กฎหมาย PDPA คืออะไร บทความนี้เข้าใจง่ายที่สุด

กฎหมาย PDPA

หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวการดำเนินการทางกฎหมายหรือฟ้องร้องเพื่อรักษาสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวให้พ้นจากการละเมิดสิทธิ์ในต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นประชาชนคนธรรมดาหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงก็ตาม ต่างก็ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายในประเทศนั้น ๆ ที่เห็นความสำคัญของสิทธิส่วนบุคคลนี้ด้วยกันทั้งสิ้น ด้วยกฎหมายในต่างประเทศที่เห็นได้ชัดและถูกยกเป็นตัวอย่างของเรื่องนี้คือกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของ กฎหมาย PDPA” ของไทย ซึ่งกฎหมายนี้คือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 อย่างเป็นทางการ เพื่อคุ้มครองป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนคนไทยที่มีความละเอียดอ่อนและอาจจะเกิดความเสียหายได้ในอนาคต ซึ่งไม่ได้คุ้มครองเพียงแค่ข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญของคนใดคนหนึ่งเท่านั้นแต่ยังคุ้มครองไปถึงข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ  อาทิเช่น ภาพถ่าย ชื่อเล่น ประวัติการดูแลสุขภาพหรือความชอบต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรใดก็ตามที่มีความประสงค์จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนี้ไว้จะต้องชี้แจงและขออนุญาตต่อผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ๆ ทุกครั้ง เพื่อเป็นการขออนุญาตต่อเจ้าของข้อมูลอย่างเป็นทางการ ตลอดจนเป็นการแจ้งต่อบุคคลนั้น ๆ ว่าในปัจจุบันผู้จัดเก็บข้อมูลได้ทำการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของบุคคลนี้ไว้ และในอนาคตหากผู้เป็นเจ้าของข้อมูลมีความประสงค์จะให้ลบหรือเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ ก็จะสามารถทำได้โดยอาศัยสิทธิ์ของกฎหมาย PDPA ที่คุ้มครองประชาชนคนนั้นอยู่นั่นเอง

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    ปัญหาที่พบได้บ่อยของคนไทยและเกี่ยวข้องกับกฎหมาย PDPA

    เราเชื่อว่าในหลายคนที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองอยู่เป็นประจำ ต้องเคยได้ยินปัญหาการโจรกรรมข้อมูลอันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้โชคร้ายบางรายโดนล้วงข้อมูลสำคัญไป จนเกิดการสูญเสียทรัพย์สินไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากนี้อีกปัญหาที่ยังคงรบกวนประชาชนคนไทยอย่างต่อเนื่องนั่นก็คือปัญหา call center ปลอม ที่จะทำการโทรศัพท์หรือทำเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งและนำข้อมูลเหล่านั้นไปปลอมแปลง ตลอดจนเพื่อถอนเงินจากบัญชีธนาคารจนหมดสิ้น โดยนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า อาจจะมีบางองค์กรที่จัดเก็บข้อมูลของลูกค้าพนักงานหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเอาไว้อย่างไม่ปลอดภัย จนทำให้นักโจรกรรมข้อมูลสามารถเข้าถึงรายละเอียดที่เปราะบางเหล่านั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่พักอาศัย หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัญชีธนาคาร อีเมล ลายนิ้วมือ ตลอดจนบัญชีเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งหากข้อมูลเหล่านี้ไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี แน่นอนว่ามันจะกลายเป็นหายนะที่รุนแรงและร้ายแรงเกินกว่าจะแก้ไขในที่สุด ซึ่งการผลักดันกฎหมาย PDPA ได้สำเร็จ จะกลายเป็นความหวังของหลาย ๆ คนที่รัฐจะช่วยคุ้มครองและป้องกันปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เคยเกิดขึ้นในอดีตให้ทุเลาเบาบางจนหมดไปได้ในอนาคต

    ผลกระทบของ PDPA ต่อองค์กรและหน่วยงานอื่น ๆ

    แน่นอนว่าหลังจากที่กฎหมายใหม่อย่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ถูกอนุมัติและประกาศอย่างเป็นทางการ ทำให้บริษัท องค์กรหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเอาไว้ทั้งองค์กรทางการเงิน ห้างร้าน สื่อมวลชน หน่วยงานของทางภาครัฐ มีความตื่นตัวและต้องปรับตัวอยู่พอสมควร นอกจากนี้หน้าที่อีกส่วนหนึ่งของผู้จัดเก็บข้อมูลที่ต้องนำไปพิจารณาเพิ่มเติมนั่นก็คือในฐานะของผู้ประกอบการของบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ควรพิจารณาแนวทางอื่น ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญของผู้รับบริการ พนักงานลูกจ้างหรือประชาชนทั่วไปเอาไว้อย่างปลอดภัยให้มากที่สุด ทั้งนี้อีกเรื่องที่จะต้องปรับปรุงและนำไปใช้ให้เร็วที่สุดนั่นก็คือวิธีการสื่อสารระหว่างเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและผู้จัดเก็บข้อมูลเพื่อทำให้ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลรับทราบว่าบริษัทหรือหน่วยงานใดที่จัดเก็บข้อมูลส่วนตัวนั้นไว้ โดยในอนาคตสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลจะสามารถขอตรวจสอบรายละเอียดเหล่านั้นตลอดจนอาจจะขอเพิกถอนข้อมูลต่าง ๆ ออกไปในภายภาคหน้าก็เป็นได้

    ข้อดีที่จะเกิดขึ้นหลังจากมีการประกาศใช้กฎหมาย PDPA

    หลังจากที่คุณผู้อ่านได้ทราบถึงที่มาของกฎหมาย PDPA และผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่องค์กรหรือผู้จัดเก็บข้อมูลจะต้องปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูลของบุคคลนั้น ๆ ให้ดีที่สุด นอกจากนี้หน่วยงานต่าง ๆ ยังต้องพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพเพื่อแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ทราบถึงความเป็นไปของข้อมูลที่ละเอียดอ่อนทุกครั้งที่มีการบันทึกข้อมูลด้วย หลังจากนี้เราจะมาดูกันว่าเมื่อมีการประกาศใช้กฎหมาย PDPA  อย่างเป็นทางการในประเทศไทยแล้ว พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะมีข้อดีอย่างไรต่อประชาชนคนไทยบ้าง ซึ่งคุณผู้อ่านจะสามารถศึกษาข้อดีเหล่านั้นได้จากหัวข้อย่อยในบทความนี้

    1. ถือเป็นการบังคับให้องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในการรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้กฎหมายเข้ามาเป็นข้อบังคับสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องและปลอดภัยเสมอ
    2. ถือเป็นการพัฒนาระบบต่าง ๆ ของทุก ๆ หน่วยงานให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เพราะการจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญในแต่ละองค์กรนั้นเป็นการสะท้อนถึงภาพลักษณ์และการรักษาความปลอดภัยขององค์กรนั้น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยจะเห็นได้จากกรณีศึกษาของหน่วยงานทางการเงินหากปรากฏว่ามีการโจรกรรมข้อมูลจนทำให้ลูกค้าได้รับผลกระทบต่อทรัพย์สินที่ได้ฝากเอาไว้ มันจะกลายเป็นภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยที่ล้มเหลวและร้ายแรง   ดังนั้นกฎหมาย PDPA  จึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ พัฒนาระบบงานของตนเองให้ดีเยี่ยมและไร้ช่องโหว่ให้มากที่สุด 
    3. การเกิดขึ้นของกฎหมาย PDPA  ถือเป็นการบังคับให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายในรูปแบบนี้ ได้เกิดขึ้นในประเทศที่เจริญแล้วหรือประเทศที่มีกฎหมายเข้มงวด ในเรื่องของการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งภาครัฐผลักดันเพื่อทำให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั่นเอง 
    4. กฎหมาย PDPA จะช่วยลดความเสี่ยงจากภัยอันตรายบนโลกออนไลน์ได้ ซึ่งหากมองในโลกของความเป็นจริงเราจะเห็นได้ว่าคนไทยหลายคนประสบปัญหาในเรื่องของ call center เถื่อน ที่โทรศัพท์เข้ามารบกวนหรือคุกคามในด้านอื่น ๆ อย่างอุกอาจ เพื่อทำการล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีอยู่ในโลกไซเบอร์  โดยกฎหมายชนิดนี้จะมีส่วนสำคัญในการจัดการและระบุโทษต่อผู้ที่กระทำผิดได้อย่างถูกต้องมากที่สุด 
    5. การเกิดขึ้นของกฎหมาย PDPA  จะสร้างแรงกระเพื่อมในสังคม โดยทำการประกาศบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการเพื่อให้ผู้ที่กำลังจะกระทำผิดได้ตระหนักรู้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและสร้างความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่นนอกจากนี้ การมีขึ้นของกฎหมาย PDPA ถือเป็นส่วนกระตุ้นให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลเอาไว้อย่างปลอดภัย ตลอดจนรับทราบในสิทธิต่าง ๆ ที่ตนเองพึงมี ซึ่งจะสามารถปกป้องและป้องกันการบังคับเอาข้อมูลไปโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย 

    อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียของ PDPA  ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับตัวขนาดใหญ่ของหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลซึ่งบางท่านอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ทำให้เสียเวลาจนกระทบต่อการปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้เมื่อเอ่ยถึงข้อบังคับทางกฎหมายบางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากหรือใช้ศัพท์เฉพาะบางอย่างที่เป็นคำเฉพาะทาง จึงค่อนข้างปิดการรับรู้และไม่เปิดใจรับฟังจนอาจเป็นชนวนเหตุของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย PDPA  ได้

    บทสรุป

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ
    รับทำบัญชี
    เราคิดราคาในเรทความจริง
    พร้อมครบจบในทุกปัญหา
    1900 .-

    เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลของกฎหมาย PDPA ที่ถูกบังคับใช้ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลของบุคคลอื่นเอาไว้ให้มีความปลอดภัยและรัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนที่ถูกคุ้มครองจากกฎหมายนี้อย่างเข้มแข็ง อย่างไรก็ตามการมีขึ้นของกฎหมาย PDPA ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของของประชาชนซึ่งมีความละเอียดอ่อนและสำคัญมากที่สุดด้วย📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™