หลายคนจะรู้ว่าในไทยเรามีสิทธิหนึ่งที่คนไทยหลายคนนั้นได้รับอยู่แต่อาจจะน้อยคนนักที่รู้ว่าจะต้องใช้ยังไงถึงจะคุ้มกับสิทธิ์ที่มีนั้น นั่นคือ “สิทธิประกันสังคม” ประชาชนทุกคนควรจะต้องรู้เอาไว้เพื่อประโยชน์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกันตนแบบไหนก็ตาม เพราะว่าเราได้เสียประกันสังคมอยู่ตลอด มันไม่ใช่อะไรที่ให้เสียฟรี ๆ หรือจะใช้เมื่อตอนไปหาหมอยามเจ็บป่วยเท่านั้น ยังมีสิทธิด้านอื่น ๆ อีกมากมายเลย หลายคนอาจจะไม่ทราบหรือลืมไปแล้ว สำหรับคนที่ทำงานอยู่ในระบบบัญชี มีการรับเงินเดือน มีการหักเงินค่าประกันสังคมยิ่งต้องรู้ว่าตรงนี้เราทำอะไรกับมันได้บ้าง บทความนี้ชวนมาทำความรู้จักพร้อมกันเลย
กองทุนประกันสังคมใครบ้างที่เกี่ยวข้องและมีสิทธิประกันสังคมได้บ้าง
มาทำความเข้าใจก่อนว่าสิทธิประกันสังคมนี้มาจากอะไร นั่นคือมาจากกองทุนที่จะทำการให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบตามเงื่อนไข อย่างการเจ็บ ป่วย เกิดอุบัติเหตุ พิการ เสียชีวิต ที่ไม่ได้มาจากการทำงาน แล้วยังครอบคลุมไปถึงในตอนที่คลอดบุตรด้วย แล้วยังทดแทนในกรณีของการชราภาพ การว่างงาน ตกงาน ซึ่งในกองทุนนี้ผู้ที่จะต้องจ่ายประกันสังคมและมีความเกี่ยวข้องกัน จะมีเป็นรัฐบาล นายจ้าง และ ผู้ประกันตน มาทำความเข้าใจในแต่ละหัวอย่างกันหน่อยว่ามีหน้าที่อะไรบ้างดังนี้
- ผู้ประกันตน หมายถึง ผู้ที่อยู่ในระบบของประกันสังคมและมีสิทธิประกันสังคมตามกฎหมายและตามเงื่อนไขของกองทุน โดยจะเป็นลูกจ้างที่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปี หากเป็นลูกจ้างที่อายุถึง 60 ปีแล้ว นายจ้างยังให้ทำงานต่อก็ยังคงอยู่ในระบบของการประกันตนเช่นเดิม โดยในกรณีนี้จะมีแบ่งแยกย่อยออกไป 3 กลุ่ม คือคนที่ทำงานประจำ ก็จะต้องจ่ายประกันไปตามที่กฎหมายกำหนด กลุ่มต่อไปคือคนที่เคยทำงานประจำ แต่ลาออก ไม่ได้ทำงานต่อ และเคยจ่ายประกันสังคมมาไม่ต่ำกว่า 12 เดือนในช่วงที่ทำงาน ออกจากนั้นไปแล้วยังไม่ถึง 6 เดือนแต่ยังเต็มใจที่จะจ่ายประกันสังคมต่อ และกลุ่มสุดท้ายนั้นจะเป็นผู้ที่ทำอาชีพอิสระต่าง ๆ หรือเรียกว่าฟรีแลนซ์ ก็เลือกจ่ายเงินสมทบเองได้เลย
- นายจ้าง หมายถึง จะเป็นผู้ที่จ้างงานผู้คน โดยมีตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไปและจะต้องทำการขึ้นทะเบียนนายจ้างและลูกจ้างใน 30 วัน หากมีการรับลูกจ้างใหม่ก็จะต้องทำการแจ้งใหม่ใน 30 วัน อีกเหมือนกัน จะต้องทำแบบนั้นเสมอตามกฎ
- เงินสมทบ หมายถึง เป็นเงินที่ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง จะต้องนำจ่ายให้แก่กองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย ในส่วนของลูกจ้างนั้นจะถูกหักไปอัตโนมัติในวันที่เงินเดือนออกอยู่แล้ว ตามฐานของเงินเดือนแต่ละคน สำหรับคนที่อยู่ในระบบ แบบกลุ่มทำงานประจำนั้นจะถูกหักไปร้อยละ 5 ของค่าจ้างก็ร่วมด้วยเท่า ๆ กัน พร้อมกับรัฐเองก็ร่วมด้วย 75 สิทธิประกันสังคมเลยเป็นอีกหนึ่งประกันที่ทุกคนควรจะมีโดยเฉพาะคนที่เป็นพนักงานประจำ
พอจะเข้าใจถึงผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทุนประกันสังคมแล้ว ในลำดับถัดไปมาเรียนรู้ถึงสิทธิประกันสังคมกันต่อ เพราะมีหลายคนมาก ๆ ที่เป็นผู้ประกันตนแต่ไม่รู้เลยว่าตนเองมีสิทธิอะไรในตรงจุดนี้บ้าง บางคนทำให้เสียสิทธิไปอย่างน่าเสียดาย เพราะทุกอย่างมันมีกฎเกณฑ์เงื่อนไขของมันอยู่หากไม่ทำตามหรือไม่สนใจก็เสียทิ้งไปเฉย ๆ อย่างน่าเสียดายพอสมควร
ทำความเข้าใจถึงสิทธิประกันสังคมที่ประชาชนที่เป็นผู้ประกันตนต้องรู้
หากคุณเป็นพนักงานประจำคนหนึ่งจะเป็นแบบโรงงาน พนักงานบริษัท หรือแบบไหนก็ตามที่เป็นงานประจำแล้วอยู่ในระบบของประกันสังคม สิทธิประกันสังคมเป็นสิ่งจำเป็นมากที่จะต้องรู้เอาไว้ จริง ๆ เป็นข้อมูลที่ประชาชนทุกคนควรรู้เลยก็ว่าได้ เพราะค่อนประเทศของคนไทยอยู่ในระบบนี้ทั้งนั้น จะจากกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนเงินทดแทน ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ควรทราบเอาไว้เพื่อจะได้ไม่เสียสิทธิ์ทิ้ง ครั้งนี้ชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประกันสังคมกันก่อนมีอะไรบ้างมาติดตามกันได้เลย
- สิทธิประกันสังคมที่ใช้ในยามเจ็บป่วย
สำหรับกรณีที่จะใช้สิทธิในยามที่เจ็บป่วยนั้นผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนมาแล้ว 3 เดือน ไม่น้อยกว่านี้ ก็จะมาแยกเป็นเจ็บป่วยแบบทั่วไป ฉุกเฉิน และ อุบัติเหตุ ทั้งหมดนี้ครอบคลุมอยู่ในสิทธิประกันสังคมด้วย แต่อย่าลืมใช้กับโรงพยาบาลที่รับประกันสังคมด้วยนะ หากป่วยทั่ว ๆ ไป ก็ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มเลย แต่มีโรคยกเว้นอยู่ 14 โรค แต่ถ้าฉุกเฉินสามารถไปโรงพยาบาลที่ใกล้สุดได้ แต่จะต้องทำการสำรองจ่ายก่อนแล้วค่อยเอาเอกสารไปเบิกกับทางประกันสังคมภายหลัง และหากเป็นกรณีอุบัติเหตุก็ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ เช่นกันจะต้องสำรองก่อนค่อยเบิกภายหลัง แต่ถ้าหากยังเลือกได้ให้ไปที่โรงพยาบาลที่รับประกันสังคมจะดีกว่า
ในตอนที่ต้องเบิกเงินคืนจากประกันสังคมในกรณีที่ไปโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ได้รองรับ หากเป็นโรงพยาบาลรถจะสามารถรักษาได้ทั้งการเจ็บป่วยทั่วไปและฉุกเฉินแบบไม่จำกัดจำนวนครั้งเลย ถ้าเป็นผู้ป่วยนอกเบิกได้ตามจริงตามจำเป็น และหากเป็นผู้ป่วยในก็เบิกตามจริงได้แต่จะไม่รวมกับค่าห้อง ค่าอาหาร และต่อวันเบิกได้ไม่เกิน 700 บาท เป็นสิทธิประกันสังคมแบบเบื้องต้นเลยที่ทุกคนจะต้องรู้เอาไว้
หากเข้าโรงพยาบาลเอกชนถ้าเป็นผู้ป่วยนอกจะเบิกได้ไม่เกิน 1000 บาท ผู้ป่วยในแบบไม่ได้เข้า ICU ไม่เกิน 2000 บาทต่อวัน สำหรับค่าอาหาร ค่าห้อง จะไม่เกิน 700 บาท แต่ถ้าหากมีการเข้า ICU จะได้ไม่เกิน 4500 บาทต่อวัน แต่ถ้าผ่าตัดใหญ่จะได้ไม่เกิน 8000 – 16000 บาท อยู่ที่ระยะเวลาของการผ่าตัดด้วย และสำหรับการทำทันตกรรมให้เลือกที่รับประกันสังคมด้วย โดยในการใช้สิทธิประกันสังคมด้านนี้จะได้ไม่เกิน 900 บาท/ปี บางคนก็ไม่เคยได้ใช้สิทธิตรงนี้เลย แนะนำว่าใช้ก็ดีอย่างน้อยใช้ตรวจสุขภาพช่องปากก็ได้ 900 บาททำอะไรได้ตั้งเยอะเหมือนกัน
- สิทธิประกันสังคมใช้ในกรณีคลอดบุตร
สำหรับกรณีนี้ผู้ที่จะสามารถใช้สิทธิได้จะต้องมีการจ่ายเงินสมทบให้กับประกันสังคม 15 เดือน เป็นอย่างน้อย มันดีตรงที่เวลาคลอดนั้นจะเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13000 บาท/ครั้ง แบบไม่จำกัดจำนวนเลย หากเป็นผู้หญิงจะยังได้รับเงินสงเคราะห์เมื่อลาคลอดด้วย แบบเหมาจ่าย ร้อยละ 50 ของเงินเดือน ระยะเวลา 90 วัน แต่ว่าสำหรับสิทธิประกันสังคมแบบที่ได้รับเงินสงเคราะห์นี้จะได้เฉพาะบุตรคนแรกกับคนที่สอง คนอื่น ๆ ไม่ได้แล้ว หากทั้งสามีภรรยาอยู่ในระบบประกันสังคมทั้งคู่ จะใช้สิทธิได้เพียงคนเดียวเท่านั้น
- สิทธิประกันสังคมใช้ในกรณีที่ทุพพลภาพ สำหรับกรณีนี้ผู้ประกันตนจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบกองทุนมาแล้วไม่น้อยไปกว่า 3 เดือนจึงจะเข้าเงื่อนไข หากทุพพลภาพนั้นจะรับเงินทดแทนรายได้ คิดเป็นร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจะได้ตลอดชีพที่ยังคงทุพพลภาพร้ายแรงอยู่ แต่ถ้าหากไม่ได้ร้ายแรงอะไรก็รับตามเงื่อนไขอื่นปกติ ในส่วนของค่ารักษา ค่าบริการอะไรเกี่ยวกับทางการแพทย์ ใช้สิทธิประกันสังคมจ่ายได้ตามจริงและเหมาะสมเลย หากเข้าโรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้ป่วยนอก จ่ายให้ไม่เกิน 2000 บาท/เดือน ผู้ป่วยในไม่เกิน 4000 บาท/เดือน ค่าบริการแพทย์ ค่ารถจะจ่ายแบบเหมาไม่เกิน 500 บาท/เดือน
นอกจากนี้ยังมีเงินบำเหน็จชราภาพด้วย เมื่อมีมติว่าเป็นผู้ที่ทุพพลภาพ แต่หากต่อมาแล้วได้เสียชีวิต สิทธิประกันสังคมยังจะจ่ายเป็นค่าทำศพให้ด้วย 40,000 บาท พร้อมเงินสงเคราะห์ แต่ว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ไม่ถึง 10 ปี ซึ่งเงินตรงนี้จะได้เท่าเงินเดือนหรือค่าจ้าง 2 เดือน แต่ถ้าหากจ่ายเยอะกว่านั้น เกิน 10 ปีแล้ว เงินที่ได้รับเป็นเงินสงเคราะห์นี้จะได้เท่ากับค่าจ้าง 6 เดือนนั่นเอง
- สิทธิประกันสังคมเมื่อเสียชีวิต จะได้อะไรบ้าง ซึ่งตรงกรณีนี้จะต้องไม่เกินจากการทำงาน และมีการจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 1 เดือน สิทธิข้อนี้จะได้อย่างแรกเลยคือเงินค่าทำศพ 40,000 บาท เงินสงเคราะห์ซึ่งผู้ที่จะได้รับเงินส่วนนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในหนังสือของผู้เสียชีวิตว่าจะมอบให้ใคร แต่ถ้าไม่ได้บออกไว้ ก็มอบเฉลี่ย ๆ ให้กับครอบครัว เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา หรือ บุตร เป็นต้น โดยจะได้เท่า ๆ กัน สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคม 36 เดือนขึ้น แต่ยังไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินเท่าค่าจ้าง 2 เดือน แต่ถ้าจ่ายไปแล้ว 120 เดือนขึ้นจะได้เงินสงเคราะห์เท่าค่าจ้างเงินเดือน 6 เดือน สำหรับการชราภาพนั้น ทางทายาทสามารถติดต่อประกันสังคมเพื่อขอรับเงินคืนกรณีชราภาพได้ด้วยนะ แต่ว่าจะต้องทำภายใน 2 ปี
- สิทธิประกันสังคมกรณีสงเคราะห์บุตร สำหรับผู้ประกันตนที่มีบุตรจะใช้สิทธินี้สามารถทำได้แต่ว่าเงื่อนไขคือ จะต้องมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือน เป็นอย่างต่ำ และจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยนะ จะไม่นับรวมบุตรอื่น ๆ เช่น บุตรบุญธรรม หรือการยกบุตรให้แก่ผู้อื่น จะใช้สิทธิประกันสังคมกรณีนี้ได้ ซึ่งเมื่อทำการแจ้งรับสิทธิแล้วสิ่งที่จะได้คือ เงินสงเคราะห์จะได้แบบเหมาจ่าย 400 บาท/เดือน โดยจะได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่แรกเกินยาว ๆ ไปจนถึงอายุ 6 ปีเต็ม แต่ว่าจะขอใช้สิทธินี้ได้ไม่เกิน 3 คนเท่านั้นนะ
- สิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพ ก็จะแบ่งออกเป็นชราแบบได้บำนาญกับบำเหน็จ กรณีการได้บำนาญชราภาพนั้นจะต้องจ่ายเงินสมทบแก่กองทุนประกันสังคมไม่น้อยไปกว่า 180 เดือน แบบไม่ต้องติด ๆ กันก็นับ โดยจะเป็นผู้ที่อายุ 55 ปี และเป็นผู้ที่สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว โดยจะได้รับเป็นรายเดือน ได้ร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย สำหรับคนที่จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้เพิ่มอีกร้อยละ 5 ตรงระยะเวลาที่เกินมาทุก ๆ 12 เดือน
สิทธิประโยชน์สำคัญที่สำคัญ
ในส่วนของการรับแบบเงินบำเหน็จนั้นสิทธิประกันสังคมข้อนี้ก็มีเงื่อนไขว่าจ่ายไม่ครบ 180 เดือน อายุ 55 ปี หรือเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ แล้วสิทธิการเป็นผู้สิ้นสุด หากจ่ายเงินเข้ากองทุนน้อยกว่า 12 เดือนจะได้เป็นเงินจำนวนเท่ากับเงินที่สมทบเข้ามา และถ้าจ่ายเงินเข้ากองทุน 12 เดือนขึ้นไป จะได้เท่ากับเงินที่จ่ายสมทบบวกกับนายจ้างจ่ายสมทบให้ด้วย และมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ อีกตามที่กำหนด หากเสียชีวิตใน 60 เดือน นับแต่วันที่ได้รับสิทธิได้บำนาญจะได้บำเหน็จ 10 เท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับก่อนจะจากโลกไป
- สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน ข้อนี้ก็สำคัญเหมือนกัน มีหลายคนเลยที่เวลาว่างงาน หรือออกจากงานประจำมา แต่ไม่รู้ว่าตนเองนั้นใช้สิทธิตรงนี้กับทางประกันสังคมได้ ก็เสียเงินไปอย่างน่าเสียดายมาก ๆ สำหรับเงื่อนไขนั้นจะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินเข้ากองทุนมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ว่างนานแล้ว 8 วันขึ้นไป แต่สำคัญอีกอย่างคือจะต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่กรมจัดหางานด้วย ต้องทำภายใน 30 วัน นับจากวันแรกที่ออกจากงานเลย
และการรายงานตัวว่าเป็นผู้ว่างงานนี้จะต้องทำ 1 ครั้ง/เดือนเป็นอย่างน้อย หากว่างงานนาน และยังคงเป็นผู้ที่ยังสามารถทำงานได้ปกติ ไม่ปฏิเสธหากมีการฝึกงาน และพร้อมทำงานที่ทางกรมแรงงานจัดให้ ในกรณีการว่างงานนี้จะต้องไม่เป็นการกระทำผิด เช่น การทุจริต การจงใจทำลายชื่อเสียงบริษัทหรือเจ้านาย หรือกรณีความผิดร้ายแรงอื่น ๆ แบบนี้จะไม่ได้รับ หากโดนเลิกจ้างปกติจะได้รับเงินในตอนว่างงานอยู่ปีละไม่เกิน 180 วัน ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย และสูงสุดก็ไม่เกิน 15,000 หากลาออกหรือหมดสัญญา จะได้รับไม่เกิน 90 วัน ร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ยเหมือนกัน หากว่างงานเพราะโดนเลิกจ้างปีนึงหลายครั้งจะได้รับรวมกันทุกครั้งไม่เกิน 180 วัน แต่ถ้าลาออกหรือหมดสัญญาหลายครั้งในปีเดียวจะได้รับเงินทดแทนรวมกันต้องไม่เกิน 90 วันนั่นเอง
บทสรุป
สิทธิประกันสังคม การจ่ายเงินสมทุบกองทุนประกันสังคมมันจะมีประโยชน์มากหากเราทำความเข้าใจในสิทธิที่จะพึงได้รับในแต่ละกรณี ซึ่งถือว่ามันดีมาก ๆ สำหรับใครที่อยู่ในระบบประกันสังคมอยู่อย่าลืมเช็คด้วยว่าตนเองพลาดอะไรไปไหม โดยเฉพาะกรณีว่างงานหลายคนอาจเผลอทิ้งเงินทดแทนไปเฉย ๆ เพราะความไม่รู้ของตนเอง ทั้งการชราภาพ เจ็บป่วย คลอดบุตร การโดนเลิกจ้าง การลาออกจากงาน และอื่น ๆ ล้วนมีสิทธิประกันสังคมที่เราจะต้องดูเงื่อนไขว่าอะไรส่วนไหนบ้างที่เราจะได้เงินทดแทนกลับมา อย่าลืมว่าเราจ่ายตลอด หลายบริษัทหักไปจากเงินเดือนอัตโนมัติเลย ไม่ใช่เงินน้อย ๆ ฉะนั้นอย่าให้ตนเองเสียสิทธิอะไรจากประกันสังคมไปเป็นอันขาด📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™