ในการ“จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน”เพื่อทำการเปิดกิจการหรือเอาไว้รับงานต่างๆ นั้น ต้องมีเงื่อนไขในการจดทะเบียน หลังจากจดเสร็จแล้วก็จำเป็นต้องยื่นเอกสารต่างๆ เพื่อทำตามกฎหมายที่สรรพากรระบุไว้ ถึงแม้จะมีรายได้เข้ามาในบริษัทหรือไม่มีรายได้ก็ตาม ก่อนอื่นก็ต้องอธิบายก่อนว่าเราจะต้องทำอะไรบ้างหากจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนเสร็จแล้ว
หน้าที่ที่ต้องทำหลังจากจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
การบันทึกบัญชี
ตามกฎหมายระบุว่าบัญชีรายวันจะต้องทำการบันทึกรายการภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการทำรายการขึ้น เมื่อเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทแล้วจะต้อง
ทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี โดยจะต้องทำการบันทึกบัญชีทุกครั้งที่เกิดการทำรายการ และต้องเก็บหลักฐานการชำระเงินให้ครบถ้วน ซึ่งควรจะมีผู้ทำบัญชีอย่างน้อย 1 คน เพื่อให้เป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการบันทึกรายรับรายจ่าย รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ถ้าหากท่านไม่มีความรู้ด้านการบัญชี หรือไม่อยากจ้างนักบัญชีประจำมารับผิดชอบทำบัญชีเพราะอาจเสี่ยงต่อการตรวจสอบจากสรรพากร ก็สามารถจ้างบริษัทที่รับทำบัญชีแบบรายเดือนได้ ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะมีความเชี่ยวชาญในข้อกฎหมาย เนื้องานเอกสารที่ซับซ้อน ทำให้กิจการห้างหุ้นส่วนไม่เสี่ยงที่จะทำผิดกฎหมาย
เตรียมเอกสารเพื่อส่งให้ผู้ที่ทำบัญชี
เอกสารทุกอย่างในการ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ต้องผ่านการตรวจสอบและมีลายเซ็นต์หุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องทุกครั้งก่อนจัดส่งให้ผู้มีคุณสมบัตินักบัญชี นอกจากนี้เอกสารต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมีความสำคัญมาก ห้ามทำหาย และยิ่งเป็นการส่งให้บริษัทบัญชี เอกสารต่างๆ ต้องครบถ้วนถูกต้องทุกขั้นตอนป้องกันการเกิดปัญหาตัวเลขไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภงด. 1 เงินเดือน ค่าจ้าง สำหรับพนักงาน คิดตามแบบขั้นบันได ยิ่งเงินเดือนสูงมากก็ยิ่งจ่ายภาษีมากขึ้น
ภงด. 3 : ภาษีหัก ณ ที่จ่าย บุคคลธรมดาที่ไม่ใช่พนักงานประจำ ตัวอย่างเช่น ค่าจ้างวิชาชีพอิสระ ค่าจ้างทำของ ค่ารับเหมาต่างๆ
ภงด. 53 : ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นิติบุคคล อันนี้จะคล้ายแบบบุคคลธรรมดาแต่จะมีผู้รับจ้างเป็นนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นค้าจ้างทำของ ค่าโฆษณา รับเหมา ค่าเช่า เป็นต้น
ภงด. 54 : ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นิติบุคคลต่างประเทศ อันนี้เป็นการทำธุรกรรมกับบริษัทอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย รายละเอียดจะเหมือนกับ ภงด. 53 เช่น ค่าประกอบวิชาชีพอิสระ ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกันสังคม
ข้อกำหนดของประกันสังคมนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง และขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนด้วยกับทางประกันสังคมด้วย ซึ่งต้องขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน กรณีมีลูกจ้างใหม่หรือลูกจ้างลาออกก็ต้องแจ้งภายใน 30 วันเช่นกัน สำหรับการส่งเงินสมทบประกันสังคมนั้น จะต้องส่งให้ลูกจ้างประจำทุกคน โดยยื่นแบบ สปส.1-10 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เข้าข่ายที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ให้ผู้อื่นมาอยู่อาศัยฟรีๆหรือให้เช่าโดยไม่คิดค่าเช่า
- ใช้ที่เป็นสำนักงานดำเนินธุรกิจพาณิชย์
ภาษีป้าย
ภาษีกลางปี
ปิดปัญชีครั้งแรก ภายใน 1 ปี
จัดทำงบการเงิน
การจัดทำงบในด้านการเงินนั้น ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งครั้งเมื่อครบหนึ่งปี โดยงบเหล่านี้ต้องมีรายการย่อยต่างๆ ตามที่มีการกำหนดเอาไว้ และต้องมีการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีอย่างน้อยๆ หนึ่งคนเสมอ จึงจะสามารถนำเข้าที่ประชุมเพื่อนำเสนอให้ผู้ถือหุ้นได้ทำการอนุมัติงบต่างๆ ภายใน 4 เดือน ตั้งแต่วันปิดรอบปี และภายในหนึ่งเดือน ต้องมีการยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรืออาจเป็นที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าฯ ภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยจะนับตั้งแต่วันที่มีการอนุมัติ แต่กรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนนั้นต้องมีการจัดทำและยื่นภายใน 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ปิดบัญชี การจัดทำงบตามที่กล่าวมานี้ยังรวมไปถึงห้างหุ้นส่วนที่มีการจดทะเบียนเรียบร้อยแต่ยังไม่ได้ประกอบกิจการก็ต้องมีการส่งงบการเงิน หากไม่ทำอาจต้องระวางโทษได้ โดยจะมีการปรับไม่เกิน 50,000 บาท
จัดหาสถานที่เพื่อเก็บรักษาเอกสาร
มีการจัดประชุมใหญ่สามัญ
กรณีจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนแล้ว แต่ไม่มีรายได้
การจัดประชุมนี้หากคุณเป็นบริษัท จำกัด ต้องมีการประชุมหลังจากการจดแจ้ง 6 เดือน พร้อมทั้งต้องมีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี อย่างน้อยต้องมีการจัดการประชุมหนึ่งครั้ง
- ภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้าหากมีการจ่ายค่าแรงหรือค่าจ้าง จะต้องยื่น ภงด 1 ภงด3 หรือ ภงด 53 แต่ถ้าไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆไม่จำเป็นต้องยื่น
- หากบริษัทจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้จะไม่มีการซื้อขายก็จะต้องยื่นแบบ ภพ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- ประกันสังคม หากมีลูกจ้างต้องมีการยื่นประกันสังคมและเงินสมทบทุกเดือน
- เสียภาษีโรงเรือนหากเข้าข่าย และภาษีป้ายหากมี
- ยื่นแบบภาษีกลางปี ภงด 51
- ยื่นแบบภาษี 1 ปี ภงด 50
- จัดทำงบการเงิน
บทสรุป
ในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน แต่ละครั้งคุณต้องทำความเข้าใจกับกฎต่างๆ ให้ดีและต้องพร้อมที่จะทำตามอย่างถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะไม่มีการเปิดกิจการเพื่อเดินเงินก็ตาม อย่างไรก็ตามถ้าหากคุณไม่มีความรู้ด้านการทำบัญชีก็สามารถเลือกบริษัทที่รับทำบัญชีรายเดือนได้อีกด้วย