เปิดคลินิก ต้องเริ่มต้นอย่างไร เรามีคำตอบ

เปิดคลินิก

ในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับสถานพยาบาลนอกจากโรงพยาบาลกับสถานพยาบาลเวชกรรมแล้ว การเปิดคลินิกก็เป็นอีกรูปแบบของสถานพยาบาลที่ผู้คนเลือกใช้บริการ เนื่องจากสถานพยาบาลประเภทนี้มักจะรับรักษาเฉพาะทาง และไม่ต้องอิงตามเวลาราชการ จึงเป็นทางเลือกสำคัญสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ด้วยเหตุนี้สถานพยาบาลที่มีลักษณะเป็นคลินิกจึงมีจดทะเบียนธุรกิจอยู่เรื่อย ๆ แต่ลำพังว่ามีงบประมาณในการจัดตั้งก็เป็นเพียงเงื่อนไขรองลงมาเท่านั้น หากดำเนินการเกี่ยวกับจดทะเบียนเพื่อก่อตั้งคลินิกอย่างถูกกฎหมายไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถเปิดคลินิกได้ ซึ่งคนที่กำลังวางแผนจะเปิดคลินิกต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างนั้น ทางเราจึงนำสาระที่เกี่ยวข้องมาแนะนำท่าน

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    ขั้นตอนการยื่นเรื่องขอ เปิดคลินิก

    1. รวมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยื่นที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบ 

    – คลินิกที่เปิดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นเอกสารกับสำนักพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

    – คลินิกที่เปิดในพื้นที่ต่างจังหวัด ให้ยื่นเอกสารกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

    1. หลังจากยื่นเอกสารแก่เจ้าหน้าที่แล้ว ต้องรอการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร 
    2. เมื่อการตรวจเอกสารผ่านแล้ว จะได้รับใบตรวจซึ่งจะเป็นการกำหนดวันเพื่อเข้าตรวจคลินิกที่จะเปิดทำการ

    ในวันที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสถานพยาบาล บุคคลที่เป็นผู้ขอรับใบอนุญาต เปิดคลินิก ผู้ดำเนินการเกี่ยวข้องกับสถานพยาบาลดังกล่าวต้องอยู่ครบตามจำนวนรายชื่อที่แจ้งไป หากผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถมาในวันนั้นได้จะต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาแทนในวันดังกล่าวให้เรียบร้อย

    1. เมื่อขั้นตอนตรวจสถานพยาบาลเสร็จสิ้น และมีการประเมินมาตรฐานครบถ้วนแล้ว ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องทำป้ายชื่อคลินิกพร้อมระบุเลขที่ใบอนุญาตให้ชัดเจน แล้วถ่ายภาพประกอบกับเอกสารที่จะยื่นในขั้นตอนสุดท้าย พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียม โดยรายละเอียดของค่าธรรมเนียมเราจะพูดถึงในลำดับถัดไป

    เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นเพื่อขอ เปิดคลินิก

    1. แบบฟอร์ม ส.พ. 1, ส.พ. 2, ส.พ. 5, ส.พ. 6, ส.พ. 18 ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน 
    2. ใบรับฝากขยะติดเชื้อที่ลงนามตอบรับจากหน่วยงานที่กำจัดขยะแล้ว
    3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอประกอบกิจการสถานพยาบาล
    4. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
    5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอประกอบกิจการสถานพยาบาล
    6. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ / ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะของผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
    7. ใบรับรองแพทย์ผู้ขอประกอบกิจการสถานพยาบาล ไม่ควรมีอายุเกิน 6 เดือน
    8. ใบรับรองแพทย์ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ไม่ควรมีอายุเกิน 6 เดือน
    9. รูปถ่ายของผู้ดำเนินการสถานพยาบาลขนาด 2.5x3 ซม จำนวน 3 รูป ควรเป็นรูปที่ถ่ายที่ไม่เกิน 1 ปี
    10. รูปถ่ายของผู้ดำเนินการสถานพยาบาลขนาด 8x13 ซม จำนวน 1 รูป ควรเป็นรูปที่ถ่ายที่ไม่เกิน 1 ปี
    11. แผนผังภายในสถานพยาบาล
    12. แผนที่แสดงที่ตั้งสถานพยาบาลอย่างชัดเจน
    13. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานพยาบาล
    14. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ โฉนดที่ดิน ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นเจ้าของที่ดิน หากเป็นผู้เช่าพื้นที่ก็ต้องแนบสัญญาเช่ามาด้วย พร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า
    15. ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล ต้องแนบหนังสือรับรองนิติบุคคล สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล
    16. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ / ใบประกอบโรคศิลปะ ทั้งเอกสารตัวจริงและแบบสำเนา
    17. สำหรับสถานพยาบาลที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบเฉพาะทาง จะต้องแนบเอกสารรับรองมาตรฐานมาด้วย

    ค่าธรรมเนียมสำหรับการยื่นเรื่องขอ เปิดคลินิก

    ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวของกับการยื่นเรื่องขอ เปิดคลินิก แบบเบ็ดเสร็จทั้งสิ้น 1,250 บาท แต่ค่าธรรมเนียมดังกล่าวนี้ท่านจะได้ชำระก็ต่อเมื่อขั้นตอนยื่นเอกสาร ตรวจสถานที่ และได้รับเลขที่ใบอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยค่าธรรมเนียมที่ว่านี้แบ่งออกมาเป็น 2 ส่วน คือ

    – ค่าธรรมเนียมในอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล เป็นเงิน 1,000 บาท

    – ค่าธรรมเนียมในอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล เป็นเงิน 250 บาท

    นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมในข้างต้น  การดำเนินการสถานพยาบาลจะต้องชำระค่าธรรมเนียมประจำปีด้วย โดยระบุอัตราการชำระเอาไว้ที่ปีละ 500 บาท มีช่วงเวลายื่นชำระระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคมของทุกปี หากชำระไม่ตรงตามช่วงเวลาที่กำหนดก็จะต้องเสียค่าปรับล่าช้าเดือนละ 25 บาท 

    ระหว่างการดำเนินการสถานพยาบาล เจ้าของผู้ขอยื่นเรื่อง เปิดคลินิก จะต้องทำการต่ออายุใบอนุญาตทั้ง 2 ประเภทที่ได้รับมา โดยมีข้อกำหนดเอาไว้ว่า

    – ต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลทุก 2 ปี โดยมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระครั้งละ 250 บาท 

    – ต่ออายุใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลทุก 10 ปี ค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระครั้งละ 1,000 บาท

    คลินิกที่ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลได้

    1. คลินิกเวชกรรม โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชรกรรม ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีเขียว
    2. คลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากแพทยสภา ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีเขียว
    3. คลินิกทันตกรรม โดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีม่วง
    4. คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากทันตแพทยสภา ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีม่วง
    5. คลินิการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ยกเว้น ทำคลอด ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีฟ้า
    6. คลินิกกายภาพบำบัด โดยผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขากายภาพบำบัด ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีชมพู
    7. คลินิกเทคนิคการแพทย์ โดยผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์ ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีเลือดหมู
    8. คลินิกการแพทย์แผนไทย โดยผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีน้ำเงิน
    9. คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีน้ำตาล
    10. สหคลินิก โดยผู้ประกอบวิชาชีพจาก 1 ใน 9 ประเภท ดำเนินกิจการพร้อมกันตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป ภายในสถานพยาบาลเดียวกัน ป้ายชื่อสถานพยาบาลใช้ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีเขียวแก่

    เงื่อนไขในการตั้งชื่อสถานพยาบาล

    การตั้งชื่อคลินิกจะต้องมีคำแสดงลักษณะของสถานพยาบาลนำหน้าหรือต่อท้ายชื่อคลินิก เช่น คลินิกทันตกรรมยิ้มหวาน หรือ นางฟ้าคลินิกทันตกรรม เป็นต้น ซึ่งชื่อไม่สามารถครีเอทได้มากนัก

    – ต้องไม่ใช้คำที่ทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความเข้าใจผิด หรือบิดเบือนจุดประสงค์การดำเนินงานของสถานพยาบาล

    – ต้องเป็นชื่อที่ไม่พาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ยกเว้น ว่าได้รับพระราชานุญาตให้ชื่อนั้นได้ สำหรับในเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมากทีเดียว ผู้ประกอบการต้องทราบ

    – คลินิกที่เปิดทำการในพื้นที่เดียวกันห้ามใช้ชื่อสถานพยาบาลซ้ำกัน ยกเว้น ว่าเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตคนเดียวกัน หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ได้รับอนุญาตก่อนหน้ามาแล้ว

    – สำหรับคลินิกเกี่ยวกับโรคศิลปะ 7 สาขา จะต้องระบุคำว่า คลินิกการประกอบโรคศิลปะ แล้วจึงตามชื่อสาขาของการประกอบโรคศิลปะ เช่น คลินิกการประกอบโรคศิลปะกายภาพบำบัด คลินิกการประกอบโรคศิลปะรังสีเทคนิค เป็นต้น 

    – ในส่วนของการ เปิดคลินิก เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยประยุกต์ จำเป็นต้องมีคำระบุลักษณะคลินิกว่า คลินิกการแพทย์แผนไทย (การแพทย์แผนไทยประยุกต์) 

    เรียกได้ว่าการที่จะ เปิดคลินิก นอกจากจะต้องมีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดำเนินกิจการแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการระบุประเภทการรักษาให้ชัดเจน ไม่สามารถครีเอทอะไรได้มากนัก ที่สำคัญคลินิกที่น่าเชื่อถือจะต้องมีใบอนุญาตติดใส่ในกรอบไว้ภายในคลินิกด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยและคนที่เข้ามารับบริการ

    บทสรุป

    จากข้อมูลข้างต้นคงจะทำให้เราได้ทราบแล้วว่าการ เปิดคลินิก มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง อีกทั้งจะต้องเตรียมเอกสารอะไรไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่บ้าง สำหรับแพทย์หรือผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้อยู่แล้วก็จะทราบดีและไม่ใช่เรื่องยากเลย ซึ่งขั้นตอนทุกอย่างมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกหลายอย่างที่เราไม่ได้ยกมาพูดในครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ดีข้อมูลชุดนี้ที่เราได้เรียบเรียงมาคงจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการเตรียมตัวของท่านได้อย่างแน่นอน หากดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นแล้วการเปิดสถานพยาบาลก็จะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป ในท้ายที่สุดนี้ก็เพียงหวังว่าการยื่นเรื่องของท่านจะเป็นไปอย่างราบรื่น📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนหจก.ดีที่สุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ