บุคคลธรรมดาหรือจดทะเบียนบริษัทจำกัด จะต้องมีการเสียภาษีไม่ว่ารูปแบบใดก็แบบหนึ่ง เวลาเราซื้อของก็ต้องเสียไปพร้อมกันอยู่แล้วและอีกหนึ่งภาษีที่ทุกคนที่มีรายได้ต้องจ่ายคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีรายได้เกิน 120,000 บาทจะต้องเสียภาษี หากมีคู่สมรสรายได้รวมกันเกิน 220,000 บาทก็ต้องเสียภาษี แต่ถ้าไม่อยากจะเสียเยอะก็มีหลายช่องทางเป็น “ค่าลดหย่อนภาษี” ได้ ซึ่งทำให้เราไม่ต้องจ่ายเต็ม แต่คนที่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ต้องยื่นภาษีด้วยเหมือนกัน
ค่าลดหย่อนภาษีหมายถึงอะไร
อัตราการเสียภาษีนั้นก็คิดตามสัดส่วนของรายได้ที่มี ว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ต่อปีหากเข้าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดที่จะต้องเสียภาษีก็ต้องจ่าย ซึ่งค่าลดหย่อนภาษีนั้นจะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่เป็นตัวลดหย่อนให้เราไม่ต้องจ่ายเต็มนั่นเอง ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ทำให้เราจ่ายน้อยลงเมื่อคำนวณภาษีบางกรณีก็ทำให้เราได้เงินคืนภาษีด้วย บางคนก็ได้คืนภาษีมาเยอะเลยซึ่งก็ดีกว่าปล่อยไว้ ทำให้เราได้เงินคืนมาใช้จ่ายอีกด้วย
สิ่งที่จะมาช่วยเป็นค่าลดหย่อนภาษีนั้นก็มีหลายอย่างเลย ในแต่ละปีภาษีนั้นทุกคนสามารถค้นหาข้อมูลได้ว่ามีอะไรบ้างที่มาเป็นตัวช่วยลดหย่อนได้ เช่น ประกันชีวิตบางกรมธรรม์ การมีครอบครัว มีคู่สมรส การซื้อของบางอย่าง การซื้อกองทุนรวม เป็นต้น แล้วคุณมีอะไรที่จะมาช่วยในการลดหย่อนแล้วหรือยัง ? ซึ่งค่าลดหย่อนนั้นก็ไม่ได้มีค่าในประมวลรัษฎากรเท่านั้นแต่ก็กระจายไปตามกฎหมายลูกหลานด้วยเหมือนกัน
รายการที่ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว
จะเป็นการลดหย่อนภาษีแบบเหมาะ อยู่ที่ 60,000 บาท/ปี ซึ่งจะใช้ได้สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีทุกคนเลย เป็นค่าลดหย่อนที่เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 47(1)(ก) ประมวลรัษฎากร, พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส
ในกรณีนี้สำหรับคนที่จะต้องดูแลคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ซึ่งเป็นการลดหย่อนแบบเหมาอยู่ที่ 60,000 บาท/ปี สำหรับการลดหย่อนคู่สมรสเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ว่าในกรณีนี้ให้หักค่าลดหย่อนภาษีสำหรับคู่สมรสได้สูงสุดแค่คนเดียวเท่านั้น การที่จะใช้สิทธิลดหย่อนข้อนี้คือ คู่สมรสต้องไม่มีรายได้ และต้องมีคู่สมรสในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษี
3. ค่าลดหย่อนบุตร
หากมีบุตรก็นำมาลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน ซึ่งเอามาลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท/ปี หากมีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่ชอบด้วยกฎหมายเกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนี้จะเอามาลดหย่อนลูกตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปได้คนละ 60,000 บาท/ปีเลย เป็นค่าลดหย่อนภาษีบุตรเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ว่าลูกจะต้องอยู่ในความดูแลด้วยนะ สำหรับคนที่มีบุตรบุญธรรมก็นำไปลดหย่อนได้เช่นกัน ได้สิทธิ์ลดคนละ 30,000 บาทได้สูงสุด 3 คน แต่ถ้าหากมีทั้งบุตรของตนและบุตรบุญธรรมก็นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตตามลำดับอายุสูงสุดของบัตร ซึ่งหากครบ 3 คนแล้วก็ไม่ต้องนับรวมบุตรบุญธรรม
4. ค่าลดหย่อนบิดามารดา
สำหรับคนที่ต้องเลี้ยงดูบิดา มารดาด้วยนั้นสามารถนำมาลดหย่อนได้แบบเหมาะต่อพ่อหรือแม่ 1 คนได้ คนละ 30,000 บาท/ปี หากพวกเขาเสียชีวิตระหว่างปีภาษีก็ยังนำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ในปีภาษีเหมือนกัน ซึ่งลดหย่อนได้สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และสามารถนำไปหักได้สูงสุด 4 คนเท่านั้น
แต่ว่าจะต้องเป็นการใช้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่เป็นรายปีไป ยกตัวอย่างหากในปีก่อนนั้นน้องได้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อ ปีต่อไปก็เปลี่ยนมาเป็นเราที่ใช้สิทธิ์พ่อแทนได้เหมือนกัน แต่ว่าจะนำไปลดหย่อนพร้อมทั้ง 2 คนพี่น้องเลยไม่ได้ แต่เงื่อนไขการนำไปลดหย่อนนั้นคือ จะต้องเป็นลูกแท้ ๆ เท่านั้น ลูกบุญธรรมไม่ได้
อีกเงื่อนไขคือเป็นพ่อ แม่ ของคู่สมรสแต่จะต้องเข้าเงื่อนไขคือ คู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ตลอดปีภาษีนั้น คู่สมรสเป็นลูกแท้ ๆ ของพ่อแม่เขา พ่อแม่คู่สมรสต้องอายุอย่างน้อยครบ 60 ปีในปีภาษีนั้น พ่อแม่คู่สมรสอยู่ในความดูแลของเรา พ่อแม่มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งเราและพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอยู่ในไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้นด้วย
5. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ
สำหรับข้อนี้จะใช้ลดหย่อนแบบเหมาะได้คนละ 60,000 บาท/ปี สำหรับคนที่ดูแลคนพิการหรือทุพพลภาพ ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นลูก คู่สมรส พ่อ แม่ ที่พิการหรือทุพลภาพ ก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีแบบเหมาได้คนละ 60,000 บาท/ปีเลย แต่ถ้าหากผู้พิการที่คุณดูแลไม่ใช่ ลูก พ่อ แม่ คู่สมรส จะลดหย่อนแบบเหมาได้เพียง 60,000 บาท/ปี เพียง 1 คนเท่านั้น
6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด
สำหรับส่วนนี้จะใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงเลยแต่สูงสุดที่ท้องละ 60,000 บาท สำหรับการฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตน เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งก็อาจจะมีลูกมากกว่า 1 ท้อง/ปีได้ แต่ถ้าหากตั้งครรภ์เป็นลูกแฝดก็นับเป็นท้องเดียวเหมือนเดิม แต่ถ้าหากค่าฝากครรภ์และค่าคลอดเกิดขึ้นคนละปีกันก็ยังใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงในแต่ละปี
7. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต
ในข้อนี้ก็ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายตามจริงเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท/ปี ซึ่งก็มีบางธนาคารเท่านั้นที่ฝากเงินแบบมีประกันชีวิตด้วย ซึ่งนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ซึ่งก็ลดได้ตามจริงเลย แต่ว่าจะต้องเป็นเงินฝากตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
8. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
นำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่นี้มาลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดปีละ 15,000 บาท สำหรับคนที่จ่ายเบี้ยประกัน แต่ถ้าหากจ่ายเบี้ยประกันร่วมกับพี่น้องคนอื่น สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะเฉลี่ยตามจำนวนพี่น้องที่จ่ายด้วย เช่น จ่ายช่วยกัน 3 คนก็ต้องเอา 15,000 มาหาร 3 จะได้สิทธิค่าลดหย่อนภาษีคนละ 5,000 บาทนั่นเอง
9. เบี้ยประกันสุขภาพต้นเอง
เป็นอีกหนึ่งสิทธิการลดหย่อนที่ลดได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาทและรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันด้วย ซึ่งรวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนที่ต้องการทำประกันไว้ลดหย่อนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ดีด้วย มีประกันหลายตัวที่เอามาลดได้ แต่ทำประกันเยอะไปมันก็เหนื่อยเราที่จะต้องหาเงินมาเสียค่าเบี้ยประกัน
10. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกสาร/กบข.
สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามจริงแต่จ่ายไม่เกิน 15% ของเงินเดือนรวมกันจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับคนที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
11. ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นั้นจะใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ไม่ว่าจะเอามารวมยื่นภาษีด้วยหรือไม่และไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับคนที่ซื้อกองทุน และกำไรที่ได้จากการขายกองทุน RMF ก็ยังได้รับการยกเว้นภาษีด้วย สำหรับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงื่อนไขก็คือจะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีหรือปีเว้นปี จะซื้อกองเดียวหรือหลายกองก็ได้
12. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
สามารถนำไปลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่จะต้องไม่เกิน 15 % ของเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 และเมื่อรวมกับข้อ (10.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกสาร/กบข. และข้อ (11.) RMF ด้วย รวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
13. เงินประกันสังคม
สำหรับคนที่มีประกันสังคมนำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สำหรับคนที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม นำมาหักลดหย่อนในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ก็จ่ายตามจริงได้ไม่เกิน 90,000 บาท
14. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
สำหรับคนที่มีกองทุนนี้สามารถนำไปลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 13,200 และพอรวมกับข้อ (10.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกสาร/กบข. และข้อ (11.) RMF และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญด้วยต้องไม่เกิน 500,000 บาท
15. ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
นำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 และเมื่อรวมกับข้อ (10.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกสาร/กบข. และข้อ (11.) RMF และเบี้ยประกันแบบบำนาญและ กอช. รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
16. ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX)
นำไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งไม่กำหนดเรื่อง 30 % ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี โดยจะต้องมีเงื่อนไขว่าต้องถือครบ 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
17. ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย
ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เรากู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยเอามาลดเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 100,000 บาท สำหรับใครที่กู้อยู่อย่าลืมเอามาใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกู้สร้างหรือซื้อพวกบ้าน คอนโด ห้องชุด อาคารต่าง ๆ นำไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งอาจจะเป็นการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่งก็ได้ แต่จะต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด หากมีการกู้ร่วมก็จะเอาดอกเบี้ยไปหารกับจำนวนคนกู้เฉลี่ยกันไป
18. ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต
สามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง เมื่อมีเงินที่ได้จากค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ หรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจอื่น ๆ
19. เงินบริจาคพรรคการเมือง
การสนับสนุนพรรคการเมืองก็เอามาลดหย่อนได้ ซึ่งก็ลดได้ตามที่จ่ายตามจริงแต่ก็ไม่เกิน 10,000 บาท หากบริจาคหลายพรรค ก็รวมเงินบริจาคจากทุกพรรคมาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินสูงสุดที่กำหนด แต่พรรคการเมืองที่บริจาคช่วยนั้นจะต้องเป็นสัญชาติไทย
20. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคมและโรงพยาบาล
สามารถนำเงินบริจาคเหล่านี้ตามที่จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน ซึ่งการบริจาคสนับสนุนการศึกษานี้นำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ซึ่งบริจาคที่ไหนแล้วนำมาหักได้นั้นจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ดีก่อน
21. เงินบริจาคทั่วไป
ในการบริจาคทั่วไปก็มีหลายอย่างที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่จะต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลักหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินบริจาค ส่วนบริจาคที่ไหนแล้วนำมาลดหย่อนได้นั้นก็จะมีแจ้งอยู่แล้ว แต่อาจจะมีขั้นต่ำในการบริจาคเช่น 100 บาทขึ้น บางที่ก็ 300 บาทขึ้น เป็นต้น
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร
เมื่อเราพูดถึงค่าลดหย่อนภาษีกันแล้วก็ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันต่อในเบื้องต้น ซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานี้เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปหรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยมีการจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใด ๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือน มกราคม – มีนาคม ของปีถัดไป
บทสรุป
เวลาไปยื่นภาษีหรือจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเรามีค่าลดหย่อนภาษีด้วยจะทำให้ไม่ต้องจ่ายแบบเต็ม อย่างน้อย ๆ ก็ทำให้เราได้จ่ายน้อยลง ซึ่งหากอยากจะมีการลดหย่อนคุณจะต้องวางแผนภาษีของตนเองให้ดี เพื่อเตรียมเงินสำหรับการเสียภาษีหรือเตรียมสำหรับการคืนภาษีด้วย หากวางแผนดีภาษีก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอะไรเลย เพราะทุกคนจะต้องเสียภาษีอยู่แล้วเพื่อการพัฒนาประเทศชาติ📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™