ภ.ง.ด. หรือภาษีเงินได้ คือการเสียภาษีให้กับประเทศเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนรวมไปถึงหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จะต้องทำการชำระค่าภาษีต่อสรรพากรให้ถูกต้อง ซึ่งในการดำเนินการนั้นจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปทั้งจำนวนเงินที่จะต้องทำการชำระ วิธีการกรอกและส่งข้อมูลที่สำคัญและเงื่อนไขการลดหย่อนตลอดจนระยะเวลาที่จะสามารถยื่นเรื่องเข้าทำการชำระได้ตามประเภทภาษีเงินได้นั้น ๆ โดย “ภ.ง.ด.50” คืองานทางด้านเอกสารการบัญชีที่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะต้องทำการยื่นเรื่องเพื่อดำเนินการเข้าเสียภาษีตามระบบที่กฎหมายกำหนดในทุก ๆ ปีนั่นเอง
ภาษีเงินได้โดยทั่วไปมีแบบใดบ้าง และ ภ.ง.ด. 50 เป็นอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วภาษีเงินได้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ซึ่งได้เป็น 4 อย่าง คือ
- ภ.ง.ด. 90 อันแสดงถึงรายการเงินได้ของบุคคลธรรมดา ซึ่งจะต้องมีการแสดงรายละเอียดการรับเงินต่าง ๆ อย่างละเอียดและจะต้องยื่นส่งเอกสารภายในช่วงเวลาของเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคมในทุก ๆ ปีตามที่มีการประกาศกำหนดขึ้นมาจากกรมสรรพากรอย่างชัดเจนเท่านั้น
- ภ.ง.ด. 91 คือเอกสารแสดงรายได้ของบุคคลทั่วไปที่มีรายได้จากการใช้แรงงาน โดยจะต้องทำการยื่นรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในช่วงกำหนดคือ มกราคมถึงมีนาคมในปีนั้น ๆ เช่นเดียวกัน
- ภ.ง.ด.93 คือการยื่นเอกสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการขอจ่ายภาษีก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้ตามปกติ
- และ ภ.ง.ด. ลำดับสุดท้ายสำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปนั่นก็คือ ภ.ง.ด. 94 ที่หมายถึงการยื่นเอกสารและรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้ที่มีมาจากการให้เช่ายืม หรืองานอิสระต่าง ๆ เช่นการทำธุรกิจรับเหมา กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตรหรือการขนส่งต่าง ๆ และงานทางด้านอุตสาหกรรม โดยภ.ง.ด. 94 นั้น ผู้ที่เข้าเกณฑ์การเสียภาษีจะต้องทำการยื่นเอกสารในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคมถึงวันที่ 30 ในเดือนกันยายนของปีนั้น ๆ อย่างถูกต้อง
- ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวกับนิติบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ได้มีการร่วมกันจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งกิจการหรือหน่วยงานขึ้นตามเงื่อนไขและวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้รับสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันได้แก่
- ภ.ง.ด. 50 ภาษีเงินได้ประเภทนี้คือการแสดงรายได้อย่างละเอียดขององค์กรต่าง ๆ หรือนิติบุคคลที่ได้มีการจดแจ้งหรือขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยข้อมูลหลักในการยื่นเอกสารนั้นจะต้องทำภายใน 150 วัน หลังจากที่ผ่านรอบของการส่งงบทางบัญชีไป ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ในการส่งเอกสารและรายละเอียดทางการเงินนั้น ๆ จะสามารถยื่นเอกสารโดยตรงที่สำนักงานสรรพากรหรือจะยื่นผ่านระบบออนไลน์ก็ได้ โดยความสำคัญของการยื่น ภ.ง.ด. 50 นั้นคือข้อบังคับที่ทุกหน่วยงานที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องทำการส่งข้อมูลและยื่นเอกสารต่อสรรพากรในทุก ๆ ปีแม้ว่าปีนั้นจะมีการขาดรายได้หรือไม่ได้กำไรตามเป้าที่ตั้งไว้ก็ตาม
- และอีกประเภทของภาษีเงินได้ที่เป็นหน้าที่ของนิติบุคคลหรือองค์กรที่จะต้องทำการยื่นเอกสารทางการเงินอย่างละเอียดนั่นก็คือ ภ.ง.ด. 51 นั่นเอง โดย ภ.ง.ด. 51 คือเอกสารและหนังสือที่แสดงเกี่ยวกับรายได้ขององค์กรนั้น ๆ ว่าในระยะเวลา 6 เดือน ของการดำเนินกิจการนั้น ๆ เพื่อเป็นการชำระค่าภาษีให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานภาษีโดยตรงก่อน ในช่วงของ 6 เดือนแรกและต่อมาจะมีการยื่นเอกสารอีกในช่วงของ 6 เดือนหลัง ซึ่งจะต้องมีการส่งเอกสารทั้งหมดเป็นเวลา 2 เดือนหลังจากที่มีการส่งงานและรายละเอียดต่าง ๆ ทางบัญชีอย่างถูกต้อง
ข้อมูลดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถยื่นเอกสาร ภ.ง.ด. 50 ให้ผ่านไปได้อย่างราบรื่น
สำหรับเจ้าหน้าที่หรือผู้ประกอบการมือใหม่ที่ไม่เคยส่งเอกสารหรือส่งข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ต่าง ๆ ของบริษัทแก่สรรพากรเพื่อตรวจสอบรายได้ต่าง ๆ อาจจะมีความกังวลหรือรู้สึกไม่มั่นใจในการรวบรวมข้อมูลเหล่านั้น เพราะเกรงว่าในระหว่างการดำเนินการอาจมีความผิดพลาดที่จะทำให้องค์กรหรือหน่วยงานของตนเองได้รับความเสียหายหรือถูกเบี้ยปรับจากสรรพากรในภายหลังหรือตนเองจะถูกตำหนิในการทำงานนั้น ๆ ได้ ซึ่งวันนี้เรามีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้การ ภ.ง.ด. 50 เป็นไปอย่างราบรื่นและสมบูรณ์แบบมากที่สุด โดยคุณผู้อ่านสามารถนำไปใช้และปรับตามความถนัดของตนเองได้ตามใจชอบ ดังนี้
เคล็ดลับการยื่นที่ไม่ควรมองข้าม
- ตรวจสอบช่องที่จะต้องกรอกข้อมูลภายใน ภ.ง.ด. 50 ให้ถูกต้อง ซึ่งในบางครั้งผู้กรอกข้อมูลอาจจะมีการเบลอหรือมองผิดช่องจนทำให้เกิดความผิดพลาดในการเพิ่มเติมข้อมูลสำคัญเหล่านั้น จนเป็นเหตุให้ทางสรรพากรจำเป็นจะต้องติดต่อเข้ามาที่หน่วยงานเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือให้เข้าไปแก้ไขข้อมูลเหล่านั้นให้ถูกต้องก่อนที่จะมีการดำเนินการตรวจสอบต่อไป
- สำหรับการแสดงรายได้ที่เกี่ยวกับการเงินต่าง ๆ ผู้กรอกข้อมูลควรแสดงรายละเอียดให้ชัดเจนตามที่ทางสรรพากรต้องการทราบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง แต่ควรคัดกรองเอาเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้นนะ
- ควรใส่เฉพาะข้อมูลที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการชำระภาษีเงินได้ที่ตนเองต้องการจะส่งเท่านั้น ห้ามมีข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องอันจะทำให้องค์กรและหน่วยงานของตนเองได้รับความเสียหายและถูกเรียกสอบในภายหลังซึ่งจะเป็นฝันร้ายสำหรับผู้ยื่น ภ.ง.ด. 50 ได้เลยล่ะ
- หากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ หรือองค์กรหน่วยงานนั้น ๆ ไม่มีหลักฐานที่จะสามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าตนเองถูกต้องและสามารถเอาเงินคืนได้อย่างแน่นอน ขอได้โปรดอย่ายื่นคำร้องขอคืนภาษี เพราะนั่นหมายถึงคุณจะถูกสรรพากรตรวจสอบข้อมูลทางการบัญชีย้อนหลังอย่างละเอียดและอาจจะถูกเรียกขอข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งในระหว่างนั้นหลักฐานต่าง ๆ อาจจะไม่เหลืออยู่แล้วก็ได้ และหากสรรพากรพบว่าคุณมีความผิดในการยื่นส่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างไม่ถูกต้องทางหน่วยงานของคุณอาจจะถูกเบี้ยปรับในมูลค่าที่สูงมากกว่าภาษีที่ต้องจ่ายในปีนั้น ๆ ก็ได้นะ
- สำหรับการยื่นเอกสารหรือรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้ต่าง ๆ ของ ภ.ง.ด. 50 ผู้ยื่นควรทำการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบเอกสารให้จบภายในรอบเดียว เพราะการยื่นเรื่องหลายครั้งอาจจะทำให้หน่วยงานของคุณถูกตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีหลายครั้งด้วยจนรู้สึกปวดหัว พร้อมกับมีมูลค่าที่ต้องชำระจนท้อแท้ในระหว่างการดำเนินการได้เลย
- การเลือกเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการยื่นเอกสาร ภ.ง.ด. 50 นั้น ควรพิจารณาบุคคลที่มีความเหมาะสมเช่นสามารถจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระเบียบไม่ว่าจะเป็นแฟ้มกระดาษหรือไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานและป้องกันการสูญหายของข้อมูลที่มีประโยชน์ในระหว่างการดำเนินการ มีความใส่ใจในงานที่ตนเองได้รับมอบหมายสามารถทำงานทางด้านเอกสารและตัวเลขต่าง ๆ อันเกี่ยวกับรายได้ของหน่วยงานนั้น ๆ ได้อย่างละเอียดไม่บกพร่อง มีวุฒิภาวะและใจเย็นในทุกสถานการณ์จนสามารถประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างลื่นไหลและราบรื่นมากที่สุด สุดท้ายผู้ที่ควรจะได้รับหน้าที่และสามารถยื่น ภ.ง.ด. 50 ให้กับหน่วยงานของคุณได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุดคือผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานทางด้านบัญชีบ้าง เพื่อที่จะสามารถแยกย่อยข้อมูลและเข้าใจระเบียบการต่าง ๆ ได้อย่างถ่องแท้ไม่เกิดความเสียหายในระหว่างการทำหน้าที่ได้อย่างแน่นอน
บทสรุป
โดยสรุปแล้วหน่วยงานหรือองค์กรใดที่อยู่ในลักษณะของนิติบุคคลจะต้องทำการยื่นเอกสารเกี่ยวกับรายได้หรือส่งข้อมูลทางการเงินให้แก่สรรพากรทั้งหมด 2 ครั้งนั่นก็คือตอนกลางปีโดยใช้ ภ.ง.ด. 51 และในช่วงปลายปีโดยการใช้เอกสารของ ภ.ง.ด. 50 นั่นเอง ซึ่งในรายละเอียดเหล่านั้นจะประกอบไปด้วยข้อมูลขององค์กรบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนั้น ๆ ที่จะต้องมีการเติมข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ให้ครบถ้วน พร้อมกับลายเซ็นของกรรมการบริษัทรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ทางการบัญชี ผู้ตรวจสอบข้อมูล ก่อนที่จะแนบรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายได้นั้น ๆ เพื่อให้สรรพากรได้ทำการตรวจสอบและดำเนินการตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดในลำดับต่อไป โดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการส่งข้อมูลหรือ ภ.ง.ด. 50 จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและส่งข้อมูลให้ครบถ้วนและสมบูรณ์แบบมากที่สุด เพื่อป้องกันผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากความสะเพร่าหรือความไม่สมบูรณ์ของเอกสารต่าง ๆ ตามมาในภายหลังได้📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™