกเลิกจ้างแบบงง ๆ ไม่มีความผิดอะไรแต่เจ้านายหายเข้ากลีบเมฆไปแล้ว ไม่มาจ่ายค่าชดเชยอะไร จริง ๆ แบบนี้ลูกค้าก็สามารถฟ้องได้เหมือนกัน
ค่าตกใจ คืออะไร
สำหรับคำว่า “ค่าตกใจ” ก็ตามชื่อเลย เวลาที่พนักงานถูกเลิกจ้างแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่รู้ล่วงหน้า โดนเลิกจ้างแบบกะทันหัน ใครบ้างจะไม่ตกใจที่อยู่ ๆ ตนเองก็ตกงานเฉยเลย เรียกอีกแบบว่าค่าบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ว่าดันไม่บอกก็ต้องจ่ายมาประมาณนั้นเลย ซึ่งก็ต้องดูเป็นกรณีและรายคนไปด้วย ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดอะไร จะจ่ายชดเชยค่าตกใจที่เท่าไหร่ก็วัดจากอายุงานร่วมด้วย และยังต้องดูสาเหตุการเลิกจ้างตามที่กล่าวมาข้างต้นประกอบด้วยเช่นกัน
เมื่อถูกเลิกจ้างแบบที่จะได้รับเงินชดเชย นายจ้างต้องจ่ายให้วันไหน
หากมีการเลิกจ้างพนักงานแล้วมีการจ่ายค่าชดเชยให้ จะต้องจ่ายให้ภายในวันสุดท้ายที่ทำงาน จ่ายก่อนหน้าได้ยิ่งดี แต่ถ้าหากบริษัทไหนไม่จ่าย ลูกจ้างไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ เลย แจ้งเรื่องร้องเรียนไปได้ที่ “สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน” แบบนี้จะเรียกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบริษัท หลายคนอาจยังไม่รู้เรื่องนี้ พอไม่ได้รับเงินก็คิดว่าบริษัทไม่จ่ายให้ก็ได้ ตามความเป็นจริงมันไม่ควรเป็นแบบนั้น คุณกำลังโดนเอาเปรียบอยู่อย่าปล่อยเอาไว้ฟ้องและร้องเรียนได้เลย
ถูกบริษัทเลิกจ้าง ว่างงาน ทำยังไงต่อดี
หลายคนที่ต้องทำงานเพราะว่าชีวิตมีค่าใช้จ่าย ทุกอย่างมันมีราคาที่ต้องจ่ายของมัน แต่ในเมื่อถูกเลิกจ้าง ก็กลับมาว่างงาน ยิ่งใครที่โดนแบบกะทันหัน งานใหม่ก็ยังไม่มี ภาระยังอยู่ หนี้สินก็ต้องจ่าย ทำอย่างไร แน่นอนหลายคนคงต้องบอกว่าหางานใหม่ นั่นเป็นสิ่งที่ควรต้องทำทันทีอยู่แล้ว แต่มีอีกอย่างที่หลายคนอาจลืมไป สำหรับคนที่มีสิทธิประกันสังคมอยู่และจ่ายสมทบมา 6 เดือนแล้ว ในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนที่จะตกงานแบบนี้ ก็ขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคมได้ด้วยนะ อย่าปล่อยให้สิทธิ์นี้ลอยหายไป มันเป็นเงินที่คุณต้องได้ แต่จะต้องไปยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคม และต้องทำการขึ้นทะเบียนคนว่างงานที่เว็บสำนักงานจัดหางานด้วยภายใน 30 วัน หลังการโดนเลิกจากนะ มิเช่นนั้นสิทธิ์นี้อาจหลุดมือไป
บทสรุป
การได้รับเงินชดเชยจากกรณีถูกเลิกจ้าง จะต้องไม่มีการผิดวินัยร้ายแรง ไม่กระทำความผิดอันใดที่ส่งผลเสียต่อนายจ้างและบริษัท แต่ถ้าหากทำผิดแบบเจตนาจงใจทำนอกจากจะไม่ได้รับเงินชดเชยสักบาทแล้ว สั่งเสี่ยงติดคุกอีกด้วย ประวัติเสียอย่างมาก ส่วนใครที่โดนเลิกจ้างจากทางนายจ้างเองแบบกระทันหันก็ต้องได้ค่าตกใจเพิ่มมาด้วย นอกจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย ย้ำว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องได้ หากไม่ได้ให้ทำการร้องเรียนได้เลยไม่ควรปล่อยไป ส่วนบริษัทจะจ่ายให้มากน้อยแค่ไหนก็ดูปัจจัยหลายอย่างประกอบกันตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากจะให้ดีควรบอกล่วงหน้าสักหน่อยอย่างน้อยให้พนักงานทำใจและเตรียมตัวในการหางานอื่นไว้รอบรับ เพราะไม่ว่าใครก็ต้องกินต้องใช้ มีภาระมากมายต้องรับผิดชอบหนักหนาไม่แพ้กัน 📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนหจก.ดีที่สุด™