สำหรับคนที่ต้องการประกอบธุรกิจอะไรบางอย่างแล้วต้องการเปิดเป็นบริษัท จะต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคคล ให้เรียบร้อยและต้องมี “ทุนจดทะเบียนบริษัท” ซึ่งผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะต้องจ่ายร่วมกัน เพื่อยื่นขอจดแจ้งให้กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทุนจำนวนนี้ใช้เป็นเงินหมุนเวียนในการก่อตั้งธุรกิจนั่นเอง พร้อมทั้งส่งผลดีในด้านของภาษีเพราะได้เสียในอัตราที่ต่ำกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มันไม่ใช่ว่าใครอยากจะจดก็เดินเข้าไปจดได้เลย
ทุนจดทะเบียนบริษัทคืออะไร ทำอย่างไรถึงจะเปิดบริษัทได้
ตามความหมายเลย “ทุน” หมายถึงเงินที่ผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วนของบริษัทที่จะก่อตั้งนั้นจ่ายร่วมกันให้ครบ แล้วก็ได้เป็นเงินทุนจดทะเบียนบริษัทมาก้อนหนึ่งจากนั้นค่อยไปขอแจ้งจดที่กรมพัฒนาธุรกิจได้เลย ซึ่งธุรกิจที่จะเปิดนั้นต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 2 คนขึ้นไป กฎหมายกำหนดไว้แบบนี้
แต่ละคนก็จะจ่ายตามสัดส่วนที่แต่ละคนลงทุนไปต้องไม่น้อยกว่า 5 บาท (หุ้น 5 บาทขึ้นไป) ซึ่งการจะตั้งเงินทุนเท่าไหร่นั้นก็ดูที่ขนาดของธุรกิจว่าจะต้องใช้เงินมากแค่ไหนจะได้หาทุนได้เหมาะสม เงินทุนตรงนี้นอกจากเป็นเงินใช้จ่ายในบริษัทแล้วยังบอกถึงความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทได้อีกด้วย
ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วคืออะไร
ข้อนี้จะแตกต่างจากคำว่าทุนจะทะเบียนบริษัท จะเป็นเงินที่เรียกกับจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดเรียกว่าทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ต่างกันนะ เพราะทุนจดทะเบียนเป็นทุนตั้งต้นที่ทางบริษัทต้องแจ้งแก่ทางกรมพัฒนาธุรกิจ ซึ่งจะข้อมูลเงินทุนนี้ในหนังสือรับรองบริษัทด้วย
ส่วนผู้ถือหุ้นจะจ่ายเท่าไหร่นั้นก็ตามความต้องการเลยแต่ว่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 25% ใครจะจ่าย 100 % ก็ได้ แต่ส่วนมากก็ไม่ค่อยมีใครจ่ายเต็มเพราะกฎหมายเองก็ไม่ได้บังคับด้วยว่าต้องจ่ายเต็ม 100 เลย
เพื่อความเข้าใจมากขึ้นยกตัวอย่าง บริษัท บุญทับ จำกัด ได้ทำการจดทะเบียนด้วยทุนจดทะเบียนบริษัทที่ 1,000,000 บาท ซึ่งก็จะแบ่งออกมาเป็น 10,000 หุ้น จะตกที่หุ้นละ 100 บาท ซึ่งผู้ถือหุ้นแต่ละคนก็จะถือกันตามสัดส่วนของตัวเอง อย่างเช่น นาย ก. ถืออยู่ 3,000 หุ้น ขาย ข. ถือที่ 5,000 หุ้น และนาย ค. ก็ถือที่ 2,000 หุ้น โดยเลือกชำระค่าหุ้นตามขั้นต่ำได้เลย นั่นคือที่กฎหมายกำหนดเอาไว้จะต้องไม่ต่ำกว่า 25% ของทุนจดทะเบียน
เมื่อบริษัท บุญทับ จำกัด นั้นมีทุนจดทะเบียนบริษัทอยู่ที่ 1 ล้านบาท หุ้นส่วนแต่ละคนก็จะจ่ายตามสัดส่วนตัวเอง คิดที่ 25 % ก็จะได้เป็น นาย ก. ต้องจ่าย 75,000 บาท นาย ข. ต้องจ่ายที่ 125,000 บาท และ นาย ค. ก็ต้องจ่ายที่ 50,000 บาท รวมกันแล้วก็จะได้ 250,000 บาท ซึ่งยอดที่ชำระแล้วของบริษัทนี้ก็คือ 250,000 บาท จากทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทนั่นเอง ส่วนผลตอบแทนของบริษัทก็จะจ่ายให้ใครมากน้อยกว่ากันก็ตามสัดส่วนของหุ้นที่แต่ละคนถือ ใครถือเยอะสุดก็จะได้ผลตอบแทนมากสุดเป็นธรรมดา
จะเปิดบริษัทแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่
ไม่ได้มีกฎหมายหรือข้อกำหนดอะไรตายตัวว่าจะตอนจะจดทะเบียนบริษัทนั้นต้องมีเงินทุนเท่าไหร่ เนื่องจากในแต่ละบริษัทนั้นมันใช้เงินลงทุนมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจกิจด้วย ซึ่งผู้ถือหุ้นเองก็จะต้องรู้ว่าบริษัทตัวเองนั้นจะต้องใช้เงินลงทุนไปกับอะไรบ้าง แล้วเงินที่จะใช้ในการลงทุนอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ พอเราได้ยอดเงินลงทุนมาแล้วเราก็ไม่ควรจะให้เงินทุนจดทะเบียนน้อยกว่านั้น จะต้องสอดคล้องไปด้วยกันได้
ยกตัวอย่างหากคุณจะเปิดบริษัทขายสินค้าแบบค้าปลีก ที่ไม่ได้ต้องลงทุนสูงมากทุนจดทะเบียนก็อยู่ที่ 1,000,000 บาทได้ แต่ถ้าเทียบกันบริษัทคุณนั้นทำธุรกิจเกี่ยวกับการทำบ้านจัดสรร ทำคอนโด หรือต้องลงทุนสูงมาก ๆ ทุนจดทะเบียนก็ให้ได้สัก 100,000,000 บาท ประมาณนี้ นี่เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น บริษัทที่คุณจะเปิดควรใช้เงินทุนจดเทียนเท่าไหร่ก็ควรจะพิจารณาและคำนวนให้ดี
ต้องจ่ายเงินค่าทุนจดทะเบียนตอนไหน
มีบางบริษัทที่ยื่นจดทะเบียนแล้วแต่ดันไม่ได้ใส่เงินลงมาจริง ๆ เป็นการจดทะเบียนบริษัทลอย ซึ่งแบบนี้ไม่ค่อยจะดีนักเพราะจะมีผลกระทบตามมาหลายอย่างมากแถมยังได้เสียภาษีเพิ่มขึ้นด้วยนะ แต่ว่าในวันที่จดทะเบียนบริษัทนั้นไม่ต้องถือเงินไปจ่ายให้กับกรมพัฒนาธุรกิจ เพราะเราไปแค่ยื่นจดทะเบียนเท่านั้นเพื่อให้มีหนังสือรับรองบริษัท
แต่เราจะต้องเรียกเก็บเงินทุนจดทะเบียนกันเองในระหว่างผู้ถือหุ้นและตกลงกันว่าจะเก็บเงินก้อนนี้ไว้ตรงไหน เช่น เปิดบัญชีธนาคารในชื่อบริษัทแล้วเอาเงินก้อนนี้ไปเป็นทุนชำระแล้ว และบัญชีจะต้องแยกกับบัญชีส่วนตัวของผู้ถือหุ้นด้วย รายรับที่เกี่ยวข้องกับบริษัทก็จะต้องเข้าบัญชีของบริษัทเท่านั้น เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาเวลาทำบัญชี การใช้จ่ายเงินในบัญชีนั้นก็ใช้เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น
เงินทุนจดทะเบียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
เงินทุนที่เรียกเก็บมาจากผู้ถือหุ้น 25% เป็นอย่างน้อยนั้นจะเป็นเงินทุนสำหรับการเริ่มต้นบริษัทและใช้จ่ายได้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับบริษัทเลย เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน ค่าลงทุน ฯลฯ แต่สิ่งที่จะเอาไปใช้ไม่ได้คือ เงินจำนวนนี้ไม่ควรจะนำไปใช้จ่ายที่เป็นเรื่องส่วนตัวเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นคนใดหรือใครในบริษัทก็ตาม หากทำมันก็เข้าข่ายยักยอกเงินแน่นอนว่าผิดกฎหมาย
เรื่องของภาษีกับการจดทะเบียนบริษัทช่วยให้เสียภาษีถูกลงจริงไหม
ในกรณีของภาษีกันบ้าง ซึ่งปกติเราก็จะได้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะเสียภาษีสูงสุด 35% หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลเสียสูงสุดที่ 20 % แม้ว่าตัวเลขเปอร์เซ็นต์มันจะน้อยลงก็จริง แต่มันก็ไม่ได้ช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลงตามไปด้วยนะ
เพราะจะต้องดูที่รายได้ ค่าใช้จ่ายของเงินที่เข้ามา พอมันเป็นบริษัทแล้วค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รายได้อาจเพิ่มขึ้นมา และบริษัทต้องมีกำไรสุทธิ 800,00 บาท/ปีขึ้นไป แบบนี้ภาษีจะถูกลงอยู่บ้าง ทุกอย่างมันก็มีเงื่อนไข กฎเกณฑ์ของมันการจดทะเบียนบริษัทก็มีเงื่อนไขการเสียภาษีในแบบที่แตกต่างจากบุคคลธรรมดา และยังขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจอีกด้วย และหากตัดสินใจจะจดทะเบียนแล้วก็อย่าลืมประชุมผู้ถือหุ้นให้ดีว่ามีใครบ้างและเตรียมเงินทุนจดทะเบียนให้พร้อม
พอจดเสร็จแล้วอย่าลืมเรียกเก็บมาให้ได้ทุกคน เพราะถ้าไม่มีการจ่ายจริงมาสุดท้ายก็ได้จ่ายภาษีแพงอยู่ดี เพราะว่าตอนทำบัญชีเงินตรงนี้จะเป็น เงินให้กู้ยืมกรรมการ ซึ่งตามกฎหมายต้องนำมาคิดดอกเบี้ย และดอกเบี้ยที่มีนั้นก็ถูกนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่ 3.3 % ต่อปีมันก็ไม่ได้น้อยเลย ฉะนั้นแล้วไหนๆ ก็จะทำบริษัทประกอบกิจการอะไรก็ตามควรจะวางเงินทุนเอาไว้ให้เรียบร้อย
บทสรุป
การจะจดทะเบียนบริษัทนั้นก็ลองพิจารณาธุรกิจของตัวเองดูว่าขนาดใหญ่แค่ไหน มีรายได้เท่าไหร่ กำไรเยอะไหมและอีกหลาย ๆ ปัจจัยเลย สำคัญอย่าลืมว่าต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คน และหุ้นบริษัทต้องไม่น้อยกว่า 5 บาทและอย่าลืมเรียกเก็บเงินทุนจดทะเบียนจากผู้ถือให้ ให้ได้เป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วให้เรียบร้อย เพื่อให้บริษัทมีเงินหมุนเวียนดี ควรหาข้อมูลความรู้ให้ดีทั้งในด้านกฎหมาย ภาษี การทำบัญชี และอื่น ๆ หรือหาใช้บริการบริษัทรับจดทะเบียนบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือเข้ามาช่วยก็ทำให้เราไม่ต้องกังวลมากนัก และอย่าลืมเตรียมค่าธรรมเนียมและเอกสารให้พร้อมแล้วการจดทะเบียนจะเป็นไปอย่างราบรื่น📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™