ผู้เข้าอ่านบทความนี้ คงจะคุ้นหูกับการกล่าวถึงการเสียภาษีในวาระต่างๆ มาไม่มากก็น้อย เชื่อว่าแม้จะมีบุคคลหลายกลุ่มที่รู้จักการเสียภาษีเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันบุคคลบางกลุ่มอาจจะขาดความเข้าใจในสาระข้อนี้ไป ฉะนั้น เพื่อเป็นการเริ่มต้นการทำความเข้าใจในกระบวนการเสียภาษีอย่างง่ายที่สุด จึงขอสังเขปข้อมูลเอามาให้ท่านได้ศึกษาเป็นเบื้องต้นก่อนที่จะนำสู่รายละเอียดที่ลึกลงไปอีก โดยในกระบวนการเสียภาษีจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ “ผู้เสียภาษีอากร” ประเภทการเสียภาษี และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
ผู้เสียภาษีอากร คืออะไร
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบการเสียภาษีจะถูกจัดเก็บและดูแลในระบบของกรมสรรพากรโดยตรง ซึ่งอันดับแรกในกระบวนการเสียภาษีที่ต้องทำความรู้จักคือผู้เสียภาษีอากร โดยบุคคลที่กล่าวถึงนี้เป็นบุคคลที่ต้องทำหน้าที่ยื่นเรื่องและชำระภาษีตามข้อกำหนดของกฎหมาย และการเสียภาษีจะจำแนกลักษณะการเก็บภาษีไปตามประเภทของผู้เสียภาษีอากร ซึ่งเราจะพูดถึงประเภทของภาษีอากรที่จะต้องถูกชำระเข้าระบบในลำดับถัดไป
ลักษณะของภาษีที่ถูกเก็บเข้าระบบของสรรพากร
จากที่กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้านี้ว่าการเสียภาษีจะจำแนกลักษณะการเก็บภาษีไปตามประเภทของผู้เสียภาษีอากร แม้ว่าการภาษีที่ถูกชำระเข้าไปในระบบเดียวกันแต่ก็มีรูปแบบการเก็บภาษีแตกต่างกันไป เนื่องจากแหล่งที่มาของภาษีมีหลายประเภท การจะเรียกเก็บในรูปแบบเดียวกันทั้งหมดอาจจะเป็นไปอย่างลำบาก ดังนั้นในหัวข้อนี้จะมาพูดถึงลักษณะแหล่งของภาษีที่ถูกเก็บเข้าระบบของสรรพากร โดยลักษณะการเก็บภาษีที่เห็นอย่างปกติในชีวิตประจำวันของเรานั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
- ภาษีบุคคลธรรมดา ในบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ตั้งแต่ 150,000 บาทขึ้นไป ต้องยื่นเรื่องเพื่อเสียภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป ซึ่งภาษีที่ผู้เสียภาษีอากร จะต้องชำระนั้นมาจากการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ ออกจากเงินรายได้ที่รับมา เหลือจำนวนสุทธิเท่าไหร่แล้วจึงนำไปคำนวณเป็นตัวเลขภาษีที่ผู้เสียภาษีอากร จะต้องทำการชำระเข้าระบบต่อไป ซึ่งการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะใช้จำนวนรายได้เป็นฐานในการเก็บเงินภาษี ดังนั้น หากท่านมีรายได้มากก็จะต้องเสียภาษีมากตามไปด้วยเพราะภาษีดังกล่างเป็นแบบอัตราก้าวหน้า
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีในกลุ่มนี้เป็นหน้าที่ของนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทและห้างหุ้นส่วนจะต้องทำการยื่นเรื่องและเสียภาษี โดยภาษีที่ต้องชำระเข้าระบบจะคำนวณจากฐานกำไรสุทธิที่ผู้เสียภาษีอากร ได้รับในระยะเวลาเก็บภาษี แต่อาจจะมีการยกเว้นการเก็บภาษีบางกรณีในกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บทางอ้อมโดยผู้เสียภาษีอากร ลักษณะนี้จะจ่ายภาษีออกไปผ่านการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยตัวภาษีจะถูกบวกเข้าไปในราคาซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่างๆ และภาษีเหล่านั้นจะถูกเก็บเข้าระบบสรรพากรเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งตัวเลขภาษีมูลค่าเพิ่มถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จที่ท่านจะได้รับหลังจากการซื้อผลิตภัณฑ์ ในปัจจุบันภาษีลักษณะนี้มีอัตราการเก็บภาษีอยู่ที่ร้อยละ 7
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีสำคัญอย่างไร
ในกระบวนการเสียภาษีสิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้อีกอย่างหนึ่งคือเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยจัดการให้ระบบการเสียภาษีเป็นไปโดยสะดวก รวมถึงการจัดเก็บและการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เสียภาษีอากร สามารถทำได้โดยง่าย แต่กระนั้นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ได้มีรูปแบบเดียว ยังจำแนกออกไปตามประเภทของผู้เสียภาษีอีกด้วย ซึ่งเราสามารถประเภทของเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้ ดังนี้
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดา ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นเพียงบุคคลธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนในนามบริษัท สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลักแทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้เลย
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล บุคคลในกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องติดต่อขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจากกรมสรรพากร
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคล สำหรับบุคคลในกลุ่มนี้จะต้องขอขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อขอรับเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
จุดประสงค์ในการเก็บภาษี
เป็นที่ทราบกันเบื้องต้นอยู่แล้วว่าภาษีเป็นรายได้หนึ่งที่หมุนเวียนอยู่ในระบบการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ แต่เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น จึงจะสรุปจุดประสงค์ในการเรียกเก็บภาษีในรูปแบบต่างๆ จากประชากรภายในประเทศมาให้ท่านได้ทราบและเพื่อช่วยให้ได้ทำความรู้จักการเสียภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งจุดประสงค์หลักของการเก็บภาษีที่พอจะสังเขปมาได้มีอยู่ 3 ข้อ ดังนี้
- เป็นหารายได้เข้าส่วนกลางของรัฐเพื่อนำไปใช้จ่ายในกิจการที่ขับเคลื่อนอยู่ภายในประเทศ อย่างกิจการการศึกษา หรือสาธารณูปโภคต่างๆ รวมไปถึงเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยภายในประเทศ
- เป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้และทรัพย์สิน โดยจะเกี่ยวเนื่องกับการจัดการเกี่ยวกับภาษีทรัพย์สินหรือภาษีมรดกของประชาชน
- เพื่อรักษาความเสถียรของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการรับภาวะเงินเฟ้อ หรือรับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ส่งผลเกี่ยวกับการใช้เงินของประชาน รวมไปถึงสถานการณ์การว่างงานของประชาชน
รู้หรือไม่ ท่านสามารถลดหย่อนภาษีได้
ในแต่ละปีผู้เสียภาษีอากร ต้องยื่นเสียภาษีจำนวนมากต่อปี และท่านอาจจะได้ทราบถึงการลดหย่อนภาษีไปบ้างแล้ว แต่อาจจะไม่ทราบทั้งหมดว่าสามารถลดหย่อนภาษีจากอะไรได้บ้าง เพราะการขอลดหย่อนภาษีจะช่วยให้ท่านจ่ายภาษีต่อปีได้น้อยลงนั่นเอง และสิทธิ์การลดหย่อนภาษีก็อยู่ในข้อกำหนดของกรมสรรพากรอยู่แล้ว ซึ่งได้รวบรวมมาไว้ให้ท่านได้พิจารณาแล้ว ดังต่อไปนี้
– เพียงเป็นผู้มีเงินได้ สามารถลดหย่อน 60,000 บาท ใช้ลดหย่อนได้เลยเพียงแค่เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเท่านั้น
– ทำประกันสังคมสามารถลดหย่อนได้เต็มจำนวน โดยสามารถนำจำนวนเบี้ยประกันสังคมมายื่นของลดภาษีได้ซึ่งลดหย่อนได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายไป
– ทำประกันชีวิตสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท แต่ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
– สมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถขอลดหย่อน 15% ของเงินได้ โดยจำนวนที่เราสมทบเข้ากองทุนสามารถนำไปขอลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10,000 บาท แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ต่อปี
– อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามารถลดหย่อนได้ 30,000 บาท
– กู้เงินซื้อ/สร้างบ้าน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท สามารถนำดอกเบี้ยชำระทั้งหมดต่อปีไปขอลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
– อุปการะเลี้ยงดูบุตร สามารถลดหย่อนได้ 30,000 บาท
– ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว สามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ หากท่านลงทุนอยู่ในกองทุนทั้ง 2 กองทุนนี้อยู่ จะได้รับการยกเว้นภาษีเท่าที่จ่ายไป แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้
– ท่องเที่ยวในประเทศ 55 จังหวัดเมืองรอง สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศดังนั้นค่าใช้จ่ายระหว่างท่องเที่ยว เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก นำมาขอลดหย่อนภาษีได้
– ร่วมบริจาคสนับสนุนการศึกษา สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้
บทสรุป
จากที่กล่าวไปแล้วในเบื้องต้น จะให้เห็นได้ว่าพวกเราในฐานะประชากรของประเทศมีบทบาทในการช่วยขับเคลื่อนประเทศอย่างเต็มที่ ซึ่งบทบาทนั้นคือการเป็นผู้เสียภาษีอากร ผู้มีหน้าที่ยื่นชำระภาษีทางตรงจากการคำนวณรายรับต่อปี และสนับสนุนกิจการของรัฐผ่านการจ่ายภาษีทางอ้อมในรูปแบบของภาษีมูลค่าเพิ่มจากการจับจ่ายสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง เพราะในการดำเนินกิจการต่างๆ ของประเทศก็ต้องมีค่าใช้จ่ายมหาศาล ฉะนั้น การเรียกเก็บภาษีเข้าส่วนกลางให้รัฐนำไปใช้พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ แม้ว่ารัฐจะสามารถหารายได้จากกิจการของตนเองได้แต่อาจยังไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงถือเป็นหน้าที่สำคัญของประชากรของประเทศที่สามารถช่วยกันได้จากการเสียภาษี📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนหจก.ดีที่สุด™