เมื่อเริ่มกล่าวถึงเรื่องราวของการทำงานของบัญชีเชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าตัวเองไม่ได้คลุกคลีด้วยแน่นอน แต่เราคงไม่ได้รู้ตัวว่าจริง ๆ แล้วระบบบัญชีก็แฝงตัวอยู่กับชีวิตประจำวันของเราอย่างแนบเนียน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือรายการเดินบัญชีที่มีเพิ่มมีลดภายในบัญชีธนาคารของเรานั่นเองและรายการเดินบัญชีที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้สถาบันทางการเงินต่าง ๆสามารถใช้ตรวจสอบสถานะทางการเงินของเราได้ และในระดับกิจการเองก็ต้องพึ่งพารายการเดินบัญชีเหล่านี้อย่างเสียไม่ได้เพื่อจัดการ “การบัญชี” ของตนเองให้เรียบร้อยเช่นกัน แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเราจะไปทำความเข้าใจในบทความนี้กัน
การบัญชี คืออะไร
ขอบเขตที่ใช้อธิบายความหมายของการบันทึกบัญชีในปัจจุบันจะอ้างอิงตามลักษณะการใช้งานในขณะนี้ดังนั้นความหมายของ การบัญชี จึงมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการทำบัญชีได้ให้คำอธิบายไว้หลากหลาย แต่ใจความเดียวกันที่สามารถนิยามแบบพอสังเขปได้คือ เป็นขั้นตอนการรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับการค้าขาย ข้อมูลตัวเลขเชิงเศรษฐกิจ การบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอันตีมูลค่าเป็นเงินตราได้ แล้วนำมาจำแนกตามประเภทของบัญชี จากนั้นสรุปผลออกมาเพื่อแสดงชุดข้อมูลตามที่ต้องการ การรวบรวมและประมวลผลข้อมูลเหล่านี้จะรับผิดชอบโดยนักบัญชีเท่านั้นและขั้นตอนการจัดการระบบบัญชีของบริษัทนั้นจะต้องมีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน ได้แก่ นักบัญชีทั่วไป ผู้ที่ชำนาญด้านภาษี ผู้ตรวจสอบบัญชีภายใน ผู้สอบบัญชี และผู้ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญชี ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเข้าใจระบบบัญชีอย่างลึกซึ้งที่สุด แน่นอนว่าในทุกการดำเนินการธุรกิจจะต้องมีความเกี่ยวข้องและการบัญชี ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะธุรกิจจะดำเนินการไปต่อได้หรือไม่เจ้าของทั้งหลายสามารถดูข้อมูลได้ อีกทั้งทราบกำไรขาดทุน
รูปแบบการบัญชี ยุคเก่า-ใหม่
การบันทึกบัญชีในยุคเริ่มต้นนั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยตัวบุคคลเป็นหลัก ข้อมูลจำนวนมากที่ถูกบันทึกไว้จะมีลักษณะทำมือ ไม่ได้อาศัยเครื่องทุ่นแรง และยังไม่มีเครื่องมือทันสมัยที่จะมาช่วยเก็บรักษาข้อมูลที่บันทึกไว้ เมื่อย้อนกลับไปแล้วคนสมัยก่อนจะต้องมีความละเอียดและมีการคิดที่ซับซ้อนด้วยสมองและสองมือเท่านั้น แต่กระนั้นจะเป็นการจัดเก็บที่ละเอียดและรอบคอบเพียงใด แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่ายเหมือนกัน อีกทั้งการดึงข้อมูลออกมาใช้หรืออยากตรวจสอบใหม่ก็กินเวลามาก ยิ่งการดึงเอาข้อมูลย้อนหลังที่เคยบันทึกไว้นานออกมายิ่งต้องใช้เวลามากขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งมองแล้วเป็นเรื่องยากมากทีเดียวและไม่สะดวกหากต้องการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง
เมื่อเวลาผ่านไปมีนวัตกรรมที่ชื่อว่าคอมพิวเตอร์กำเนิดขึ้นลักษณะการบันทึกบัญชีจึงเปลี่ยนทิศทางไป เพราะคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติด้านการเก็บข้อมูลและการคำนวณที่สะดวกและแม่นยำมากที่สุด จึงทำให้การบัญชี ที่ละเอียดซับซ้อนแลดูว่าจัดการง่ายขึ้นมาทันตาเห็น ความผิดพลาดก็น้อยลงไป อีกทั้งการเก็บรักษาข้อมูลก็มีความปลอดภัยมากขึ้น รวมไปถึงการดึงเอาข้อมูลย้อนหลังออกมาใช้ก็ไม่เสียเวลามาก ซึ่งผู้ทำหน้าที่ดูแลการบันทึกบัญชีก็เพียงป้อนข้อมูลต่าง ๆ เข้าไปในโปรแกรมจัดการบัญชี หลังจากนั้นโปรแกรมก็จะคอยแยกประเภทบัญชี คำนวณตัวเลข และประมวลผลทางบัญชีออกมา เรียกได้ว่าเทคโนโลยีทำให้ทุกอยางง่ายและมีความถูกต้องมากขึ้น
การบัญชีในปัจจุบันมีการใช้งานในลักษณะใดบ้าง
การบันทึกเกี่ยวกับบัญชีในปัจจุบันมีความซับซ้อนและทำงานหลายขั้นตอน ด้วยเหตุนี้จึงมีการแยกย่อยออกไปหลายส่วน เพื่อให้การจัดการไม่กองกันอยู่ที่เดียว สามารถทำงานได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยในแง่บริหารของนักบัญชีได้แบ่งกลุ่มการใช้งานระบบบัญชีออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
- ฝ่ายบัญชีการเงิน การทำงานในกลุ่มนี้จะรับผิดชอบเรื่องตัวเงินเป็นหลัก ซึ่งรายการเดินบัญชีที่เราได้ยกตัวอย่างไปตั้งแต่ตอนต้นก็เป็นหลักฐานการเงินที่จะถูกนำมาใช้ในกลุ่มงานนี้นี่เอง ผู้รับผิดชอบงานในฝ่ายนี้จะต้องดูแลตัวเลขหมุนเวียนในระบบบัญชีที่ส่งผลต่อความสมดุลด้านการเงินของกิจการนั้น ไม่ว่าจะเป็นรายรับ รายจ่าย ผลขาดทุน ผลได้กำไร และยังมีหน้าที่สรุปผลจากข้อมูลตัวเลขทั้งหมดในระบบบัญชีออกมาเพื่อแสดงสถานะทางการเงินของกิจการด้วยลักษณะการทำงานที่ว่ามานี้การรวบรวมเอกสาร รายการค่าใช้จ่าย การบันทึกหนี้สินและรายได้ของกิจการ การตรวจสอบสมุดบัญชีทุกประเภท และการจัดทำงบทดลองก่อนสรุปบัญชีตามงวดจึงเป็นความรับผิดชอบของบัญชีการเงิน
- ฝ่ายบัญชีบริหาร การทำงานของฝ่ายนี้จะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่เรื่องของตัวเงิน แต่จะเกี่ยวข้องในเชิงการนำข้อมูลของบัญชีการเงินมาจัดทำแผนการลงทุนเสียมากกว่า ข้อมูลที่ได้รับการบันทึกและประมวลผลจากฝ่ายบัญชีการเงินนั้นจะถูกนำมาอ้างอิงเพื่อสนับสนุนแผนการดำเนินงานบางอย่างของฝ่ายบริหารต่าง ๆ ได้ หรือเพื่อนำมาใช้ประเมินศักยภาพงานของแผนกใดแผนกหนึ่งในบริษัทก็ได้ เพราะการทำงานแต่ละแผนกย่อมเกี่ยวพันกับการใช้งบประมาณของบริษัท ซึ่งหากสามารถจัดการงบได้ดีแผนกนั้นก็ได้ประโยชน์ และในทางกลับกันหากบริหารงบผิดพลาดทำให้เกิดผลเสียต่อบริษัทด้วยตัวแปรเหล่านี้ก็จะเป็นตัวตัดสินว่าควรปรับแผนการลงทุนไปในทิศทางใดนั่นเอง
จุดประสงค์ของการจัดทำระบบบัญชี
- เป็นการบันทึกรายการค้าขายของกิจการนั้น ๆ ไม่เกี่ยงว่าเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่
- ช่วยแสดงสถานะทางการเงินของกิจการนั้นว่าอยู่ในภาวะได้กำไรหรือขาดทุน อีกทั้งแสดงจำนวนทรัพย์สินกับหนี้สินคงเหลือของกิจการในช่วงเวลาสรุปบัญชีให้เจ้าของได้ทราบ
- ช่วยให้ตรวจข้อผิดพลาดของบัญชีที่ไม่ลงตัวได้ เพราะการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักจะทำให้ย้อนกลับไปตรวจสอบจุดที่ผิดพลาดของการคำนวณผลได้ง่าย
- ช่วยตรวจสอบกรณีเกิดเหตุทุจริตภายในบริษัทได้ ซึ่งระบบบัญชีที่เป็นระเบียบและมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดจะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้
- ใช้เป็นหลักอ้างอิงเพื่อนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ หรือใช้เป็นเหตุผลเพื่อตัดสินใจในแง่การลงทุนของกิจการได้
หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบบัญชี
หน้าที่จัดทำระบบบัญชีแม้ว่าจะเป็นส่วนรับผิดชอบของเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ แต่ การบัญชี ของแต่ละบริษัทก็ต้องได้รับการตรวจสอบและต้องปฏิบัติให้ไปเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่รับผิดชอบ หากเจ้าของกิจการไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของหน่วยงานเหล่านั้นก็จะถือว่าละเมิดกฎหมาย จนเป็นเหตุให้โดนระวางโทษได้ โดยในประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบจัดการบัญชีของกลุ่มธุรกิจจดทะเบียน ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ทำหน้าที่ดูแล กำหนดข้อบังคับ พร้อมแนวทางที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และระบบบัญชีของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของธนาคารกับสถาบันการเงินเป็นหลัก ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับเงินลงทุนและสภาพคล่องของธุรกิจเสียส่วนใหญ่
- กรมสรรพากร ทำหน้าที่ในการตรวจสอบและเรียกเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา นิติบุคคลที่เป็นเจ้าของกิจการต่าง ๆ โดยเรียกเก็บตามผลประกอบการที่เป็นไปตามเกณฑ์ภาษีที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ และการคำนวณภาษีที่ครบถ้วนก็เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีของกิจการนั้นโดยตรง
- สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ทำหน้าที่ดูแลมาตรฐานผู้ที่จะเข้ามาเป็นนักบัญชี เช่น กำหนดมาตรฐานการสอบ การออกใบอนุญาต ให้การรับรองวุฒิการศึกษาเพื่อออกใบประกอบวิชาชีพของนักบัญชี เป็นต้น
- สมาคมการบัญชีไทย เป็นผู้ที่เน้นส่งเสริมจริยธรรมของผู้ซึ่งทำหน้าที่สอนวิชาการบัญชี คอยส่งเสริมความก้าวหน้าของ การบัญชี ภายในประเทศ และคอยเผยแพร่ข้อมูลเชิงวิชาการอันมีประโยชน์ต่อนักบัญชี
บทสรุป
ระบบบัญชีที่ซับซ้อนหากจัดวางให้เป็นระเบียบตั้งแต่เริ่มต้น ย่อมเป็นฐานข้อมูลที่ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลทางบัญชีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว สามารถดึงข้อมูลออกมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหานาน อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบข้อผิดพลาดในภายหลังอีกด้วย ซึ่งกิจการแต่ละแห่งควรมีผู้คอยดูแลงานการบัญชี ที่ได้มาตรฐานและน่าเชื่อถือเข้ามารับผิดชอบตรงนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกิจการ อีกทั้งไม่ทำให้ระบบบัญชีของกิจการเกิดข้อผิดพลาดบ่อย ๆ เพราะระบบบัญชีที่จัดทำอย่างรัดกุมย่อมแสดงถึงความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีและข้อมูลมีความปลอดภัยนั่นเอง📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™