เมื่อกิจการเริ่มต้นจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีความเข้าใจทางด้านของการทำบัญชี การเงิน ภาษี ด้วย เพื่อเป็นตัวช่วยทำให้เห็นถึงผลประกอบการชัดเจนว่าเป็นแบบไหน สำคัญเลยคือการทำ “งบแสดงฐานะทางการเงิน” เวลายื่นภาษีจะได้ไม่มีปัญหา งบตัวนี้เป็นที่รู้จักกันในทางบัญชีเรียกว่างบดุล นั่นเอง ทุกบริษัท ทุกหน่วยงาน ทุกกิจการจะต้องมีการทำบัญชีงบดุลเสมอ หากไม่ทำเสี่ยงมากที่จะบริหารกิจการถอยหลังหรือทำให้ไปไม่รอดได้เลย ฉะนั้นวันนี้ชวนทุกคนมาทำความเข้าใจกับงบการเงินตัวนี้กันในเบื้องต้น เข้าใจง่าย ๆ กันตามนี้
อะไรคืองบแสดงฐานะทางการเงิน จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องทำงบนี้
งบตัวนี้จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกความสามารถของกิจการได้ดีทีเดียวแถมยังเป็นตัวที่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ด้วยว่าจะพัฒนากิจการไปในทิศทางไหน ซึ่ง “งบแสดงฐานะทางการเงิน” ก็คือ งบดุล ที่เราคุ้มชื่อกันดี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Statement of Financial Position หรือ Balance Sheet เป็นงบที่จะแสดงถึงฐานะทางการเงินของกิจการนั้น ๆ ซึ่งก็จะมีเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน) ซึ่งในแต่ละรอบบัญชีจะเห็นได้ชัดเลยว่ากิจการมีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร จะดีหรือแย่ลงก็แสดงออกมาให้เห็นชัดเจนในงบตัวเองเลย
จะมีสมการที่อธิบายความสัมพันธ์ในงบนี้ด้วย จะเป็นสมการนี้ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีความหมายแยกย่อยออกไปอีก หากถามว่าจำเป็นไหมที่ทุกกิจการจะต้องทำงบดุลตอบเลยว่าจำเป็นอย่างยิ่ง บริษัทไหนกิจการไหนไม่มีการทำบัญชีงบการเงินมันก็แทบจะบริหารยุ่งยากมาก แถมยังจะทำให้ระบบบัญชีและภาษีรวนตามกันไปอีกด้วย
3 ส่วนประกอบที่อยู่ในงบแสดงฐานะทางการเงิน มีอะไรบ้าง
หากขาดทั้ง 3 ส่วนประกอบนี้ไปจะเป็นการทำบัญชีแบบไม่สมบูรณ์เลย ฉะนั้นแล้วงบแสดงฐานะทางการเงินหรืองบดุลที่ถูกต้องนั้นจะต้องมีครบทุกข้อ ซึ่งก็จะมีสินทรัพย์ หนี้สิน ละส่วนของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของเจ้าของ แต่ละข้อมีความหมายอย่างไรไปอ่านกัน
1. สินทรัพย์
1.1สินทรัพย์หมุนเวียน จะเป็นสินทรัพย์ที่ต้องมีสภาพคล่องสูงมาก ๆ และยังสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้รวดเร็วด้วย และทุกสินทรัพย์หมุนเวียนนั้นจะต้องเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี
1.2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ถาวร ตัวนี้จะเป็นสินทรัพย์ที่สามารถถือไว้ยาว ๆ ได้ ถือนานเกิน 1 ปีได้ อาจจะเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้มีสภาพคล่องมากนัก เช่น อาคาร ที่ดิน เงินลงทุนระยะยาว อุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว
2. หนี้สิน (Liabilities)
จะเป็นหนี้ของกิจการที่มีภาระผูกพันในปัจจุบัน ซึ่งหนี้สินนี้ก็นับเป็นส่วนประกอบหลักที่ต้องดูในงบแสดงฐานะทางการเงินของบริษัทเหมือนกัน หนี้สินผูกพันนี้จะเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต การชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการก็เสียทรัพยากรไปเหมือนกัน ซึ่งจะเป็นตัวที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจอีกด้วย ทำให้เข้าใจง่าย ๆ เกี่ยวกับหนี้สินนี้ ภาระผูกพันในปัจจุบัน ผลของเหตุการณ์ในอดีต และ ทำให้เกิดการสูญเสียในอนาคตนั่นเอง
ยังไม่หมดเท่านี้ ยังมีการแบ่งแยกประเภทของหนี้สินอีกด้วย ก็แยกเหมือนทรัพย์สินเลย จะมีเป็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน โดยแต่ละประเภทมีความหมายตามด้านล่างนี้
2.1 หนี้สินหมุนเวียน
สำหรับหนี้สินหมุนเวียน หรือ Current Liabilities จะเป็นหนี้สินที่มีระยะเวลาสั้น ๆ จะมีการชำระหนี้สินภายใน 1 ปี ยกตัวอย่างเช่น เงินเบิกเกินบัญชี เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และอื่น ๆ ที่ชำระใน 1 ปีก็เรียกเป็นระยะสั้นทั้งหมดเลย
2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน
สำหรับหนี้สินไม่หมุนเวียนนี้จะมีระยะยาว ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Non-Current Liabilities หนี้ตัวนี้จะมีระยะเวลาในการชำระเกิน 1 ปี ยกตัวอย่างเช่นเป็นเงินกู้ยืมระยะยาว หุ้นกู้ หรืออื่น ๆ ที่ไม่ต้องจ่ายคืนเร็ว
3. ส่วนของเจ้าของ หรือ ทุน
จะหมายถึงส่วนของเจ้าของกิจการหรือเป็นทุนนั่นเอง ซึ่งเป็นส่วนที่เจ้าของมีสิทธิ์ส่วนได้เสีย คงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังหักหนี้สินออกแล้ว มักจะเรียกอีกชื่อว่า สินทรัพย์สุทธิ ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Owner’s Equity เวลาเราอ่านงบแสดงฐานะทางการเงินก็จะเจอข้อนี้ด้วย ซึ่งในส่วนของเจ้าของนี้ก็จะมีแยกออกเป็น 2 ประเภทตามนี้
3.1 ทุนเรือนหุ้น
สำหรับทุนเรือนหุ้นหรือ Share Capital ก็จะเป็นเงินมาลงทุนของเจ้าของกิจการ ซึ่งจะมีทุนจดทะเบียน ที่จดทะเบียนตามกฎหมาย แล้วก็ต้องมีการแสดงชนิดของหุ้น ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ แสดงจำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียน ในส่วนของทุนที่ออกและชำระแล้ว จะเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นที่นำออกมาขายและเรียกให้ชำระมูลค่าหุ้นแล้ว เป็นหุ้นจริงที่มีอยู่ในตอนนี้ด้วย ยังมีส่วนเกินมูลค่าหุ้นด้วยที่เป็นเงินค่าหุ้นสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ
3.2 กำไร(ขาดทุน) สะสม
สำหรับกำไร (ขาดทุน) สะสม หรือ Retained Earnings หมายถึงกำไรที่สะสมส่วนที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น คือเป็นกำไรของกิจการนั่นเองที่ได้สะสมเอาไว้ตั้งแต่การเริ่มก่อตั้งเลย เป็นอีกส่วนสำคัญจะต้องดูเวลาที่เราอ่านงบแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ซึ่งในข้อนี้จะเห็นถึงกำไรสะสมจัดสรรแล้ว กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร
ในส่วนของกำไรสะสมที่จัดสรรแล้วนั้นจะกันไว้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด อย่างหนึ่งของบริษัท เช่น การจัดสรรเพื่อสำรองตามกฎหมาย ส่วนที่ยังไม่ได้สะสมนั้น เป็นกำไรสะสมคงเหลือหลังจากการจัดสรรแล้ว ก็เอาไปนำจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น แต่ถ้าหากขาดทุนเรื่อย ๆ ขาดทุนบ่อยเข้า จนค่าติดลบเลยก็จะกลายเป็นขาดทุนสะสม ซึ่งแบบนี้ไม่ค่อยส่งผลดีนัก กิจการที่ขาดทุนสะสมเรื่อย ๆ ผู้ถือหุ้นอาจจะต้องพิจารณาใหม่แล้ว
ใครเป็นคนทำงบแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
การประกอบกิจการอะไรก็ตามการทำบัญชีงบดุลสำคัญมากจะต้องทำ หากเป็นกิจการขนาดเล็กเจ้าของอาจจะทำงบแสดงฐานะทางการเงินด้วยตนเอง ไม่ต้องจ้างพนักงานบัญชีแต่ถ้าเป็นกิจการใหญ่หน่อย คนเริ่มเยอะ ค่าใช้จ่ายเริ่มแยะ มีหลายอย่างที่ต้องทำก็ควรจะหาคนช่วยดีกว่า
ตัวอย่างงบแสดงฐานะทางการเงินของบริษัท เช่น บริษัทไม้ใบ มีสำนักงานราคา 600,000 บาท มีเงินสด 1 ล้านบาท มีคอม ฯ มีเฟอร์นิเจอร์ที่ 3 แสนบาท มีหนี้สินกับธนาคารอีก 5 แสน ซึ่งบริษัทไม้ใบนี้จัดตั้งโดยมีหุ้นส่วน 2 คน ชื่อนายไม้ กับ นายใบ รวมหุ้นกันคนละ 6 แสนบาท ก็จะได้แบบนี้
สินทรัพย์ของบริษัทไม้ใบ
สำนักงาน 600,000 บาท
เงินสด 1,000,000 บาท
คอม ฯ และเฟอร์นิเจอร์ 300,000 บาท
รวมเป็น 1,900,000 บาท
หนี้สิน
เงินกู้ธนาคาร 500,000 บาท
ส่วนของเจ้าของ
นายไม้ 600,000 บาท
นายใบ 600,000 บาท
รวม 1,200,000 บาท
แทนสูตรดูความสัมพันธ์
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ เราก็จะได้ตัวเลขออกมาเป็น 1,900,000 = 500,000 + 1,200,000 ซึ่งในตอนที่เราทำบัญชีงบดุลนั้นจะเห็นว่าส่วนของหนี้สินและส่วนของเจ้าของจะเท่ากันเสมอ หากไม่เท่ากันแสดงว่ามันจะต้องมีปัญหาอะไรสักอย่างแล้ว
บทสรุป
สรุปแล้วงบแสดงฐานะทางการเงินนั้นเป็นงบดุล ที่แสดงรายการบัญชีของกิจการว่ามีอะไรเท่าไหร่บ้าง หนี้สินเท่าไหร่ ทรัพย์สินเท่าไหร่ ส่วนของเจ้าของได้เท่าไหร่ และยังทำให้มองเห็นกำไรและขาดทุนของบริษัทได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ นักการตลาดจะอ่านงบการเงินแล้วนำไปสู่การทำแผนพัฒนาธุรกิจได้อีกด้วย ในการทำงบการเงินนั้น
ทุกคนสามารถทำเองได้ โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็กทำเองก็ไม่ยากอะไร แต่ถ้าหากไม่ถนัดก็มีผู้ช่วยมากมาย นักการบัญชีต่าง ๆ ที่รับงานอิสระหรือจะแจ้งพนักงานบัญชีเข้ามาช่วยโดยตรงเลยก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าหากเราปล่อยละเลยการทำงบแสดงฐานะทางการเงินนั้นจะยากมากที่จะเห็นความก้าวหน้าของกิจการว่าเติบโตแค่ไหน แถมยังยื่นภาษียากทำให้ปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย ฉะนั้นก็ควรจะทำบัญชีงบดุลให้ดีทุกครั้ง📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™