การเป็นผู้ประกอบการที่ดีไม่เพียงมุ่งมั่นในการสร้างผลกำไรเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ ตนเองและพนักงานเท่านั้นยังต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวมคือการทำบัญชีและเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นการแสดงตนว่าทำธุรกิจด้วยความโปร่งใส ซึ่งทุกวันนี้จะพบว่ามีผู้ประกอบการหลายคนตั้งใจหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเพราะคิดว่าเป็นภาระที่ไม่จำเป็นต้องจ่าย ทั้งที่จริงแล้วเรื่องนี้มีความสำคัญมากเพราะสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ ดังนั้นหากต้องการเป็นผู้ประกอบการที่ดีแล้วต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษีให้ครบรอบด้าน อย่างวันนี้เราชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีซื้อหรือภาษีที่ต้องแสดงรายการเมื่อจะไปยื่นภาษีตามกฎหมาย ส่วนจะมีความหมายอย่างมาติดตามกันได้ในบทความนี้เราชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ภาษีซื้อ”
ภาษีซื้อ คืออะไร
สำหรับคนที่สงสัยว่า ภาษีซื้อ อะไรให้ลองคิดตามง่าย ๆ ว่า เป็นภาษีที่เจ้าของธุรกิจจะต้องจ่ายเมื่อมีการซื้อสิ่งของหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อมาทำการค้า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สำนักงาน วัสดุที่ใช้ในการทำงานหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ใช้ในการทำกิจการ หลังจากจ่ายแล้วผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย 7% ทั้งนี้จะต้องรู้หลักเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อด้วยเพราะในกรณีที่ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่สามารถจะแยกได้ว่าภาษีซื้อนั้นเกิดจากการกิจการประเภทใด กรณีนี้จะต้องมีการนำมาเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของธุรกิจนั้น ๆ
สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ภาษีซื้อ
ภาษีซื้อ แตกต่างจากภาษีขายอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการทำรายงานภาษีซื้อแล้วพบว่าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ในข้อนี้ผู้ประกอบการสามารถที่จะขอคืนภาษีได้เป็นเงินหรือนำส่วนเกินนี้ไปใช้เป็นเครดิตในการเสียภาษีครั้งต่อไป ไม่เพียงเรื่องนี้เท่านั้นที่ผู้ประกอบการจะต้องรู้ ยังมีเรื่องต้องรู้อื่น ๆ อีกด้วย มาดูกันว่าเรื่องไหนบ้างที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีซื้อ
- หากเริ่มทำกิจการแล้วไม่ได้น้อยกว่า 6 เดือนแต่ยังไม่มีรายได้ สามารถเฉลี่ยภาษีซื้อได้ตามส่วนของประมาณรายได้
- ต้องทำความเข้าใจว่า ภาษีซื้อ มี 2 ประเภท แต่ละประเภทมีความหมายและข้อบังคับต่างกันดังนี้
- ภาษีซื้อที่กฎหมายให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือกล่าวง่าย ๆ คือสามารถขอคืนภาษีซื้อได้สำหรับภาษีประเภทนี้เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการรายอื่น เช่น การรับโอนสินค้านำเข้า การขายทอดตลาด2.
- ภาษีซื้อต้องห้ามหรือ ภาษีซื้อ ที่ตามกฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขาย ซึ่งมีรายละเอียดที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจว่าหมายถึงอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไรเพื่อที่จะไม่ต้องนำมาทำรายงานภาษีซื้อให้เสียเวลา
ภาษีซื้อ ต้องห้ามคืออะไร ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้ก่อนจะยื่นภาษี
ลักษณะของ ภาษีซื้อ ต้องห้ามจะไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ สืบเนื่องมาจากเวลาไปซื้อของจากผู้ประกอบการรายอื่น ผู้ประกอบการรายนั้นไม่ได้ออกใบกำกับภาษีหรือมีการออกแต่ระบุเป็นชื่อบุคคลอื่น นอกจากนั้นยังภาษีซื้อต้องห้ามยังรวมถึงกรณีที่ใบกำกับภาษีมีข้อความที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ดังนั้นการทำรายงานภาษีซื้อจึงจะต้องทำอย่างเต็มรูปแบบ ครบถ้วนตามกฎหมายและอีกหนึ่งลักษณะที่จัดว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามคือเป็นภาษีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรงแม้ว่าในการซื้อสิ่งนั้นจะได้ใบกำกับภาษีก็ตาม หากแบ่งเป็นข้อ ๆ เกี่ยวกับลักษณะของภาษีซื้อต้องห้าม เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ได้แก่
- ไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีได้
- ข้อความในใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง สาระสำคัญขาดหายไปคือไม่มีข้อความตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
- ภาษีซื้อ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการที่แม้จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วก็ตาม
- ภาษีที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อรองรับ เช่น ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าที่พักและอื่น ๆ ที่จัดว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง
- ภาษีซื้อที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี เช่น เป็นบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแม้จะเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วแต่อยู่ต่างประเทศก็จะนับว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้าม
- ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือโอนรถยนต์ รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 10 คนหรือรถที่ใช้นั่งเป็นปกติในชีวิตประจำวัน
- ภาษีซื้อ ตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ภาษีซื้อ ต้องห้ามยังมีรายละเอียดอีกปลีกย่อยอีกจำนวนมากดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องเช็กรายละเอียดให้มั่นใจก่อนเพื่อที่จะไม่ต้องนำภาษีซื้อต้องห้ามไปใช้ในการทำรายงานภาษีซื้อเพราะหากนำไปคำนวณรวมเมื่อโดนตรวจสอบจากกรมสรรพากรผู้ประกอบการจะโดนเรียกเก็บค่าปรับเป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการนำภาษีซื้อต้องห้ามมาคำนวณ ซึ่งค่าปรับในส่วนนี้จะมี 2 กรณี
1.เบื้อปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ในส่วนนี้หากผู้ประกอบการยื่นภาษีซื้อต้องห้ามที่ไม่อาจจะแสดงใบกำกับภาษีได้ รวมถึงใบกำกับภาษีที่ไม่สมบูรณ์ รวมถึงภาษีที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบการกิจการ
2.เบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ในส่วนนี้หากคุณยื่นภาษีปลอมหรือจัดทำใบกำกับภาษีปลอมจะถูกเรียกเก็บค่าปรับ
ทั้งนี้ค่าปรับจะเรียกเก็บในจำนวนที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการนำส่งภาษีช้าเป็นเวลากี่วัน เช่น ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลัง 15 วันจะต้องเสียเบี้ยปรับร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ, ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลัง 15 วันแต่ไม่เกิน 30 วันนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดจะต้องเสียเบี้ยปรับร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ หากไม่อยากจะเสียค่าปรับในส่วนนี้ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าภาษีซื้อแต่ละรายการถูกต้องตามกำหนดไม่ใช่ ภาษีซื้อ ต้องห้าม เพราะสุดท้ายแล้วนอกจากเสียเวลาในการเก็บรวบรวมรายการภาษียังจะโดนเรียกเก็บค่าปรับอีกด้วย ซึ่งแต่ว่าจะเป็นจำนวนเงินไม่มากแต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่ควรเกิดขึ้นบ่อยเพราะถือว่าเป็นรายจ่ายไม่จำเป็น การให้ความสำคัญในเรื่องยื่นภาษีจึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรานเล็กหรือรายใหญ่ก็ตามแต่
เป็นผู้ประกอบการทำธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และรู้หน้าที่ยื่นภาษีให้ครบถ้วนเป็นพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจไปสู่ความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ หากว่าคุณเป็นผู้ประกอบการหรือกำลังวางแผนเปิดธุรกิจใหม่ สิ่งสำคัญจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีซื้อและภาษีทุกประเภท เพราะในแต่ละปีจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกเรียกเก็บค่าปรับ ทั้งนี้ยังช่วยให้การเงินการบัญชีมีระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น สามารถป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการฝ่ายบัญชีได้ด้วย เนื่องจากการยื่นภาษีจะต้องรวบรวมข้อมูลแสดงรายรับรายจ่ายและภาษีต่าง ๆ ให้ถูกต้องครบถ้วน ทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินสภาพทางการเงินของธุรกิจได้อีกด้วย ดังนั้นหากวันนี้คุณยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับภาษีซื้อหรือภาษีต่าง ๆ ข้อมูลข้างต้นจึงมีความสำคัญถือว่าช่วยสร้างความเข้าใจได้ดีทีเดียว อย่างเรื่องของภาษีซื้อ เหตุผลที่ผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจเพื่อรวบรวมทำรายงาน ภาษีซื้อ ให้ครบถ้วนและไม่นำภาษีซื้อต้องห้ามมารวมด้วยจะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับโดยใช่เหตุ อย่างการที่ผู้ประกอบการตั้งใจนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในเรื่องนี้ถือเป็นความผิดและไม่สามารถจะขอลดเบี้ยปรับได้หากว่าคุณยื่นภาษีช้า
บทสรุป
จะเห็นว่าสาระทั้งหมดเกี่ยวกับภาษีซื้อมีความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ในการดำเนินกิจการโดยตรง ดังนั้นห้ามมองข้ามเด็ดขาดทำความเข้าใจไว้ก่อนได้เปรียบทำให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างไร้ปัญหาในเรื่องของการโดนค่าปรับเสียภาษีช้าหรือยื่นภาษีไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่สำคัญทำให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญในการเก็บรักษาใบกำกับภาษีเพื่อที่จะได้นำมาพิจารณาว่าเป็น ภาษีซื้อ หรือภาษีขาย ก่อนจะนำมายื่นให้กรมสรรพากรในการเสียภาษี จึงนับว่าทุกประเด็นเกี่ยวกับภาษีซื้อเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ผ่านมาหากผู้ประกอบการรายใดยังไม่ได้เช็กรายละเอียดเหล่านี้แนะนำให้กลับไปเช็กว่าใบกำกับภาษีใดเป็นภาษีซื้อหรือภาษีขาย สร้างความถูกต้อง โปร่งใสในการทำธุรกิจ จะได้ดำเนินกิจการอย่างสบายใจและมุ่งสร้างผลกำไรและสร้างรายได้ต่อไปโดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังว่าตนเองได้ยื่นภาษีถูกต้องครบถ้วนหรือเปล่า📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™