ในการทำธุรกิจจะมีรูปแบบหนึ่งที่คนในประเทศเรานิยมไม่น้อยเลย เพราะว่าตัดเรื่องต้นทุน การเริ่มต้น การทำตลาดบางอย่างออกไปได้พอสมควรนั่นคือแฟรนไชส์ สำหรับใครที่กำลังคิดจะเข้ามาในธุรกิจนี้จะต้องมีการจดทะเบียนแฟรนไชส์ด้วย ซึ่งธุรกิจแบบนี้จะเหมือนขายแบบยกร้านเลย ทั้งสินค้า การบริการ แบรนด์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการทำธุรกิจนี้จะต้องจดทะเบียนอย่างไร ขออนุญาตอะไรบ้าง ชวนมาทำความเข้าใจแบบง่าย ๆ ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ดำเนินต่อไป
การจดทะเบียนแฟรนไชส์ที่ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องรู้
แฟรนไชส์เองก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ ซึ่งไม่ได้เน้นขายเพียงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะตัวธุรกิจเองก็เป็นสินค้า สำหรับการจดทะเบียนแฟรนไชส์มีอะไรบ้างที่ผู้ประกอบการจะต้องรู้และต้องทำหากจะทำธุรกิจประเภทนี้มีอะไรบ้างดังนี้
- หากจะยึดตามข้อกฎหมายในประเทศไทยเราก็ยังไม่มีกำหนดว่าจะต้องจดทะเบียนแฟรนไชส์แบบไหนขึ้นมาแท้จริง แต่ว่าทางผู้ประกอบการเองก็ยังต้องจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างอื่น และการซื้อขายแฟรนไชส์เองก็จะต้องมีการทำสัญญาระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย ซึ่งตามหลักแล้วเจ้าของก็จะต้องสอนงานแต่ผู้ซื้อ ส่วนผู้ซื้อก็จะต้องจ่ายค่าธุรกิจตามข้อตกลง ในแต่ละแฟรนไชส์จะเป็นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ตกลงกันไป และผู้ที่ทำธุรกิจนี้ก็ต้องขึ้นทะเบียนว่าประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามแบบ ว่าแฟรนไชส์อะไร เปิดที่ไหน ขายอะไร กำไรเป็นอย่าง สัญญาแฟรนไชส์ และเอกสารอย่างอื่น
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์อย่างหนึ่งที่จะต้องทำคือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การบริการ เป็นอย่างแรกเลยที่จำเป็นมาก ๆ ต้องทำ เพราะตอนที่ขายธุรกิจแฟรนไชส์ไปเครื่องหมายการค้านั้น ๆ จะถูกนำไปใช้ด้วย ฉะนั้นต้องจดเป็นของตนไม่ซ้ำใคร และหากไม่จดอาจมีคนเลียนแบบได้เนียน ๆ เป็นแฟรนไชส์เราแบบไม่จ่ายเงินก็เสี่ยงเหมือนกัน หากจำเป็นจะต้องใช้ทั้งเครื่องหมายการค้าและการบริการ จะต้องจด 2 ใบ แต่ถ้าใช้แค่เครื่องหมายการค้าก็จดแค่นั้นก็พอ
- อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือการจดสัญญาอนุญาติให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือบริการของแฟรนไชส์ของคุณ เรียกแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ เอกสารสัญญาที่ทำขึ้นมาสำหรับเอาไว้ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้อ่านและยอมรับเงื่อนไขเมื่อจะซื้อแฟรนไชส์นั่นเอง ซึ่งจะต้องระบุรายละเอียดต่าง ๆ อย่างละเอียดที่สุด ว่าในการซื้อไปแล้วอนุญาตให้ใช้อะไรบ้าง เช่น เครื่องหมายการค้า การบริการ สินค้า วัตถุดิบ หรืออย่างอื่นในธุรกิจด้วย จำเป็นมากต้องทำอย่างละเอียด เพื่อผลประโยชน์ของทั้งเจ้าของและผู้ซื้อไปด้วย
- การจดทะเบียนพาณิชย์ เพราะว่าเป็นการประกอบธุรกิจอีกหนึ่งการจดทะเบียนแฟรนไชส์ที่จะต้องทำคือทะเบียนพาณิชย์จะต้องมีเหมือนกัน ไปยื่นขอจดตามที่กำหมายกำหนดได้เลย ตามเขตที่คุณอยู่หรือตามเขตที่ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณตั้งอยู่นั่นเอง หากอยู่ใน กทม. ก็จะเป็นสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพ ฯ เป็นต้น ถ้าอยู่นอกเขต กทม. ก็ไปขอยื่นจดได้ที่ อบต. หรือเทศบาล เป็นต้น
- การจดทะเบียนนิติบุคคล สำหรับกรณีนี้คือหากแฟรนไชส์ของคุณนั้นขยายตัวได้ดี เติบโตไว การทำบัญชีสำคัญมาก ไม่ว่าจะกับสาขาหลักของเจ้าของ สาขาย่อยหรือแฟรนไชส์อื่น ๆ ที่ซื้อไป รายรับ รายจ่าย กำไร ขาดทุน ทุกอย่างจะต้องถูกบันทึกไว้เสมอ และการจดทะเบียนนิติบุคคลนี้จะทำให้การจ่ายภาษีนั้นคุ้มค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับการจ่ายแบบบุคคลธรรมดา นี่จึงถือเป็นการจดทะเบียนแฟรนไชส์อย่างหนึ่งที่จะต้องทำเหมือนกัน ส่วนจะจดไหมก็อยู่ที่เจ้าของกิจการเองว่าแบบไหนคุ้มค่ามากกว่ากันในยามต้องจ่ายภาษี
ในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์แม้ว่าจะไม่ได้มีการจดทะเบียนโดยตรง แต่ก็ยังมีอย่างอื่นที่จะต้องขออนุญาตอย่าลืมไปยื่นขอจดทะเบียนแฟรนไชส์ให้ครบและถูกต้อง และสิ่งหนึ่งที่จะต้องใส่ใจนอกจากคุณภาพของตัวธุรกิจเองคือสัญญาในการซื้อขายแฟรนไชส์เพราะมันจะทำให้เห็นถึงกำไรที่ได้มา และการไม่มีใครเอาเปรียบใครได้ภายใต้สัญญาเพราะหากฝ่ายใดผิดกติกาก่อนก็อาจจะถูกฟ้องร้องได้เช่นกัน
ทำความรู้จักแฟรนไชส์คืออะไร
รูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจะมีแบบ แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor ) ซึ่งเป็นแบบเจ้าของเป็นผู้ให้สิทธิในการทำธุรกิจกับผู้ที่มาซื้อแฟรนไชส์ต่อ ส่วนอีกแบบหนึ่งคือ แฟรนไชส์ซี (Franchisee) คือ เป็นผู้ลงทุนหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการประกอบกิจการนั่นเอง จะเรียกง่าย ๆ คือ ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์นั่นเอง มองแบบเข้าใจง่ายสุดเลยคือ ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเหมือนกับการถ่ายร่างหรือโคลนนิ่งตัวธุรกิจ ให้เติบโตรวดเร็ว ภายใต้เคลื่องหมายการค้า การบริการที่ได้มีการจดทะเบียนแฟรนไชส์เอาไว้ หากคุณเป็นฝั่งเจ้าของควรบริหารแบรนด์ให้ดี มีคุณภาพ ทำการตลาดให้ดี และถ้าเป็นฝั่งผู้ซื้อควรดูสัญญาให้ละเอียด ตรวจสอบ เลือกธุรกิจที่จะซื้อให้ดีว่าจะไปได้ไกลแค่ไหน คุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่
ก่อนเริ่มธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องตรวจสอบอะไรบ้าง
อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจอะไรเร็วเกินไปโดยขาดการวางแผนอย่างรอบคอบ การคำนวณมองหากำไร ต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือเวลา และควรจะเลือกให้ดีว่าจะทำแฟรนไชส์อะไรแล้วจะต้องจดทะเบียนแฟรนไชส์อะไรบ้างที่จำเป็นอย่างที่กล่าวมาเบื้องต้น และถ้าเป็นเข้ามาแบบผู้ซื้อยิ่งต้องเตรียมสอบให้ดีว่าธุรกิจนั้น ๆ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะเติบโตยืนยาวในอนาคต มาดูกันว่ามีอะไรที่จะต้องดูเพื่อพิจารณาในการเข้ามาในธุรกิจนี้บ้างมีดังนี้
- ดูตลาดก่อนว่าเป็นไปในทางทิศไหน ความต้องการตลาดเป็นอย่างไร ก็ต้องยอมรับว่ามันอาจไม่ง่ายเท่าไหร่นัก แต่มันก็ต้องทำ เพราะการดูตลาดเป็นจะทำให้มองออกว่าธุรกิจที่ทำนั้นมันไปได้ไหม เพราะถ้าดูตลาดแล้วมันไม่น่าไหวก็ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเริ่มมันตั้งแต่แรกให้เสียเวลา และหามองในมุมผู้ซื้อแฟรนไชส์นั้นก็ดูตั้งแต่ความน่าเชื่อถือ การเติบโต กำไร ความน่าสนใจ อย่าดูแค่กระแสเพียงชั่วคราวให้มองยาว ๆ เข้าไว้
- งบในการลงทุน สำหรับผู้ซื้ออาจจะยังไม่ต้องคิดถึงเรื่องการจดทะเบียนแฟรนไชส์แบบจะต้องยึดเครื่องหมายการค้า การบริการ แต่อาจจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เพราะว่าเป็นการดำเนินธุรกิจแบบนิติบุคคล การจ่ายภาษีมันจะง่ายกว่าคุ้มกว่า แต่ก่อนจะลงทุนกับธุรกิจควรพิจารณาถึงต้นทุนที่คุณมี ว่าจะคุ้มกับการลงทุนครั้งนี้ไหม คิดให้รอบคอบ มองผลได้ผลเสียให้รอบด้านเข้าไว้
- ถามตัวเองดี ๆ ว่าอยากจะทำธุรกิจแฟรนไชส์จริง ๆ ไหม จะเป็นผู้ริเริ่มเป็นเจ้าของเลยหรือจะเป็นคนที่ซื้อแฟรนไชส์มาเลย แบบไหนเหมาะกับคุณมากกว่ากัน เพราะมันไม่ใช่ทุกคนที่จะบริหารธุรกิจแบบนี้ได้ มันไม่ง่ายเลย เมื่อเทียบกับธุรกิจที่ไม่ต้องขายตัวแบรนด์ ให้เพียงการจำหน่ายสินค้า การบริการอย่างเดียว ความยากมีเยอะกว่ากันพอสมควร ฉะนั้นแล้วลองถามตัวเองดี ๆ ว่าอยากจะทำอาชีพนี้จริงแค่ไหน
- คำนวณให้ดีว่าระยะคืนทุนอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ มันควรจะคำนวณได้ อย่าหลับหูหลับตาทำ เพราะที่ใช้ไปคือทั้งเงินและเวลาทั้งนั้น หากมันไม่คุ้มทุน มันไม่มีกำไรแถมยังเสียเวลาอีกด้วย แล้วจะยังทำมันไปทำไมจริงไหม แต่ถ้ามองเห็นระยะเวลาคืนทุน กำไรมาจากไหน และขอบเขตอื่น ๆ ที่สามารถทำได้และบริหารแฟรนไชส์นี้ไปได้ดี ก็ลงมือเลย อย่าลืมจดทะเบียนแฟรนไชส์ที่เกี่ยวข้องให้ครบ
- ในด้านของสัญญาไม่ว่าจะในฐานะของแฟรนไชส์ซอส์หรือซีก็ตามควรจะดูถึงข้อจำกัดในสัญญาก่อนที่จะเซ็น และควรอ่านเอกสารให้รอบคอบเสมอ ถ้าเซ็นสัญญากันไปแล้วมันหมายถึงการยอมรับเงื่อนไข ซึ่งสัญญานั้นใช้ในทางกฎหมายได้เลย
นอกจากตรงนี้แล้วยังมีอีกหลายข้อมากเลยที่จะต้องคำนึงถึงก่อนที่จะตัดสินใจก้าวเข้ามาในธุรกิจแฟรนไชส์ และจะบอกว่ามันยากที่สุดคงไม่ใช่ เพราะว่าในแต่ละสายธุรกิจมันก็มีความยากง่ายต่างกันออกไป มีแฟรนไชส์มากมายในไทยเราได้อยู่ได้ยืนยาวหลายสิบปีมาก ๆ แต่ในทางตรงกันข้ามก็มีมากมายเลยที่จะต้องปิดตัวลงอย่างน่าเศร้า อาจจะเพราะปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เติบโตไม่ได้
บทสรุป
ธุรกิจแฟรนไชส์ในมุมของเจ้าของที่เป็นผู้จดทะเบียนแฟรนไชส์ตั้งแต่ครั้งหมายการค้า การบริการตั้งแต่แรก ก็ยังมีการจดทะเบียนอย่างอื่นที่เกี่ยวกับกฎหมายการประกอบกิจการในประเทศอย่างถูกต้องและจะต้องคิดข้อร่างสัญญาเอาไว้กรณีที่จะต้องขายแฟรนไชส์ด้วย มันค่อนข้างซับซ้อนแล้วยังต้องสอนงาน สอนการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ที่ซื้อไปด้วย ส่วนในมุมของคนซื้อเองแน่นอนว่าจะต้องจดทะเบียนเหมือนกันอย่างน้อย ๆ ก็คงเป็นการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพราะว่าจะต้องมีการทำบัญชีเพื่อรายงานและทำให้เรื่องภาษีมันไม่มีปัญหาด้วย ในมุมของคุณจะเป็นด้านไหนสิ่งที่จะต้องทำคือคิดคำนวณหลาย ๆ ด้านให้ดี มองทั้งผลได้ผลเสียให้รอบคอบจากนั้นก็ตัดสินใจได้เลยว่าจะไปต่อดีไหม📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนหจก.ดีที่สุด™