กฎหมายแรงงานต่างด้าว นายจ้างต้องรู้ ต้นทุนอาจเสียหาย

กฎหมายแรงงานต่างด้าว นายจ้างต้องรู้ ต้นทุนอาจเสียหาย

เจ้าของกิจการที่มีพนักงาน มีแรงงานเป็นประเทศอื่นที่เรียกว่าเป็นแรงงานต่างด้าวจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าวเสมอ เพราะหากจ้างแรงงานโดยไม่มีใบอนุญาตถือว่าผิดกฎหมายแรงงานประเทศไทย อาจมีโทษไม่เบาเลย นายจ้างทุกคนไม่ควรละเลย นายจ้างจะต้องพาลูกจ้างแรงงานนั้นไปยื่นขอวีซ่าทำงานให้ถูกกฎหมาย มันไม่เสียเวลามากมายอะไร ทำเอาไว้ปลอดภัยกว่า ดีทั้งต่อบริษัทและแรงงานเองด้วย หากปล่อยเพราะคิดว่าไม่เป็นไร คงไม่มีใครมาตรวจนั้นคิดผิดอย่างมาก เพราะหากโดนจับได้ความเสียหายหนักมากไม่คุ้มแน่นอน แรงงานในไทยเราส่วนใหญ่จะเป็น กัมพูชา ลาว และเมียนมา จะต้องแจ้งการอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วันจะแจ้งด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นแจ้งรายงานแทนก็ได้ จะเป็นนายจ้างที่ถูกต้องมีอะไรที่จะต้องรู้บ้างมาดูกัน

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    วิธีรายงานตัวแรงงานต่างด้าว ตามกฎหมายแรงงานต่างด้าว เพื่อขออยู่ไทยเกิน 90 วันอย่างถูกกฎหมาย

    หากทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายกำหนดแรงงานก็ไม่มีอะไรจะต้องกลัว หากเคยเห็นแรงงานที่วิ่งหนีการตรวจ หนีตำรวจ นั่นเป็นเพราะมาทำงานอย่างไม่ถูกกฎหมายนั่นเอง ฉะนั้นแล้วหากนายจ้างคนไหนต้องการแจ้งแรงงานทั้ง 3 สัญชาติ ลาว เมียนมา และกัมพูชา อย่าลืมทำการรายงานตัวลูกจ้างต่างด้าวของตนให้เรียบร้อยตามที่กฎหมายแรงงานต่างด้าว ข้อกำหนดไม่มีอะไรที่ยากหรือซับซ้อนเลย มีดังนี้

    • แรงงานที่เข้ามาในไทยไปแจ้งรายงานตัวด้วยตนเองได้เลย เพื่อแจ้งที่พักอาศัยก่อน 15 วัน หรือหลังครบกำหนดและไม่เกิน 7 วัน ยึดวันที่แจ้งครบกำหนดในใบรับแจ้ง
    • หากยังไม่สะดวกเดินทางสามารถจัดส่งเอกสารรายงานตัวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้ ซึ่งต้องส่งก่อนวันครบกำหนด 15 วัน ฉะนั้นคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตและแจ้งที่พักในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น
    • สำหรับคนต่างด้าวที่ต้องการมอบหมายให้บุคคลอื่นรายงานตัวและแจ้งที่พักอาศัยแทน นั้นสามารถไปแจ้งได้ไม่เกิน 5 คนต่อ 1 ผู้รับมอบ แจ้งได้ที่ศูนย์บริการแรงงานต่างด้าว บก.ตม.1 แต่ถ้าอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ ในครั้งต่อไปแรงงานต่างด้าวต้องไปรายงานตัวเองเท่านั้น
    • สำหรับคนที่รายงานตัวเมื่อเกินกำหนดไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท แต่กรณีโดนจับตัวได้ค่าปรับจะเป็น 5,000 บาท และปรับเพิ่มไม่เกินวันละ 200 บาท จนกว่าจะรายงานตัวถูกต้องตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวตามมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ปี พ.ศ. 2522 ฉะนั้นรีบรายงานตัวก่อนจะหมดเวลาดีกว่า กรณีนี้จะมอบหมายคนอื่นไม่ได้และรายงานทางไปรษณีย์ก็ไม่ได้ ต้องไปด้วยตนเองเท่านั้น
    • สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ออกนอกประเทศไทยก่อนครบกำหนดนัด พอกลับมาแล้วต้องไปรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยเมื่อครบกำหนด 90 วัน นับจากวันที่เข้ามาในไทย

    ตามข้อกำหนดกฎหมายแรงงานต่างด้าวแล้วในการแจ้งรายงานตัวเพื่อขอพำนักในไทยเกิน 90 วัน จะไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการ ยกเว้นกรณีการรายงานตัวเกินกำหนดเท่านั้นที่จะต้องมีการเสียค่าปรับตามที่ระบุไว้ข้างต้น หากนายจ้างไม่ต้องการให้เสียเวลาเสียเงินควรพาแรงงานต่างด้าวของตนไปรายงานตัวให้ทันเวลา

    เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการรายงานตัวแรงงานต่างด้าว

    การรายงานตัวของคนต่างด้าว ไม่ได้ยุ่งยากเลย แถมยังมีหลายช่องทางให้เลือกตามความสะดวกอีกด้วย นายจ้างที่ดีจะพาแรงงานไปหากคนต่างด้าวที่ไม่รู้ขั้นตอนหรือไม่รู้กฎหมายแรงงานต่างด้าวของไทยว่าจะต้องทำอะไรบ้าง นายจ้างจะต้องรู้และไม่ละเลยพนักงานของตน เพราะไม่ใช่ทุกคนที่เข้ามาพร้อมกับเงินถุงเงินถังเพียงพอสำหรับการเดินทางไปรายงานตัว หากมีคนพาทำทุกอย่างก็จะง่ายขึ้น ในครั้งต่อไปคนต่างด้าวในธุรกิจคุณอาจสามารถเดินทางไปรายงานตัวเองได้ มาดูกันว่าจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

    • รายงานตัวด้วยตนเองจะต้องใช้เอกสารดังนี้
    1. พาสปอร์ตฉบับจริง ไม่หมดอายุ เท่านั้น
    2. แบบ ตม. 47มากับเอกสารรับแจ้งการขออยู่ในไทยเกิน 90 วัน ฉบับของจริง เท่านั้น
    3. จะต้องมีใบอนุญาตทำงานมาด้วย ฉบับจริงและยังไม่หมดอายุเท่านั้น
    • รายงานตัวแรงงานต่างด้าวแบบมอบหมายให้ผู้อื่นไปแทนต้องใช้เอกสารดังนี้
    1. เหมือนกับแบบที่ไปเองเลยคือจะต้องมีหนังสือเดินทางของแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่หมดอายุ ฉบับจริงเท่านั้น
    2. เอกสารแบบ ตม.47 และเอกสารรับแจ้งการอยู่ไทยเกิน 90 วัน ฉบับของจริง เท่านั้น
    3. ขาดไม่ได้อีกอย่างคือใบอนุญาตทำงาน ฉบับจริงเช่นกันและต้องไม่หมดอายุ
    4. สิ่งสำคัญอีกอย่าง หนังสือการมอบอำนาจที่ติดอากรแสตมป์ 5 บาทให้เรียบร้อย ระบุว่า “มารายงานตัวให้คนต่างด้าว” ให้ใครก็ระบุไป เป็นฉบับจริงเท่านั้น
    5. เอกสารอย่างสุดท้ายคือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้รับมอบ อย่าลืมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย

    ย้ำอีกครั้งว่าอย่าลืมรายงานตัวให้เรียบร้อย กฎหมายแรงงานต่างด้าวประเทศเราไม่ได้โหดหินอะไรเลยหากทำอย่างถูกต้อง สำหรับใครที่สะดวกส่งรายงานตัวทางไปรษณีย์จะต้องทำก่อนถึงวันครบกำหนด 15 วันเท่านั้น เตรียมเอกสารตามหัวข้อแรกให้พร้อมแล้วใส่ซองจดหมาย และต้องติดแสตมป์ 5 บาท จ่าหน้าซองให้เรียบร้อย จะเป็นที่อยู่ของนายจ้างหรือแรงงานก็ได้

    นายจ้างต้องรู้ประเภทของคนต่างด้าวก่อนขอใบอนุญาตทำงาน

    สำหรับใครที่ต้องการคนงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกิจการของตนเองจะต้องศึกษากฎหมายแรงงานต่างด้าวให้ดีเพื่อไม่ให้กระทำผิด ซึ่งตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว ปี พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) ปี พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้ การนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย สามารถทำได้ 2 วิธีคือ การที่นายจ้างดำเนินการนำคนต่างด้าว มาทำงานกับตนในประเทศตนเอง และอีกวิธีคือ การที่นายจ้างนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับตนในประเทศ โดยผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน นั่นเอง มาดูกันหน่อยว่าแรงงานต่างด้าวนั้นมีกี่ประเภทจะได้ขอใบอนุญาตทำงานได้ถูก มีดังนี้

    • ประเภทคนต่างด้าว ระดับฝีมือชำนาญการ ( ม.59 ) ซึ่งหมายถึงเป็นคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในไทยหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในไทยแบบชั่วคราวตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวและกฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งไม่ใช่การมาแบบนักท่องเที่ยว หรือผู้ผ่านทาง อีกทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามอีกด้วย
    • ประเภทคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตทำงาน ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ เรียกแบบเข้าใจง่าย ๆ ว่า MOU นั่นเอง แรงงานที่จะทำ MOU ได้นั้นมีประเทศ ลาว เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งเข้ามาทำงานในไทยได้นั้น จะทำงานได้ 2 ประเภทคือ กรรมกร และ งานรับใช้ในบ้าน แต่เฉพาะแรงงานเวียดนามจะทำได้เพียงงานกรรมกรเท่านั้น ซึ่งจะต้องทำในกิจการก่อสร้างหรือประมงเท่านั้นอีกด้วย ซึ่งแรงงานประเภทนี้ในไทยเราค่อนข้างเยอะมาก นายจ้างที่จะจ้างจะต้องรู้กฎหมายด้วย
    • ประเภทต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมลงทุน (ม.62) ซึ่งตัวนี้จะเป็นการที่คนต่างด้าวเข้ามาในไทย ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมหรือกฎหมายปิโตรเลียมเท่านั้น
    • ประเภทคนต่างด้าวชนกลุ่มน้อย (ม.63/1) เรามักจะเรียกกันแบบง่าย ๆ ว่าชนกลุ่มน้อย คือคนที่เกินในไทยแต่ว่าไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย ไม่มีเอกสาร ไม่มีการทำทะเบียนประวัติ
    • ประเภทคนต่างด้าว ที่เดินทางมาทำงานในไทยแบบไปกลับหรือมาตามฤดูกาล (ม.64) ซึ่งแรงงาน 2 ประเทศนี้เท่านั้นที่ทำได้คือ เมียนมาและกัมพูชาเท่านั้น โดยใช้บัตรผ่านแดนชั่วคราว และทำงานได้เฉพาะในเขตจังหวัดที่ติดกับชายแดน มาได้ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน ประเภทงานที่ทำได้คือกรรมกรกับงานรับใช้ในบ้านเท่านั้น

    นายจ้างที่จะสามารถรับแรงงานต่างด้าวมาทำงานด้วยตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวนั้น นายจ้างจะต้องมีความพร้อมในการดูแลแรงงานด้วยและจะต้องจ่ายเงินค่าแรงตามที่กฎหมายกำหนด ในบทความนี้เราจะเน้นเรื่องของแรงงานระหว่างประเทศหรือแบบ MOU ส่วนประเภทอื่น ๆ สามารถศึกษาการขอใบอนุญาตทำงานได้ในเว็บสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าวหรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เลย

    การขอใบอนุญาตทำงานตามประเภทการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานแบบ MOU

    สำหรับการนำคนต่างด้าวมาทำงานในไทยตามบันทึกความเข้าใจ ด้วยการจ้างงานระหว่างรัฐหรือ MOU ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะกับประเทศ ลาว เมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา เท่านั้น นายจ้างที่จะนำแรงงานมานั้นจะต้องยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว และทางคนต่างด้าวเองจะต้องขอรับใบอนุญาตทำงาน ที่ สำนักงานจัดหางานได้ทุกที่ ทุกจังหวัดตามสะดวก หรือไปขอที่สำนักจัดหางานกรุงเทพฯ พื้นที่ 1 – 10 เลย ทำงานที่ไหนก็ไปขอในที่ใกล้ ๆ ได้ ส่วนเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการยื่นคำร้องที่นายจ้างต้องเตรียมนั้นมีดังต่อไปนี้

    1. เอกสารแบบคำร้อง นำเข้าแรงงานต่างด้าว ตามบันทึกความเข้าใจ (MOU)
    2. เอกสารหนังสือแสดงความต้องการแรงงาน (Demand Letter)
    3. เอกสารหนังสือแต่งตั้งบริษัทจัดหางานหรือตัวแทนของประเทศต้นทาง ( Power of Attorney)
    4. เอกสารตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงาน (Employment Contract)
    5. เอกสารหนังสือมอบอำนาจของนายจ้าง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ หากเป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลมาด้วยพร้อมกับสำเนาบัตรของกรรมการผู้ที่มีอำนาจ กรณีหากนายจ้างไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง
    6. หากนายจ้างเป็นคนไทย จะใช้สำเนาบัตรนายจ้างแต่ถ้าเป็นนิติบุคคลจะต้องมีหนังสือสำเนารับรองนิติบุคคลมาด้วยพร้อมสำเนาบัตรของผู้มีอำนาจ แต่ถ้านายจ้างเองก็เป็นคนต่างด้าว จะต้องแนบสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้างมาด้วย แต่ถ้านายจ้างไม่ได้ทำงานในไทย ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ก็จะต้องมี Notary Public ที่รับรองโดยสถานทูตไทยที่มีการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลนั้น ๆ มาลงนามแทนนั่นเอง

    หลังจากที่เตรียมเอกสารจะส่งยื่นคำขอไปแล้ว ต่อไปรอให้เจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณาเอกสารและเสนอผู้ที่มีอำนาจขอนำเข้าแรงงานให้แก่ประเทศต้นทาง พอทางการของประเทศต้นทางดำเนินการรับสมัครและคัดคนแล้วจะมีบัญชีรายชื่อแรงงานมาพร้อมสำเนาหนังสือเดินทางแรงงานให้กับนายจ้าง ตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวแล้วนายจ้างสามารถไปยื่นขอรับใบอนุญาตขอทำงาน แทนคนต่างด้าวของตนได้ที่สำนักงานจัดหางานที่สะดวก

    นายจ้างยื่นขออนุญาตทำงานแทนแรงงานต่างด้าวของตนใช้เอกสารดังนี้

    • แบบคำขอรับใบอนุญาตทำงาน ( แบบ ตท. 2 )
    • หนังสือรับรองการจ้าง
    • สำเนาหนังสือเดินทาง
    • บัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว ( Name List) ในนั้นจะระบุด่านที่จะเดินทางเข้ามา ว่ามาไทยทางด่านไหน
    • สัญญาจ้างแรงงานต่างด้าว
    • หากนายจ้างไม่ได้มายื่นขอด้วยตนเองจะต้องใช้ หนังสือมอบอำนาจ ของนายจ้างพร้อมสำเนาบัตร ทั้งผู้มอบ ผู้รับมอบด้วย หากเป็นนิติบุคคลจะต้องแนบสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรกรรมการผู้มีอำนาจมาด้วย ผู้รับมอบหากเป็นพนักงานจะต้องแนบสำเนาการเป็นพนักงานบริษัทนั้น ๆ มาด้วย

    อาจเหมือนรายละเอียดเยอะไปหมด แต่จริง ๆ ก็ไม่มีอะไรมากเตรียมเอกสารเพียงไม่กี่อย่างให้ครบและทำตามขั้นตอน ก็สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานด้วยได้แล้ว นายจ้างทุกคนสบายใจได้เลยหากทำทุกอย่างตามที่กฎหมายแรงงานต่างด้าวกำหนดเอาไว้ แน่นอนว่าการยื่นขอใบอนุญาตนั้นมีเสียเงินบ้างเป็นค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    ค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานต่างด้าว

    ค่าคำขอ 100 บาท/คำขอ ค่าธรรมเนียมการทำงานคนต่างด้าวอาชีพรับจ้างทำงานในบ้านและกรรมกร จะมีค่าใบอนุญาตที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน 225 บาท/ฉบับ ใบอนุญาตที่มีอายุเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน 450 บาท/ฉบับ หรือใบอนุญาตที่มีอายุเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี 900 บาท/ฉบับ หรือใบอนุญาที่มีอายุเกิน 1 ปี เพิ่มขึ้นตามอัตราใน 3 อย่างแรกที่กล่าวมา ตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวจะต้องให้แรงงานที่เข้ามารับการตรวจลงตราอนุญาตให้เข้ามาในไทย ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เมื่อเข้ามาในไทยแล้วจะต้องเข้ารับการอบรมก่อนไปเริ่มงานและรับใบอนุญาตทำงาน ที่ ศูนย์แรกรับเข้าทำงาน ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จากนั้นนายจ้างต้องแจ้งการพำนักภายใน 15 วันที่สำนักงานจัดหางานที่สะดวก อย่าลืมพาแรงงานของตนไปตรวจสุขภาพด้วยเพราะต้องใช้ใบรับรองส่งให้กับทางสำนักงานจัดหางาน

    การยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวต้องใช้เอกสารดังนี้

    • คำขอและใบเสร็จที่เราจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน
    • หนังสือเดินทาง การตรวจลงตรา วีซ่า พร้อมสำเนา
    • ใบรับรองแพทย์ที่ไม่เกิน 6 เดือน

    เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในธุรกิจด้วยแบบถูกกฎหมายแรงงานต่างด้าวแล้ว เป็นสิ่งที่นายจ้างทุกคนจะต้องรู้ เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง เพราะมีหลายที่เลี่ยงการรายงานตัวแรงงาน ไม่ยอมทำตามกฎก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายไปมหาศาลเลย

    บทสรุป

    กิจการไหนหรือใครที่ต้องการแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานด้วย จะต้องทำตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามขั้นตอน และอย่าลืมที่จะพาแรงงานของตนไปรายงานตนต่ออายุวีซ่าเมื่อถึงเวลา ก่อนจะหาแรงงานจะต้องรู้ประเภทของแรงงานที่ตรงกับความต้องการของตนเองก่อน จากนั้นค่อยเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการขออนุญาตต่อไป และเมื่อมีคนต่างด้าวมาทำงานด้วย จะต้องให้ความดูแลอย่างดี ไม่ควรเอาเปรียบ จ่ายค่าแรงตามที่กฎหมายกำหนดและให้ทำงานตามที่เหมาะสม เพราะไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนทุกคนก็ต่างดิ้นรน พวกเขามาทำงานในไทยต่างก็หาเลี้ยงชีพเลี้ยงครอบครัว แรงงานต่างด้าวทุกคนต่างหวังว่าจะได้อยู่กับนายจ้างที่ดี📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ