จำเป็นมากที่จะเข้าใจเรื่องของงบการเงิน (Financial Statement) โดยเฉพาะ “งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)” จะต้องทำความเข้าใจ เวลาอ่านงบการเงินจะได้รู้เรื่อง นักลงทุน นักธุรกิจ ก็ต้องรู้เรื่องนี้เพราะมีผลต่อการวิเคราะห์หุ้น การวางแผนธุรกิจ รวมถึงคนที่ทำบัญชีด้วยเหมือนกัน หากไม่เข้าใจกำไรขาดทุนเลยมันก็ยากที่จะวิเคราะห์ว่าธุรกิจจะดำเนินการต่อไปได้ในทิศทางไหน และเรื่องนี้จำเป็นสำหรับทุกคนแทบจะเรียกว่าเป็นการรู้เกี่ยวกับบัญชีขั้นต้นอีกด้วย
งบกำไรขาดทุนหรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จคืออะไร
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (Profit and Loss Statement) หรือในชื่อเดิมจะเรียกกันว่างบกำไรขาดทุน ซึ่งงบตัวนี้จะแสดงการดำเนินงานของบริษัทหรือกิจการนั้นในรอบระยะเวลาหนึ่ง ว่ามีกำไร ขาดทุนไปเท่าไหร่บ้าง ซึ่งรอบระยะนั้นอาจจะนับเป็นรายไตรมาส ก็จะเป็น กำไรเท่ากับรายได้ลบค่าใช้จ่าย กำไรขาดทุนหลัก ๆ ก็จะมี 2 แบบคือ งบกำไรขาดทุนแบบชั้นเดียวและงบกำไรขาดทุนแบบหลายชั้น แต่ละแบบเป็นอย่างไรมีดังนี้
1. งบกำไรขาดทุนแบบชั้นเดียว
เป็นงบการทำกำไรขาดทุนด้วยการแยกรายได้และค่าใช้จ่ายออกจากกัน แล้วค่อยรวมรายได้ทั้งหมดเพื่อเอาไปหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดครั้งเดียวเลย เป็นกำไรหรือขาดทุนสุทธิในขั้นตอนท้าย ซึ่งในแบบนี้จะดีตรงที่ ทำง่าย ไม่ค่อยมีขั้นตอนอะไรยุ่งยากนัก สำหรับแนวทางการเขียนงบกำไรขาดทุนแบบชั้นเดียวนั้นก็จะมีดังนี้
- รายได้ ซึ่งประกอบด้วย รายได้จากการขาย และ รายได้อื่น ๆ
- ค่าใช้จ่าย ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายประเภท ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ต้นทุนทางการเงิน ดอกเบี้ยจ่ายต่าง ๆ
- กำไรก่อนภาษีเงินได้ ก็มาจากภาษีเงินได้
- กำไรหรือขาดทุนสิทธิ
2. งบกำไรขาดทุนแบบหลายชั้น
หมายถึงการทำรูปแบบของการทำ งบกำไรขาดทุนด้วยการแสดงรายได้หนักด้วยค่าใช้จ่ายเป็นชั้น ๆ ซึ่งถ้าเทียบกับแบบแรกจะดูซับซ้อนกว่าสักหน่อย งบกำไรขาดทุนแบบหลายชั้นนี้จะทำให้เราเห็นถึงรายละเอียดของข้อมูลลึกเข้าไปอีก ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งหน้าตาของแบบนี้ก็จะประกอบไปด้วย
- รายได้ ก็จะประกอบไปด้วย รายได้จากการขาย รายได้อื่น รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย : หักต้นทุนขาย
- กำไรขั้นต้น
- หัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
- กำไรจากการดำเนินงาน บวกรายได้อื่น หักค่าใช้จ่ายอื่น
- กำไรก่อนหักภาษีเงินได้
- กำไรหรือขาดทุนสุทธิ
สำหรับรายการแต่ละข้อนั้นเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นในการทำงบกำไรขาดทุนนั้นจะต้องหาดูเอกสารประกอบด้วย ซึ่งหาดูได้ทั่วไปเลย
3. องค์ประกอบที่งบกำไรขาดทุนจะต้องมี
- รายได้ (Income) จะหมายถึงสินทรัพย์ที่กิจการได้รับมาจากการประกอบกิจกรรม ซึ่งจะมีเป็นรายได้จากการขาย รายได้จากการเช่าหรือบริการ รายได้จากการลงทุน รวมถึงรายได้อื่น ๆ ด้วย
- ค่าใช้จ่าย (Expense) เป็นต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย จากการบริการ ต้นทุนทางการเงิน เป็นต้น
- กำไรหรือขาดทุนสุทธิ (Profit or Loss) จะเป็นยอดรวมรายได้ที่หักด้วยยอดรวมค่าใช้จ่าย ต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นงบกำไรขาดทุนแบบชั้นเดียวหรืองบกำไรขาดทุนแบบหลายชั้นก็จะต้องมีองค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้นนี้เหมือนกัน ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่รายละเอียดในการเขียนงบเท่านั้นเอง
รูปแบบของงบกำไรขาดทุนและงบดุล
1. รูปแบบของงบกำไรขาดทุนนั้นจะแบ่งออกมาเป็น 2 แบบ
1.1 แบบรายงาน (Report Form) จะเป็นรายงานที่แบ่งออกไปอีกทั้งหมด 3 ตอนด้วยกัน ซึ่งจะมีตอนแรกเป็นส่วนของรายได้ ต่อไปจะเป็นส่วนของรายจ่ายต่าง ๆ และตอนที่สามนั้นจะแสดงถึงกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ในการจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงานนั้นจะประกอบด้วยรายการตามนี้
- ส่วนหัวงบ มี 3 บรรทัด คือ บรรทัดแรกเขียน “ชื่อกิจการ” ส่วนบรรทัดที่ 2 นั้นเขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน” บรรทัดที่ 3 ก็ให้เขียนระยะเวลาที่จัดทำงบกำไรขาดทุน
- ต่อไปให้เขียนคำว่า “รายได้” ทางฝั่งซ้ายมือแล้วก็เอาบัญชีรายได้หลักและรายได้อื่น ๆ ของกิจการมาลงรายการ โดยเขียนเยื้องไปทางขวามือนิดหน่อยและเขียนจำนวนเงินในทางขวามือ จากนั้นรวมยอดรายได้ทั้งหมด
- จากนั้นก็เขียน “ค่าใช้จ่าย” โดยเขียนทางซ้ายมือให้ตรงกับรายได้เลย และนำเอาบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเขียนเยื้องไปทางขวาเล็กน้อย แล้วก็เขียนจำนวนเงินทางขวามือและรวมยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้เลย
- สุดท้ายจะเป็นการหาผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้และยอดรวมของค่าใช้จ่าย หากรายได้เยอะกว่าจ่าย ผลต่างจะเป็น “กำไรสุทธิ” แต่ถ้าหากรวมแล้วรายจ่ายเยอะกว่ายอดรวมรายได้ผลต่างก็จะออกมาเป็น “ขาดทุนสุทธิ” นั่นเอง
1.2 แบบบัญชี (Account From) เป็นแบบที่แสดงรายการในรูปแบบตัวที (T) ที่เป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ ซึ่งก็ยังมีแบ่งออกไปอีก 2 ด้าน คือ ซ้าย (เดบิต) บันทึกรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และ ขวา (เครดิต) ที่บันทึกรายการเกี่ยวกับรายได้ การทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชีนั้นในเอกสารจะมีอยู่ 3 ส่วนด้านกัน
- เขียนส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
- ต่อไปก็ลงรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางด้านซ้ายมือ เรียงลงมาตามลำดับ และลงรายการเกี่ยวกับรายได้ทางด้านขวามือ เรียงลงมาตามลำดับ
- จะเป็นการรวมยอดของรายได้ ให้เขียนกำไรสุทธิไว้ทางด้านซ้าย (เดบิต) และในส่วนของขาดทุนสุทธินั้นให้เขียนไว้ทางด้านขวา (เครดิต)
2. รูปแบบของงบดุล แบ่งออกมาเป็น 2 แบบเหมือนกันดังนี้
2.1 แบบรายงาน (Report Form) จะเป็นตัวแสดงรายการเรียงกันไปตามลำดับของหมวดบัญชี ซึ่งจะมีหมวดสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ผลรวมของหมวดสินทรัพย์นั้นต้องเท่ากันกับผลรวมของหมวดหนี้สิ้นและส่วนของเจ้าของ
2.2 แบบบัญชี (Account From) แบบนี้จะแสดงรายการบัญชีในหมวดสินทรัพย์ทางด้านซ้าย (เดบิต) หนี้สินและส่วนของเจ้าของ จะแสดงรายการด้านขวามือ (เครดิต) และผลรวมด้านเดบิตจะต้องเท่ากับด้านเครดิตด้วยเหมือนกัน
งบการเงินคืออะไร
เนื่องจากงบกำไรขาดทุนก็เป็นหน่วยย่อยของงบการเงินด้วย ทำความเข้าใจคร่าว ๆ กันว่างบการเงินนั้นคืออะไร ซึ่งความหมายของงบการเงิน (Financial Statements) คือการทำรายงานทางด้านการเงิน ที่จัดทำเพื่อการวัดผลการดำเนินงานของกิจการภายหลังได้ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในงบการเงินที่สมบูรณ์นั้นจะต้องมี งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน เป็นต้น
ในงบการเงินนั้นจะมีองค์ประกอบอยู่ ซึ่งจะเป็นตัวเกี่ยวข้องกับการวัดฐานะการเงินในงบดุล ก็จะมีเป็น สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ องค์ประกอบซึ่งเกี่ยวข้องกับการวัดผล การดำเนินงานในงบกำไรขาดทุน ซึ่งจะมี รายได้ และ รายจ่าย
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงเลยกับการวัดฐานะการเงินคือ “ฐานะการเงิน” ซึ่งในคำนี้จะวัดยังไงก็ต้องดูที่ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ในแต่ละอย่างมีความหมายอย่างไรมีดังนี้
เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในการควบคุมของกิจการ ซึ่งทรัพยากรดังกล่าวนั้นเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากทรัพยากรนั้นในอนาคต
2. หนี้สิน
เป็นภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ เรียกง่าย ๆ ก็คือ “หนี้ของบริษัท” นั่นเอง ซึ่งภาระหนี้นี้เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งภาระผูกพันตัวนี้จะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรในอนาคต
3. ส่วนของเจ้าของ
หมายถึงส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากที่มีการหักหนี้สินทั้งหมดออกไปแล้ว
งบดุลคืออะไร
เป็นอีกงบที่มีความสัมพันธ์กับงบการเงินอื่น ๆ ด้วย ซึ่งงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) จะหมายถึง งบการเงินที่แสดงฐานะการเงินของกิจการว่า ณ วันที่ระบุในงบดุลนั้น กิจการมีฐานะการเงินเป็นอย่างไรบ้าง สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเท่ากับเท่าไหร่ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของจะแสดงได้ 2 แบบคือ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
งบกระแสเงินสดคืออะไร
งบที่จะต้องรู้จักและทำความเข้าใจก็คืองบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ซึ่งเป็นงบการเงินที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของเงินสดและรายการที่เทียบเท่าเงินสดของกิจการ งบกระแสเงินสดจะบอกถึงเงินสดที่ได้รับมาและเงินที่จ่ายออกไปด้วย ซึ่งในงวดบัญชีหนึ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะมี 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน
งบกระแสเงินสดเกี่ยวข้องกับงบกำไรขาดทุนอย่างไร
งบการเงินทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกันหมด ฉะนั้นแล้วงบกระแสเงินสดก็มีส่วนเชื่อมโยงไปถึงงบกำไรขาดทุนเช่นกัน เวลาที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีนั้น เพื่อดูรายการทางการเงินของบริษัทว่าเป็นแบบไหน ซึ่งการวิเคราะห์งบนั้นจะสามารถนำไปต่อยอดสู่การวางแผนพัฒนาธุรกิจในอนาคตได้ด้วย รวมถึงการทำบัญชีและภาษีของบริษัทก็ต้องยื่นเอกสารงบเหล่านี้ให้ครบถ้วนและถูกต้อง
บทสรุป
สรุปเรื่องของงบกำไรขาดทุนแบบง่าย ๆ เลยคือ เป็นงบการเงินที่ทำเอาไว้ให้เห็นว่ากิจการหรือบริษัทนั้น ๆ มีกำไรเท่าไหร่ ขาดทุนเท่าไหร่ ในการประกอบกิจการในแต่ละรอบบัญชีรวมถึงในแต่ละปี ซึ่งก็จะต้องทำไปพร้อมกับงบการเงินปลีกย่อยอย่างอื่นด้วย หากกิจการไหนไม่มีการทำงบการเงินเลยระบบการทำบัญชีและภาษีจะมีปัญหาตามมา สำคัญกว่านั้นของการวิเคราะห์และทำงบเหล่านี้เป็นจะส่งผลดีต่อการวางแผนธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วยว่าจะเติบโตไปในทิศทางไหน หากกิจการคุณยังไม่เริ่มทำอย่างจริงจังรีบหาผู้ช่วยจัดการเรื่องนี้ได้แล้ว เพราะการไม่ทำงบการเงินดี ๆ ก็ทำกิจการไปไม่รอดได้เหมือนกัน📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™