3 วิธีจดทะเบียนบริษัทเองง่าย ๆ

3 วิธีจดทะเบียนบริษัทเองง่ายๆ

ประโยคที่เรามักจะได้ยินในละครสั้น “ฉันเป็นประธานบริษัท” อาจไม่ใช่เรื่องยากและไกลตัวขนาดนั้น หากคุณอยากจะทำธุรกิจและมีบริษัทเป็นของตัวเอง สามารถจดทะเบียนบริษัทเองได้ง่าย ๆ เลย สำหรับใครที่กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่และหาขั้นตอนในการทำ เรามี 3 วิธีสำคัญที่จะมองข้ามไม่ได้เลย หากต้องการจะจดทะเบียนยังไงก็ต้องทำ แต่ถ้าใครไม่อยากจะทำเองลดความผิดพลาดลงได้ก็จ้างบริการรับจดบริษัทได้มีหลายที่ให้บริการอยู่แต่จะต้องเลือกให้ดีนะ และสำหรับใครที่ต้องการจะทำทุกขั้นตอนด้วยตนเองมาอ่านบทความนี้ให้จบแล้วลุยเองได้เลย

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    3 วิธีจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเองไม่ยากเพียงทำตามขั้นตอน

    ก่อนที่จะทำการไปจดทะเบียนบริษัทอย่าลืมวางแผนให้เรียบร้อยก่อน เช่น บริษัทคุณจะใช้ชื่อว่าอะไร ควรตั้งเผื่อไว้ด้วยเผื่อมีคนใช้ชื่อที่ต้องการไปแล้ว ซึ่ง 3 วิธีหลัก ๆ ที่จะต้องทำเลยในการขอจดทะเบียนเองคือ การจองชื่อบริษัท การยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ และ ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทนั่นเอง มาดูแต่ละอย่างมีขั้นตอนอย่างไร

    1. การจองชื่อบริษัทก่อนยื่นขอจดทะเบียน

    แน่นอนว่าทุกอย่างมีเงื่อนไข ไม่ใช่ว่าเราจะใช้ได้ทุกชื่อที่เราต้องการจะจดทะเบียน บางชื่อก็อยู่ในข้อห้ามตามกฎหมายเลย ซึ่งหลักเกณฑ์การจองชื่อก็บอกไว้ว่าต้องไม่มีข้อความเหล่านี้เกี่ยวข้องอยู่คือ

    • พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี รัชทายาม พระบรมวงศานุวงค์ในพระราชวงค์ปัจจุบัน ยกเว้นแต่ได้รับอนุญาตแล้วก็เอามาจองเพื่อจดทะเบียนบริษัทได้
    • ชื่อประเทศ ห้ามเลยเอามาตั้งชื่อบริษัทโดด ๆ ไม่ได้ แต่ว่าใช้ในวงเล็บต่อท้ายชื่อได้นะและอยู่หน้าคำว่า จำกัด ได้
    • ชื่อที่อาจจะนำไปสู่การเข้าใจผิดว่าเป็นรัฐบาล กระทรวง กรม ทบวง ส่วนราชการ หน่วยงานราชการต่าง ๆ ห้ามเลย
    • ชื่อของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ต่าง ๆ เอามาใช้ไม่ได้เด็ดขาด แต่ก็ยกเว้นว่าถ้าได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงแล้วก็ใช้ได้

    สำหรับขั้นตอนในการจองชื่อบริษัทก็จะทำได้ 2 ช่องทาง คือ จองได้ผ่านทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่อยู่ในเขตตนเองได้เลยที่เป็นเขตที่ธุรกิจตั้งอยู่และอีกช่องทางคือการจองชื่อผ่านอินเตอร์เน็ตในเว็บกรมพัฒนาธุรกิจการค้าคือเว็บ http://www.dbd.go.th/ อย่าลืมดูลิ้งก์ให้ดี เพราะช่วงนี้มิจฉาชีพเยอะ การจองชื่อนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้ถือหุ้น หากเป็นห้างหุ้นส่วน ก็จะเป็นกรรมการยื่นขอจองได้ และคนนั้นต้องเซ็นลงนามในใบอนุมัติการจองด้วยนะ และสามารถจองได้ 3 ชื่อ เพื่อการพิจารณา โดยเรียงจากชื่อแรกก่อน ถ้าซ้ำหรือไม่ผ่านก็จะพิจารณาชื่อจำดับถัดไป

    1. ขั้นตอนยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

    ยังไม่หมดขั้นตอนนะ ไม่ใช่ว่ามีการจองชื่อแล้วจะขอจดทะเบียนบริษัทได้เลย ต้องทำข้อนี้ก่อนคือการยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ตัวนี้จะเป็นเอกสารหนังสือแสดงความต้องการตั้งบริษัท ในเอกสารนี้จะมีการระบุรายละเอียด วัตถุประสงค์ ที่อยู่ จำนวนหุ้น และ ข้อมูลต่าง ๆ ข้อผู้ก่อตั้งด้วย ซึ่งจะมาทำสิ่งนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราจองชื่อแล้วนะ ต้องทำหลังจองชื่อได้แล้ว 30 วัน หากช้าก็ต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนการจองชื่อเลย และเสี่ยงที่ชื่อเดิมนั้นอาจโดนบริษัทอื่นเอาไปใช้แล้ว ฉะนั้นอย่าช้าเด็ดขาด การขอหนังสือนี้ก็จะให้ผู้ก่อตั้ง 2 คนขึ้นไปเข้ากันจัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและเอกสารประกอบเพื่อจะได้นำไปจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเองต่อ

    1. ขั้นตอนการยื่นขอจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเอง

    มาถึงขั้นตอนนี้แล้วแสดงว่าคุณได้ชื่อบริษัทและได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเองก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรนักเพียงทำตามขั้นตอนดังนี้

    • เปิดให้จองหุ้น นัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งพอเราได้หนังสือบริคณห์สนธิมาแล้วผู้ที่ก่อตั้งจะต้องให้หุ้นบริษัทที่จะก่อตั้งนั้นมีผู้เข้ามาจองหุ้นครบตามจำนวน คนที่จะมาเป็นผู้ถือหุ้นนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ร่วมก่อตั้งก็ได้ เป็นใครก็ได้ โดยให้ถือคนละ 1 หุ้นขึ้นไป
    • พอมีผู้ถือหุ้นครบแล้วจะจดทะเบียนบริษัทได้เลยไหม ยังก่อนอีกนิด ๆ ขั้นต่อมาคือต้องประชุมบริษัท ประชุมการก่อตั้ง โดยจะต้องมีการนัดประชุมให้กับคนที่จองหุ้นไปทั้งหมดล่วงหน้า 7 วัน เป็นอย่างน้อย
    • ขั้นตอนต่อมาคือจัดประชุมการตั้งจดทะเบียนบริษัท โดยในวาระการประชุมนั้นจะต้องมีประเด็นเหล่านี้อยู่ด้วย มีอะไรบ้างดังนี้เลย
    • ระเบียบข้อบังคับของบริษัทจะตั้งระเบียบว่าอย่างไร
    • การเรียกชำระค่าหุ้น ข้อนี้สำคัญมาก
    • ตั้งคณะกรรมการบริษัทและอำนาจที่กรรมการมีคืออะไร
    • เลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จะได้ตรวจสอบงบการเงินได้ตรงนี้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้นนะ
    • มีการรับรองสัญญาที่ผู้ก่อตั้งทำขึ้นมาก่อนที่จะยื่นจดทะเบียนบริษัท
    • ค่าตอบแทน กำหนดที่เท่าไหร่ เริ่มต้นถ้ามี
    • กำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ กำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นว่ามีสภาพและสิทธิแบบไหนอย่างไร
    • พอประชุมเสร็จและตั้งกรรมการบริษัทเรียบร้อย ผู้ก่อตั้งก็จะมอบหมายงานให้กรรมการไปดำเนินการต่อเลย สำหรับกรรมการนั้นจะตั้งเรียกให้ผู้ก่อตั้งและผู้จองหุ้น จ่ายค่าหุ้น ร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้นเป็นอย่างน้อย พอได้รับชำระแล้ว ก็ให้ทำเรื่องยื่นขอจดทะเบียนบริษัทจะได้ก่อตั้งจริง ๆ ได้ แล้วเอาเอกสารนั้นไปขอจดด้วยตนเองใน 3 เดือน หลังจากการประชุมบริษัท สามารถยื่นได้ 2 ช่องทาง จะไปเองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือเว็บ http://www.dbd.go.th/ ก็ได้แล้วแต่สะดวกเลย หากทำล่าช้าการประชุมจะถือเป็นโมฆะ ต้องจัดประชุมใหม่อีกรอบนะ
    • หลังจากที่ทำการยื่นแล้วก็จะต้องรอให้นายทะเบียนตอบรับคำขอจดทะเบียนบริษัท พอได้รับเอกสาร หลักฐานการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าเป็นอันเสร็จ ถูกตามกฎหมาย ก็จะมีบริษัทเป็นของตัวเองแล้ว

    การยื่นขอจดทะเบียนบริษัทมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

    สำหรับใครที่อยากจะตัดค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทาง ค่าอื่น ๆ ภายนอกออกไปก็สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้เลย สะดวกกว่าด้วย และสำหรับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ นั้นจะมีจ่ายเป็น 2 ช่วง โดยจะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่การขอหนังสือบริคณห์สนธิแล้วและอีกช่วงก็เป็นต้นที่ยื่นขอจดทะเบียนบริษัทนั่นเอง มีอะไรบ้างดังนี้

    • ค่าธรรมเนียมการจดหนังสือบริคณห์สนธิ 500 บาท
    • ค่าธรรมเนียมจดบริษัทนิติบุคคล จะมีเป็นจดแบบบริษัทจำกัด 5000 บาท และถ้าจดเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จะอยู่ที่ 1000 บาท
    • ค่าออกหนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท 200 บาท
    • ค่าใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนอีก 100 บาท
    • ค่าคัดเอกสารสำคัญ คิดเป็นหน้า 50 บาท/หน้า
    • ค่าตรวจสอบเอกสารคำขอ ตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้น 100 บาท

    อย่าลืมเตรียมเงินค่าธรรมเนียมเหล่านี้ให้พร้อม เป็นเพียงค่าใช้จ่ายหลัก ๆ เบื้องต้นเท่านั้น อย่าลืมศึกษารายละเอียดให้ดีว่าจะต้องจ่ายอะไร ส่วนไหนบ้างจะได้ไม่ขาดตกบกพร่องในแต่ละขั้นตอนของการขอจดทะเบียนบริษัท จริง ๆ ก็ถือว่าไม่ได้แพงอะไรเลย

    เอกสารที่จะต้องใช้ในการขอจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเอง

    มาถึงขั้นตอนของการเตรียมเอกสาร ในแต่ละส่วนที่ไปทำเรื่องขอจด เอกสารจะต้องพร้อม ซึ่งการจะจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเองก็ต้องใช้ โดยจะแยกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ จะมีส่วนช่วงการขอหนังสือบริคณห์สนธิและช่วงการยื่นขอจดทะเบียนมาดูกันว่าแต่ละช่วงนั้นต้องใช้เอกสารสำคัญอะไรบ้าง

    • เอกสารที่จะใช้ขอหนังสือบริคณห์สนธิ
    • ใบคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด หรือ บอจ.1
    • หนังสือบริคณห์สนธิ หรือ บอจ.2 ที่ผนึกอากรแสตมป์ 200 บาท
    • แบบที่เป็นวัตถุประสงค์ หรือที่เรียกว่า แบบ ว.
    • แบบการจองชื่อนิติบุคคล
    • สำเนาบัตรผู้ก่อตั้งทุกคน
    • สำเนาหลักฐานการเซ็นรับลองลายมือ (ถ้ามี)
    • หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้มีสิทธิยื่นขอจดทะเบียนทำเองไม่ได้ พร้อมผนึกอากรแสตมป์ 10 บาท
    • เอกสารที่จะใช้ในการจดทะเบียนบริษัท

    ซึ่งส่วนนี้ก็จะแยกเป็นแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด กับบริษัทจำกัด กรณีที่เป็นการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นเอกสารจะไม่เยอะเท่าไหร่ ก็จะมีเป็น จำนวนเงินทุนจดทะเบียน รายชื่อหุ้นส่วน ผู้ลงนาม และผูกพัน ที่ตั้งบริษัทระบุชัดเจน หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ และสำเนาบัตรของกรรมการพร้อมทะเบียนบ้านที่เซ็นรับรองแล้ว ต่อไปการขอจดทะเบียนบริษัทกำจัดเอกสารจะค่อนข้างเยอะเป็นพิเศษ มีอะไรบ้างดังนี้เลย

    • ใบคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด หรือ แบบ บอจ. 1
    • แบบคำรับรอง การจดทะเบียนบริษัทจำกัด
    • รายการจัดทะเบียนจัดตั้ง หรือ แบบ บอจ.3
    • รายละเอียดของกรรมการ หรือ แบบ ก.
    • รายชื่อผู้ถือหุ้น หรือ แบบ บอจ.5
    • สำเนาหนังสือนัดประชุมการก่อตั้ง
    • สำเนารายงานการประชุมการก่อตั้ง
    • สำเนาข้อบังคับ อย่าลืมผนึกอากรแสตมป์ 200 บาท
    • หลักฐานการจ่ายค่าหุ้น
    • หากมีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวถือหุ้นไม่ถึง 50% ของทุนจดทะเบียน หรือ กรณีที่บริษัทไม่มีคนต่างด้าวถือหุ้นแต่ว่ามีเป็นกรรมการที่มีอำนาจลงนามหรือร่วมลงทุนในบริษัท จะต้องใช้เอกสารหลักฐานจากทางธนาคารออกให้ ส่วนนี้จะรับรองสถานะทางการเงินของผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย ต้องเอามายื่นตอนขอจดทะเบียนบริษัทด้วยนะ และจำนวนเงินในเอกสารจะต้องสอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงทุนแต่ละคนด้วย
    • แบบ สสช.
    • แผนที่ตั้งบริษัทและสถานที่ใกล้เคียง
    • สำเนาบัตรกรรมการบริษัททุกคน
    • สำเนาหลักการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

    เอกสารอาจจะดูเยอะไปหมด โดยเฉพาะการยื่นขอจดทะเบียนบริษัทแบบเป็นบริษัทจำกัด และอย่าลืมเตรียมทุกอย่างให้พร้อมเพื่อจะได้ยื่นเรื่องแบบราบรื่น สำหรับคนที่ขอจดแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดจะค่อนข้างง่ายกว่า แต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่ความต้องการของแต่ละคนเลย อยากเปิดบริษัทแบบไหน ทำอะไร พิจารณากันเองได้เลย

    บทสรุป

    การขอจดทะเบียนบริษัทก็ไม่ได้ยุ่งยากจนเกินไปนัก ไม่ว่าใครก็เป็นเจ้าของบริษัทได้แต่อย่าลืมวางแผนให้ดีว่าจะทำอะไร ธุรกิจแบบไหน มีใครเป็นผู้ถือหุ้นและร่วมก่อตั้งบ้าง การจดทะเบียนไม่ใช่เรื่องที่ยากเพราะว่าความยากมันจะอยู่ที่การบริหารธุรกิจและดูแลบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาแล้วให้รอดและมีกำไรได้อย่างไรต่างหาก และสามารถเลือกช่องทางในการไปทำเรื่องยื่นขอได้ 2 ช่องทาง สำหรับใครที่ชอบการไปด้วยตนเองก็ไปที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลย แต่ถ้าใครไม่ค่อยมีเวลาและไม่ชอบเดินทางสามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ได้ ทำที่ไหนก็ได้ขอเพียงเอกสารต้องครบตามที่กำหนด เท่านี้คุณก็มีบริษัทเป็นของตัวเองได้แล้ว📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ